วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีปัจเจกบุคคล (Alfred Adler) กลุ่มที่ 8

ประวัติโดยสังเขปของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler)
อัลเฟรด แอดเลอร์เกิดที่ชานเมืองของกรุงเวียนนาในปี 1870หลังจากสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา (University of Vienna) ด้านการแพทย์ในปี 1975 เขาเริ่มต้นทำงานด้านจักษุวิทยาแต่ต่อมาเปลี่ยนมาทำงานด้านจิตเวชศาสตร์. ในปี 1902 แอดเลอร์ได้เข้าร่วมกลุ่มสนทนาซึ่งต่อมากลายมาเป็น “สมาคมวิเคราะห์จิตแห่งเวียนนา” (Vienna Psychoanalytic Society). ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม. ในที่สุดแอดเลอร์ได้กลายเป็นประธานและเป็นบรรณาธิการของวารสารของกลุ่ม. อย่างไรก็ตาม ในปี 1907 แอดเลอร์เริ่มไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นหนักในเรื่องบทบาทของเรื่องเพศที่มีต่อการก่อตัวของบุคลิกภาพ ทำให้เขาเกิดความบาดหมางกับกลุ่มผู้ที่นิยมฟรอยด์.
ในปี 1911 แอดเลอร์และผู้ติดตามได้ลาออกจากสมาคมวิเคราะห์จิตและตั้งกลุ่มของพวกเขาเองขึ้นมา ชื่อว่า “สมาคมจิตวิทยาปัจเจกบุคคล” (Society of Individual Psychology) และพัฒนาระบบจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวมและให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์. จิตวิทยาแบบแอดเลอร์มองปัจเจกบุคคลโดยให้ความสำคัญกับสังคมมากกว่าเรื่องเพศ และมุ่งเน้นที่การเลือก (choice) และการให้คุณค่า (value) มากกว่าจิตวิทยาแบบฟรอยด์. แอดเลอร์มองว่าปัจเจกบุคคลมุ่งแสวงหาความสมบูรณ์แบบและจัดการกับความรู้สึกด้อย (inferiority) (ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ปมด้อย” [inferiority complex]). หลังจากได้ทำงานในโรงพยาบาลทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แอดเลอร์ได้เกิดความสนใจในจิตวิทยาเด็ก (child psychology) ขึ้น. เขาก่อตั้งเครือข่ายคลินิกให้คำแนะนำเด็กของชุมชนขึ้นในระบบโรงเรียนของกรุงเวียนนา นำเสนอสิ่งที่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการให้คำปรึกษาครอบครัว (family counseling) ในยุคแรกเริ่ม. มีหน่วยบริการ 28 แห่งดำเนินงานในด้านนี้ จนกระทั่งนาซีมีคำสั่งให้ปิดในปี 1934. แต่กลุ่มของผู้ที่ทำการศึกษาครอบครัวโดยใช้แนวคิดของแอดเลอร์ยังคงพบปะกันทั้งในอเมริกาและแคนาดา.
ในปี 1926 แอดเลอร์ใช้เวลาอยู่ที่อเมริกาและกรุงเวียนนา. เขาถูกเชิญไปเป็นผู้บรรยายรับเชิญที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมืองนิวยอร์ค ในปี 1927. ในปี 1932 เขาเป็นผู้บรรยายที่วิทยาลัยการแพทย์ลองไอร์แลนด์ (Long Ireland Medial College) และย้ายไปอยู่ที่อเมริกาพร้อมกับภรรยา. แอดเลอร์เสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี 1937 ที่เมืองอเบอร์ดีน ประเทศสก็อตแลนด์ ในขณะเดินสายบรรยาย. มีองค์กรทางวิชาชีพที่ใช้แนวคิดของแอดเลอร์มากกว่า 100 แห่ง และมีสถาบันฝึกอบรมอีก 34 แห่ง ในอเมริกา แคนาดา และทวีปยุโรป.

ประวัติโดยสังเขปของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler)
อัลเฟรด แอดเลอร์เกิดที่ชานเมืองของกรุงเวียนนาในปี 1870*. หลังจากสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา (University of Vienna) ด้านการแพทย์ในปี 1975 เขาเริ่มต้นทำงานด้านจักษุวิทยาแต่ต่อมาเปลี่ยนมาทำงานด้านจิตเวชศาสตร์. ในปี 1902 แอดเลอร์ได้เข้าร่วมกลุ่มสนทนาซึ่งต่อมากลายมาเป็น “สมาคมวิเคราะห์จิตแห่งเวียนนา” (Vienna Psychoanalytic Society). ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม. ในที่สุดแอดเลอร์ได้กลายเป็นประธานและเป็นบรรณาธิการของวารสารของกลุ่ม. อย่างไรก็ตาม ในปี 1907 แอดเลอร์เริ่มไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นหนักในเรื่องบทบาทของเรื่องเพศที่มีต่อการก่อตัวของบุคลิกภาพ ทำให้เขาเกิดความบาดหมางกับกลุ่มผู้ที่นิยมฟรอยด์.
ในปี 1911 แอดเลอร์และผู้ติดตามได้ลาออกจากสมาคมวิเคราะห์จิตและตั้งกลุ่มของพวกเขาเองขึ้นมา ชื่อว่า “สมาคมจิตวิทยาปัจเจกบุคคล” (Society of Individual Psychology) และพัฒนาระบบจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวมและให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์. จิตวิทยาแบบแอดเลอร์มองปัจเจกบุคคลโดยให้ความสำคัญกับสังคมมากกว่าเรื่องเพศ และมุ่งเน้นที่การเลือก (choice) และการให้คุณค่า (value) มากกว่าจิตวิทยาแบบฟรอยด์. แอดเลอร์มองว่าปัจเจกบุคคลมุ่งแสวงหาความสมบูรณ์แบบและจัดการกับความรู้สึกด้อย (inferiority) (ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ปมด้อย” [inferiority complex]). หลังจากได้ทำงานในโรงพยาบาลทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แอดเลอร์ได้เกิดความสนใจในจิตวิทยาเด็ก (child psychology) ขึ้น. เขาก่อตั้งเครือข่ายคลินิกให้คำแนะนำเด็กของชุมชนขึ้นในระบบโรงเรียนของกรุงเวียนนา นำเสนอสิ่งที่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการให้คำปรึกษาครอบครัว (family counseling) ในยุคแรกเริ่ม. มีหน่วยบริการ 28 แห่งดำเนินงานในด้านนี้ จนกระทั่งนาซีมีคำสั่งให้ปิดในปี 1934. แต่กลุ่มของผู้ที่ทำการศึกษาครอบครัวโดยใช้แนวคิดของแอดเลอร์ยังคงพบปะกันทั้งในอเมริกาและแคนาดา.
ในปี 1926 แอดเลอร์ใช้เวลาอยู่ที่อเมริกาและกรุงเวียนนา. เขาถูกเชิญไปเป็นผู้บรรยายรับเชิญที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมืองนิวยอร์ค ในปี 1927. ในปี 1932 เขาเป็นผู้บรรยายที่วิทยาลัยการแพทย์ลองไอร์แลนด์ (Long Ireland Medial College) และย้ายไปอยู่ที่อเมริกาพร้อมกับภรรยา. แอดเลอร์เสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี 1937 ที่เมืองอเบอร์ดีน ประเทศสก็อตแลนด์ ในขณะเดินสายบรรยาย. มีองค์กรทางวิชาชีพที่ใช้แนวคิดของแอดเลอร์มากกว่า 100 แห่ง และมีสถาบันฝึกอบรมอีก 34 แห่ง ในอเมริกา แคนาดา และทวีปยุโรป.
