วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(กลุ่ม4)

ทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(The Behavioral Counseling Approach)
การให้การปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม (Behavioral Counseling) เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้ใหม่ โดยมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งเน้นการเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ให้การปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม มีแนวคิดในการพิจารณามนุษย์และหลักการ ดังนี้
1. มนุษย์เราสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง หรือเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้
2. พฤติกรรมของบุคคลได้มาจากการเรียนรู้ ไม่ได้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ดังนั้น ผู้ให้การ
3. ปรึกษาจะต้องเข้าใจที่มาของพฤติกรรม และใช้หลักการเรียนรู้วิธีเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล
4. การให้การปรึกษาไม่ได้จัดทำเฉพาะในห้องให้คำปรึกษาเท่านั้น แต่จัดในสิ่งแวดล้อมอื่นด้วย
5. กระบวนการให้การปรึกษาประกอบด้วยการช่วยให้ผู้รับการปรึกษา มองเห็นปัญหา และเห็นในพฤติกรรมที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดความก้าวหน้าได้
6. พฤติกรรมของบุคคลเกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ดังนั้นเราจึงสามารถคาดคะเนพฤติกรรมของบุคคลได้ และถ้าเราสามารถควบคุมเหตุการณ์เหล่านั้นได้ เราก็จะสามารถควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
7. พฤติกรรมที่นำความชื่นชมมาได้ หรือลดความไม่พอใจลงได้ มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นซ้ำอีก
8. นักพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า ความกลัวและความวิตกกังวลเป็นสิ่งที่ได้มาจากการเรียนรู้เนื่องมาจากสิ่งเร้านั้นสัมพันธ์กับภาวะที่ทำให้เกิดประสบการณ์ไม่ดีซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง

จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม
1. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ขจัดพฤติกรรมผิดปกติ(Maladaptive behavior)
2. พยายามให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์คงอยู่ถาวร
3. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความคิดที่เต็มไปด้วยเหตุผล สามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ อย่างระมัดระวังขึ้น เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างสภาพการณ์ที่เกิดก่อนกับผลที่ตามมา

เทคนิคที่ใช้ในการให้การปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม
เทคนิคในการให้การปรึกษาจะเลือกวิธีการบำบัดที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุกับเป้าหมายสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมของลักษณะปัญหา เช่น
1. Permissiveness เป็นการให้ผู้รับการปรึกษาเล่ารายละเอียดต่าง ๆ ออกมา และผู้ให้การปรึกษารับฟังและยอมรับในเรื่องนั้น เทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้ให้การปรึกษา และเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจขึ้นในตนเอง มีความเป็นกันเองมากขึ้น มีความพร้อมที่จะระบายความรู้สึกของตนเองได้ดีขึ้น
2. Free Association เป็นการช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีอิสระในการพูดและเล่าเรื่องราวออกมา
โดยเร็ว ทันทีที่ฟังคำถามเสร็จ เพื่อระบายความกดดันที่มีอยู่ในจิตใจ
3. Reinforcement เป็นการให้แรงเสริมได้แก่ การให้รางวัล การจูงใจ หรือโดยการแสดงกิริยา
อาการยิ้ม การพยักหน้า จะเป็นกำลังใจให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกพอใจ และภูมิใจในตนเองกล้าที่จะเล่ารายละเอียดต่าง ๆ มากขึ้น หรือโดยการลงโทษ เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้รับการปรึกษา
4. Labeling ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสามารถแยกแยะว่าอะไรที่เป็นปัญหา อะไร
ที่ไม่เป็นปัญหา เพื่อให้ผู้รับการปรึกษามองเห็นว่าอะไรเป็นปัญหาที่แท้จริง
5. Foresight เป็นเทคนิคที่พยายามช่วยให้ผู้รับการปรึกษาคาดการณ์ถึงอนาคต เช่น คิดว่า เมื่อทำสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้วจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไรในอนาคต ซึ่งจะทำให้ผู้รับการปรึกษารู้จักคิด และมีการวางแผนในแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล
6. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation Technique) ใช้ในการบำบัดผู้รับการปรึกษาที่มีความเครียดที่ส่งผลให้เกิดการปวดมึนศีรษะ ปวดเกร็งต้นคอ ปวดศีรษะข้างเดียว เป็นต้น

ขั้นตอนการให้การปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม
1. การเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้รับการปรึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต
พฤติกรรมของผู้รับการปรึกษาในสภาพที่เป็นปัญหา การใช้แบบสอบถามเพื่อพิจารณาสภาพการณ์ที่เป็นปัญหามีลักษณะเป็นอย่างไร และผู้รับการปรึกษาตอบสนองอย่างไร ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยให้เข้าใจปัญหาของผู้รับการปรึกษา และช่วยให้ตั้งจุดประสงค์ในการให้การปรึกษาได้ตรงประเด็นปัญหา และศึกษากลวิธีช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาแก้ปัญหาได้เหมาะสมขึ้น