หมายเหตุ
ในวัยเด็กของแอลเลอร์เป็นช่วงเวลาที่ทุกข์ทรมานสำหรับเขา เขาเป็นเด็กขี้โรค เขาคิดว่าตนเองตัวเล็กและขี้เหร่ รวมถึงเขายังแข่งขันชิงดีชิงเด่นกับพี่ชายอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อทฤษฎีบุคลิกภาพของเขาอย่างยิ่ง

ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference Theory)
เป็นทฤษฎีที่ชี้ให้เห็นว่าผู้รับสารแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันในทางจิตวิทยาเช่น ทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่อ ทำให้คนสนใจในการเปิดรับข่าวสารหรือตีความหมายข่าวสารจากสื่อมวลชนแตกต่างกัน หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคลมีดังนี้
1. มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล
2. ความแตกต่างนี้มีบางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาคหรือทางร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้
3. มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สถานการณ์ต่างๆจะเปิดรับความคิดเห็นแตกต่างกันไป
4. การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติค่านิยมและความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไปความแตกต่างดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นสภาวะเงื่อนไข (Conditioning) ที่กำหนดการรับรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural – Functional Theory )แนวความคิดในการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้
- โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภท คือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้
- อีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่าหน้าที่ทางสังคมเป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น
- ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่างๆ มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือ บุคลิกภาพ อินทรีย์ และวัฒนธรรมเกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคมที่เกิดจากความตึงเครียด เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วยหรือหลายๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง ความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคมมีการรวมตัวเข้าด้วยกันและเป็นตัวต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม
โดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้
- ในการศึกษาและการวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
- ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล
- ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์การปรับความสมดุลย์ของระบบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่า ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง
สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษานำทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลง สาเหตุและองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงโดยมองลักษณะต่อไปนี้
ประการแรก มนุษย์แต่ละชุมชน แต่ละสังคมมีความพยายามปรับปรุงตนเองตามสถานการณ์ทำให้เกิดการคงอยู่หรือสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม อันเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การจัดการ การแบ่งปันทรัพยากร ตลอดจนการสร้างและรักษาสัมพันธภาพทางสังคมและอารมณ์ ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะทางสังคม โครงสร้างความสัมพันธ์ บทบาทหน้าที่
ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน อันได้แก่การลงทุนพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ ของรัฐบาล การติดต่อพึ่งพาระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท การแพร่กระจายของระบบการค้า และสภาพนิเวศวิทยาของหมู่บ้าน ที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนาอาชีพ ตลอดจนระบบครอบครัว เครือญาติ การเพิ่มของประชากร และการแพร่กระจายของวัฒนธรรมเมืองสู่สังคมชนบท การยอมรับ ค่านิยมปัจเจกบุคคล รวมทั้งประสบการณ์ การท่องเที่ยวของปัจเจกบุคคล และการสื่อสารมวลชนที่เจริญก้าวหน้า
ประการสุดท้าย ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ระบบความสัมพันธ์ของคน องค์กรในสังคมเป็นอย่างไร และมีแนวโน้มที่สามารถรักษาระบบสังคมไว้หรือจะล่มสลายแปรเปลี่ยนเป็นระบบใหม่หรือไม่
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีวภาพของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) โดยนักสังคมวิทยาในกลุ่มทฤษฎีวิวัฒนาการเสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งในลักษณะที่มีการพัฒนาและก้าวหน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีรูปแบบเรียบง่ายไปสู่รูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสังคมที่มีความสมบูรณ์ ตัวอย่างของนักสังคมวิทยาที่สร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยใช้แนวความคิดวิวัฒนาการ มีดังนี้
- ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) เสนอว่า สังคมมนุษย์มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ (Knowledge) ผ่าน 3 ขั้นตอน ตามลำดับ คือ จากขั้นเทววิทยา (Theological stage) ไปสู่ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical stage) และไปสู่ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positivistic stage)
- ลิวอิส เฮนรี่ มอร์แกน (Lewis Henry Morgan) เสนอว่า สังคมจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้นคือ จากสังคมคนป่า (Savage) ไปสู่สังคมอนาอารยชน (Barbarian) และไปสู่สังคมอารยธรรม (Civilized)
- เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เสนอว่า วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์เป็นแบบสายเดียว (Unilinear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันด้วยและมารวมตัวกันด้วยกระบวนการสังเคราะห์ ทำให้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาของสังคมจะมีวิวัฒนาการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป
- เฟอร์ดินาน ทอยนีย์ (Ferdinand Tonnies) เสนอว่า สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Gemeinschaft ไปสู่สังคมแบบ Gesellschaft
- โรเบิร์ต เรดฟิวด์ (Robert Redfield) เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมจะเริ่มจากสภาพสังคมชาวบ้าน เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบเมือง ต่อมาแนวความคิดในการสร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบสายเดียว ที่เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องเปลี่ยนผ่านแต่ละขั้นที่กำหนดไว้ ได้รับการโต้แย้งว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมน่าจะมีวิวัฒนาการแบบหลายสาย เพราะแต่ละสังคมมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน มีรูปแบบของสังคมที่แตกต่างกัน หรือแม้ว่าสังคมที่มีรูปแบบที่เหมือนกันแต่อาจจะมีสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันก็เป็นได้
ทฤษฎีจิตวิทยา-สังคม (Social-Psychological Theory) จากแนวความคิดด้านจิตวิทยา-สังคม เสนอว่า การพัฒนาทางสังคมเกิดจากการทำงานของปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่เป็นแรงขับให้ประชาชนมีการกระทำ มีความกระตือรือร้น มีการประดิษฐ์ มีการค้นพบ มีการสร้างสรรค์ มีการแย่งชิง มีการก่อสร้าง และพัฒนาสิ่งต่างๆ ภายในสังคม นักสังคมวิทยาที่ใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีดังนี้
- แมค เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกที่ใช้หลักจิตวิทยามาใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และผลงานที่ชื่อว่า The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เสนอว่า การพัฒนาของในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ตามลัทธิทุนนิยม มีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่เกิดขึ้นหลังสมัยศตวรรษที่ 16 เมื่อในยุโรปตะวันตกมีการแพร่กระจายคำสอนของศาสนาคริสต์ ลัทธิโปรแตสแตน ที่สอนให้ศาสนิกชนเกิดจิตวิญญาณแบบทุนนิยมเป็นนักแสวงหาสิ่งใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จเพื่อให้เกิดการยอมรับ ทำงานหนักเพื่อสะสมความร่ำรวย เก็บออมเพื่อนำไปใช้ในการลงทุน สร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง เวเบอร์ยังเสนอว่า การพัฒนาของจิตวิญญาณแบบทุนนิยมทำให้เกิดลัทธิความมีเหตุผล ซึ่งภายใต้สังคมที่ใช้ความมีเหตุผลจะทำให้บุคคลมีความน่าเชื่อถือ ซื่อสัตย์ สุจริต ยอมรับสิ่งใหม่และสามารถเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมใหม่ๆ เวเบอร์เชื่อว่า อิทธิพลความคิด ความเชื่อ และบุคลิกภาพของคนในสังคมภายใต้สภาวะดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามมา
- อีวีเรทท์ อี เฮเกน (Everett E. Hagen) มีแนวความคิดสอดคล้องกับเวเบอร์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีการเริ่มต้นมาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และเสนอว่าการเปลี่ยนจากสังคมดั้งเดิม ไปสู่สังคมสมัยใหม่ จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพของบุคคล โดยเสนอว่า บุคลิกภาพของคนในสังคมดั้งเดิมมีลักษณะตายตัวที่ถูกำหนดโดยกลุ่มสังคม เป็นบุคลิกของคนที่ต้องมีการสั่งการด้วยบังคับบัญชา ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่มีการประดิษฐ์คิดค้น เพราะคนเหล่านั้นมองโลกยถากรรมมากกว่าที่จะมองโลกแบบวิเคราะห์ และต้องการควบคุมให้เป็นไปตามที่คิด ซึ่งเป็นผลทำให้สังคมแบบดั้งเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนในสังคมสมัยใหม่เฮเกนเสนอว่า บุคลิกภาพของคนที่มีความสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ มองโลกที่อยู่รอบตัวเขาอย่างมีเหตุมีผล บุคลิกภาพของคนในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามเฮเกนได้เสนอว่า บุคลิกของคนในสังคมดั้งเดิมสามารถที่จะเปลี่ยนไปสู่บุคลิกของคนในสังคมสมัยใหม่ได้โดยใช้วิธีการถอดถอนสถานภาพ ด้วยการนำเอาปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจจากสังคมสมัยใหม่เข้าไปแทรกหรือแทนที่ในสังคมดั้งเดิม และยังได้เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมอาจทำได้จากเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของคนในสังคม โดยเริ่มจากการพัฒนาบุคลิกภาพตั้งแต่วัยเด็ก
- เดวิด ซี แม็กคลีล์แลนด์ (David C. McClelland) มีแนวความคิดเหมือนกับเฮเกนที่ดห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แต่แนวความคิดของ แม็ก – คลีล์แลนด์ เน้นศึกษาที่ตัวแปรด้านแรงจูงใจในความสำเร็จ ซึ่งหมายถึง ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของปัจเจกบุคคล และเสนอแนวความคิดว่า ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสังคมในอดีตและปัจจุบันเป็นผลมาจากแรงจูงใจในความสำเร็จของบุคคล หากคนในสังคมมีแรงจูงใจในความสำเร็จมาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจก็จะมีความเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และเสนอวิธีการสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จด้วยการเรียนรู้ โดยสร้างแรงกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก
ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization Theory) แนวความคิดสำคัญของทฤษฎีการสร้างความเป็นทันสมัยกล่าวว่า สังคมที่ล้าหลังทุกสังคมสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นทันสมัยได้ โดยจำเป็นต้องมีปัจจัยภายนอกทำหน้าที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยพยายามมุ่งเสริมให้สังคมที่ล้าหลังมีลักษณะทันสมัยมากขึ้น
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
1.จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
จุดมุ่งหมายหลัก คือ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาชุมชนเมืองและการสร้างความก้าวหน้าของระบบตลาดมาสนับสนุน ตามแนวคิดของ Adam Smith เกี่ยวกับทฤษฎีการแพร่กระจาย ทำให้ความทันสมัยทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกัน
2.กระบวนการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
- รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดแผนพัฒนา ซึ่งมีลักษณะเป็นการวางแผนจากส่วนกลาง เพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน
- การจัดตั้งสถาบันต่างๆ ทั้งสถาบันทางด้านการเมือง สถาบันทางด้านสังคม และสถาบันทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนเร่งรัดการพัฒนา
- การขยายของตัวเมืองและบริการสาธารณะในเขตชุมชนเมือง ทั้งเมืองหลวง และเมืองหลัก
- การให้บริการแก่สังคมชนบทในรูปต่างๆ
3.จุดเน้นของทฤษฎีภาวะทันสมัย สรุปได้ดังนี้ คือ
- เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
- เน้นบทบาทของรัฐในการวางแผนจากส่วนกลาง
- เน้นพัฒนาสังคมเมือง
- เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory) ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีนักวิชาการสายยุโรป เช่น กุนนาร์ ไมด์ดัล (Gunnar Myrdal) , ดัดเลย์ เซียร์ (Duley Seer) , พอล สทรีทเท็น (Pual Streeten) ได้คัดค้านแนวความคิดทฤษฎีภาวะทันสมัย โดยสนอว่าแนวความคิดดังกล่าวไม่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ประเทศโลกที่ 3 ได้ นอกจากนั้นวิชาการสายลาตินอเมริกา อาทิ Frank , Cardose , Doossantos ได้เสนอว่า ทฤษฎีภาวะทันสมัยสามารถนำไปใช้ในประเทศด้อยพัฒนาได้สำเร็จ เพราะยิ่งพัฒนาไป “คนรวยยิ่งรวย แต่คนจนยิ่งจนลง” หรือที่เรียกว่า “รวยกระจุก แต่จนกระจาย” เขาจึงต่อต้านทฤษฎีภาวะทันสมัยมาก และได้เสนอแนวคิดทฤษฎีพึ่งพาเอาไว้ดังนี้ คือ
- เขามองว่าถ้าพัฒนาตามทฤษฎีภาวะทันสมัย ประเทศตะวันตกที่เจริญจะเป็นศูนย์กลางทุกอย่าง ในขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาจะเป็นบริวาร หรือต้องพึ่งพาภายนอกอยู่ตลอดเวลา
- เขาเน้นว่าควรมีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเสียใหม่ เพื่อที่จะนำไปสู่การกระจายผลของการพัฒนาอย่างเป็นธรรม
- กระบวนการที่สามารถกระทำได้คือ การลดการพึ่งพาจากภายนอกลง และการที่ประเทศพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองให้มากขึ้น
แต่ทฤษฎีพึ่งพานี้นักวิชาการมิได้เสนอแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน หรือเป็นรูปธรรมนักจึงทำให้มีการปฏิเสธแนวทางการพัฒนาแบบดั้งเดิม และนำไปสู่แนวทางการพัฒนาใหม่ที่เน้นการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานต่อไป
ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs Theory) แนงความคิดของนักวิชาการกลุ่มองค์การกรรมกรระหว่างประเทศ (ILO=International Labour Organization) ได้เสนอกลยุทธ์ในการพัฒนาใหม่โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นฐาน และความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ และการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังการพัฒนา เหตุผลที่มาของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานคือ
- เป็นข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของทฤษฎีภาวะความทันสมัย
- องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความจำเป็นพื้นฐานเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา
- ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของนักทฤษฎีพึ่งพาบางกลุ่ม
ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานได้รับอิทธิพลจากนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน อาทิ ดัดเลย์ เซียร์ (Duley Seer) , พอล สทรีทเท็น (Pual Streeten) , กุนนาร์ ไมด์ดัล (Gunnar Myrdal) โดยได้โต้ตอบแนวความคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัยด้วยการเรียกร้องให้มีการดำเนินการวิเคราะห์เพื่อกำหนดเงื่อนไขทางสังคมและการจัดเตรียมสถาบันต่างๆ ก่อนการพัฒนา นอกจากนั้นยังให้คำนิยามเกี่ยวกับความจำเป็นพื้นฐาน การระดมทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อบรรลุถึงความสำเร็จที่ต้องการ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานนั้นเป็นทฤษฎีทางสายกลางระหว่างทฤษฎีภาวะทันสมัยและทฤษฎีพึ่งพา ที่เสนอมิติใหม่ในการวางแผนพัฒนาจากกรอบความคิดในการวางแผนจากส่วนกลาง ไปสู่การวางแผนจากระดับล่างขึ้นมา สำหรับความต้องการความจำเป็นขั้นพื้นฐานแต่ละประเทศมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงควรกำหนดความจำเป็นขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์และความเหมาะสมของประเทศตน
จุดเน้นที่สำคัญของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
- เน้นการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการที่จำเป็นพื้นฐานของประชาชน
- เน้นการกระจายอำนาจและการกระจายความเจริญไปยังพื้นที่เป้าหมายอย่างทั่วถึง
- ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรม และพื้นที่ชนบทมาก
- สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประเทศ
- เน้นการพัฒนาทุกๆ ด้านไปพร้อมๆ กันแบบบูรณาการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนการใช้แรงงาน และทุนภายในประเทศ
- เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
ทฤษฎีนี้กำหนดจุดมุ่งหมายไว้ว่า เป็นการใช้ความพยายามเพื่อดำเนินการพัฒนาไปสู่การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งความจำเป็นขั้นพื้นฐานเหล่านี้กำหนดขึ้น โดยคำนึงถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่าสถานภาพปัจจุบันของประชากรมีเป้าหมายอย่างไร กับคำนึงถึงเกณฑ์ความเป็นไปได้ในทางวิชาการและสภาวะการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ระดับความจำเป็นพื้นฐานของตนเอง ความจำเป็นขั้นพื้นฐานในที่นี้จะรวมถึงความจำเป็นทั้งในทางวัตถุและความจำเป็นในทางจิตใจด้วย
กระบวนการในการพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
- กระบวนการในการวางแผนพัฒนา สำหรับกระบวนการในการวางแผนพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานนี้เน้นสาระสำคัญ คือ นักวางแผนต้องคำนึงถึงความสำคัญในการคัดเลือกโครงการที่จะตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานที่กำหนดขึ้น และโครงการที่ตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานถือว่ามีระดับเร่งด่วนสูงสุดที่จะต้องเน้นบริการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนแน่นอน นอกจากนั้น การกระจายอำนาจในการวางแผนถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความจำเป็นขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการในระยะยาวคือการที่ประชาชนในชุมชนต่างๆ สามารถพึ่งตนเองได้ตลอดไป
- เนื้อหาสำคัญที่ควรมุ่งเน้นในการวางแผน
เนื้อหาสำคัญที่มุ่งเน้นในการวางแผนของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานคือการเปลี่ยนแปลงวิธีการกระจายรายได้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการผลิตและการค้าตลอดจนการกระจายอำนาจให้แต่ละชุมชนแต่ละพื้นที่ได้เสนอปัญหาและความต้องการขึ้นมา แล้วคัดเลือกโครงการที่สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานมากที่สุด นั่นคือต้องมีการปรับโครงสร้างการบริหารของรัฐ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นและเข้าถึงบริการด้านต่างๆ ของรัฐ โดยอาศัยระบบการบริหารที่ดีให้ความสำคัญกับภาคชนบทและสาขาเกษตรกรรมมากขึ้น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทยังมีฐานะยากจน ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ จึงควรมีการพัฒนาระบบการผลิตและปัจจัยการผลิตในชนบทให้ดีขึ้น เพราะแนวคิดในเรื่องการพัฒนานั้นมีความเชื่อว่า ถ้าสามารถสร้างประชาชนในชนบทให้มีคุณภาพและเป็นฐานในการผลิตได้แล้ว ก็จะสามารถพัฒนาได้ง่าย นอกจากนั้นยังเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประหยัด ง่ายต่อการใช้ เหมาะสมกับเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมและสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดดุลยภาพทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการบริการ
ทฤษฎีการปรับตัว (Theories of Motivation)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology Theory)

บุคลิกภาพ
(Personality)
คำว่า “บุคลิกภาพ” มาจากภาษาละตินว่า Persona หมายถึง หน้ากากที่ตัวละครใช้สวมเวลาออกแสดง เพื่อที่จะแสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดให้
คำจำกัดความของ “บุคลิกภาพ” คือ ผลร่วมอย่างมีระบบของพฤติกรรมต่าง ๆ ตลอดจนทัศนคติและค่านิยมซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบุคคล ดังนั้นจิตวิทยาบุคลิกภาพจึงเป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษานิสัยของบุคคลซึ่งช่วยให้มองเห็นว่าแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร
สมมติว่าเรารู้จักเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนรูปร่างสูงโปร่ง เดินตัวตรง มีลักษณะที่แสดงออกเป็นปกติ คือ รักความยุติธรรม ซื่อสัตย์ เราอาจจะกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพของเขานั้นสง่า น่านับถือ ซื่อสัตย์ รักความยุติธรรมเป็นตน นั่นก็คือ เรายอมรับลักษณะเด่นในตัวเขาให้เป็นบุคลิกภาพของเขา
จะเห็นว่าส่วนมากเราจะเน้นลักษณะของแต่ละบุคคล ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวของเขาต่อคนอื่น และต่อตัวของเขาเอง อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า คำจำกัดความใดดีที่สุดและถูกต้องที่สุด ทั้งนี้เพราะคำจำกัดความแต่ละอย่างต่างก็มาจากความเชื่อในทฤษฏีบุคลิกภาพ ที่มีอยู่มากมายแตกต่างกัน เราจะเชื่อหรือยึดถือคำจำกัดความใดได้ เราก็ต้องพิจารณาถึงทฤษฎีบุคลิกภาพเสียก่อน
สิ่งที่กำหนดบุคลิกภาพ (Personality Determinants)
ในการวิจัยเกี่ยวกับบุคลิกภาพมีข้อถกเถียงมากมาย แต่ในที่สุด ก็สรุปว่า บุคลิกภาพ มีผลมาจาก 3 องค์ประกอบ คือ พันธุกรรม (Heredity), สิ่งแวดล้อม (Environment Factors) และสถานการณ์ (Situation Conditions)
พันธุกรรม (Heredity) จากการวิจัยพบว่า ลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางชีวะภาพ กายภาพ และ จิตวิทยาภายใน จะถูกถ่ายทอดจาก บิดามารดา สู่บุตรผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ทั้งนี้จาก
1. การสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ในวัยเยาว์ ซึ่งพบว่าลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความวิตก ความกังวล ความกลัว ฯลฯ จะถูกถ่ายทอดผ่านยีนพอ ๆ กับลักษณะทางกายภาพ เช่น ความสูง สีผม ฯลฯ
2. การศึกษาคู่แฝดที่ถูกแยกเลี้ยงดูให้ห่างกันตั้งแต่เยาว์วัย โดยนักวิจัยได้ศึกษาคู่แฝดกว่า 100 ราย พบว่า แม้จะถูกแยกเลี้ยงดู ก็จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันหลายประการ เช่น แฝดคู่หนึ่งที่ถูกเลี้ยงห่างกัน 45 ไมล์ เป็นเวลา 39 ปี ยังใช้รถยนต์สี และรุ่นเดียวกัน สูบบุหรี่ยี่ห้อเดียวกัน เลี้ยงสุนัขชื่อเดียวกัน และใช้วันพักร้อนที่ชายหาดเดียวกัน โดยพักห่างกัน 3 ช่วงตึก ทั้ง ๆ ที่ชายหาดดังกล่าวอยู่ห่างที่อยู่อาศัยถึง 1,500 ไมล์
3. การตรวจสอบความพึงพอใจต่องาน ภายใต้เวลา และสถานการณ์ต่าง ๆ ว่ามีความ สม่ำเสมออย่างไร
อย่างไรก็ตาม แม้คำยืนยันถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ไม่สามารถทำนายบุคลิกภาพได้อย่างชัดแจ้ง ด้วยหลักการทางพันธุกรรมเพียงหลักการเดียว จำเป็นที่จะต้องพิจารณาปัจจัยทางด้านอื่น ๆ ด้วย
สิ่งแวดล้อม (Environment Factors)ในขณะที่ผลจากพันธุกรรมจะมีขีดจำกัดในการสร้างบุคลิกภาพ ความต้องการของสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่บุคคลนั้นดำรงอยู่ จะคอยปรับเปลี่ยน บุคลิกภาพให้แปรเปลี่ยนไป
สถานการณ์ (Situation Conditions) บุคลิกภาพที่มักจะสม่ำเสมอ อาจจะแปรเปลี่ยนไปภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
บุคลิกภาพสามารถถ่ายถอดทางพันธุกรรมได้หรือไม่ การทำงานของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบุคลิกภาพ ผู้วิจัยได้สนับสนุนว่า บุคลิกภาพเกิดจากการทำงานร่วมกันเป็นพิเศษเพียงบางส่วนของยีน เป็นไปในทางเดียวกันกับพันธุกรรมที่สืบมาจากบรรพบุรุษ รากฐานของบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่ จะปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในตอนต้นของช่วงชีวิต เมื่อทารกเกิดจะมีอารมณ์พิเศษ พื้นฐานอารมณ์โดยสันดาน ได้มีการรวมกันของการแสดงอารมณ์ไว้หลายอย่าง และผู้วิจัยบางคนเชื่อว่ามียีนเฉพาะที่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ
ที่สำคัญกว่านั้น ยีนและสิ่งแวดล้อมไม่เคยทำงานแยกกัน เป็นไปไม่ได้เลยว่าจะลบล้างปัจจัยทางพันธุกรรมได้โดยสมบูรณ์จากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่ามีการศึกษาคู่แฝดเหมือนก่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่ชัดเจนเพราะว่าไม่สามารถที่จะกำหนดและควบคุมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมได้
สุดท้ายนี้ ถ้ายีนถูกพบว่าเชื่อมกับลักษณะบุคลิกภาพพิเศษ ยีนก็ยังคงเป็นต้นเหตุของการเกิดบุคลิกภาพ พฤติกรรมถูกสร้างโดยยีนในทางเดียวกันน่าจะสร้างสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะได้ ถึงแม้ว่าจำนวนที่เพิ่มขึ้นของทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นสิ่งที่ได้จากปัจจัยทางชีววิทยา (biological) และพัฒนาการ (evolutionary) แม้จะไม่มีการสรุปรวมกันของทฤษฎี แต่พิจารณาว่าปัจจัยทางชีววิทยา (biological) และพัฒนาการ (evolutionary) เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง แม้กระนั้นก็ชัดเจนว่า ลักษณะที่แน่นอนของบุคลิกภาพมีส่วนประกอบทางพันธุกรรมและการสืบลักษณะนิสัยมาจากพ่อแม่ และสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อการตัดสินบุคลิกภาพ