2. ตั้งจุดประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน ว่าจะให้ผู้รับการปรึกษา เปลี่ยนพฤติกรรมในลักษณะใด โดยประกอบด้วยเกณฑ์ 3 ประการ คือ
- จุดประสงค์นั้นตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ
- ผู้ให้การปรึกษาเต็มใจช่วยผู้รับการปรึกษาให้บรรลุเป้าหมาย
- ผู้ให้การปรึกษาจะต้องคะเนว่าเป้าหมายที่ตั้งนั้นสามารถจะดำเนินการให้บรรลุได้จริง
หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ดังนั้นจึงต้องกำหนดเป้าหมายในรูปพฤติกรรมชัดเจน กำหนดระดับพฤติกรรมที่ต้องการ และกำหนดสภาพการณ์ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม
3. ผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษาตกลงร่วมกันว่าจะใช้กลวิธีใดดำเนินการไปสู่
วัตถุประสงค์ บางครั้งจะต้องมีการดำเนินการในสิ่งแวดล้อม นอกห้องให้การปรึกษา
4. การประเมินผลและการยุติการให้การปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาจะต้องตระหนักว่ากลวิธีที่ตนใช้ไปแล้วนั้นอาจจะมีการปรับเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น จึงต้องประเมินผลการให้การปรึกษาต่อเนื่องเรื่อย ๆ โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของผู้รับการปรึกษาว่าเปลี่ยนแปลงไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดหรือไม่ จะต้องให้ความช่วยเหลือด้านใดแก่ผู้รับการปรึกษาเพิ่มเติมอีกหรือไม่ และนอกจากนั้นก่อนจะยุติการให้การปรึกษาควรช่วยเตรียมผู้รับการปรึกษาให้ไปสู่การปรับตัวในภาพการณ์อื่น ๆ ด้วย
ทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด ดังต่อไปนี้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจะขอนำเสนอแยกเป็นรายบุคคลดังนี้
พาฟลอฟ (Pavlov)
พาฟลอฟ (Ivan Petrovich Pavlov) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ. 1849 – 1936 และถึงแก่กรรมเมื่ออายุประมาณ 87 ปี พาฟลอฟเป็นนักวิทยาศาสตร์ สนใจศึกษาระบบหมุนเวียนโลหิตและระบบหัวใจ และได้หันไปสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร จนทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา ในปี ค.ศ. 1904 จากการวิจัยเรื่อง สรีรวิทยาของการย่อยอาหาร ต่อมาพาฟลอฟได้หันมาสนใจเกี่ยวกับด้านจิตเวช (Psychiatry) และได้ใช้เวลาในช่วงบั้นปลายของชีวิตในการสังเกตความเป็นไปในโรงพยาบาลโรคจิต และพยายามนำการสังเกตเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทดลองสุนัขในห้องปฏิบัติการจนได้รับชื่อเสียงโด่งดัง และได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคขึ้น ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข (ค.ศ. 1904) พาฟลอฟสังเกตว่า สุนัขมีน้ำลายไหลออกมา เมื่อเห็นผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟจึงสนใจในพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนที่ได้รับอาหารมาก และได้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างมีระเบียบและการทำการวิจัยเรื่องนี้อย่างละเอียด ซึ่งการทดลองของพาฟลอฟเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้วีธีการทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาพฤติกรรม เพราะเป็นการทดลองที่ใช้การควบคุมที่ดีมาก ทำให้พาฟลอฟได้ค้นพบหลักการที่เรียกว่า Classic Conditioning ซึ่งการทดลองดังกล่าวอธิบายได้ดังนี้ พาฟลอฟได้ทำการทดลองโดยการสั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อแก่สุนัข โดยทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่ง ก็ปรากฎว่าสุนัขก็งยังคงมีน้ำลายไหลได้ ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข หรือการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคพาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล เป็นต้น

โดยเสียงกระดิ่งคือสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ซึ่งเรียกว่า “สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned stimulus) และปฏิบัติกิริยาการเกิดน้ำลายไหลของสุนัข เรียกว่า “การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned response) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟนอกจากจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการวางเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้ว ยังหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน หรือปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งพาฟลอฟได้อธิบายเรื่องราวการวางเงื่อนไขในแง่ของสิ่งเร้า (Stimulus - S) และการตอบสนอง (Response - R) ว่า อินทรีย์มีการเชื่อมโยงสิ่งเร้าบางอย่างกับการตอบสนองบางอย่างมาตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเติบโตขึ้นตามธรรมชาติ โดยสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า สิ่งเร้าที่ไม่ได้ วางเงื่อนไข (Unconditioned stimulus = UCS) หมายถึง สิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเมื่อนำมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้หรือตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้ และ การตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response = UCR) ซึ่งหมายถึง การตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ เช่น การเคาะเอ็นที่สะบ้าหัวเข่าทำให้เกิดการกระตุกขึ้นนั้น เป็นปฏิกิริยาสะท้อนโดยธรรมชาติ (Reflex) สมมุติว่าเราสร้างการเชื่อมโยงบางอย่างขึ้นในระบบประสาท เช่น สั่นกระดิ่งทุกครั้งที่มีการเคาะหัวเข่า จากนั้นเข่าจะกระตุกเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งโดยไม่ต้องเคาะหัวเข่า เป็นต้น
จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเป็นแผนผัง ดังนี้
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้
ในการทดลองของพาฟลอฟนั้น พบว่า
1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ควรเริ่มจากการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขก่อน แล้วจึงเสนอสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข
2. ช่วงเวลาในการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข และไม่วางเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดกาตอบสนองที่แตกต่างกัน
3. ถ้ามีการวางเงื่อนไขซ้อนกันมากครั้ง (หมายถึงการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลาย ๆ สิ่ง) การตอบสนองก็จะมีกำลังอ่อนลงมายิ่งขึ้น
จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลองของพาฟลอฟ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีดังนี้
1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปราฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในมุมมองของพาฟลอฟ คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดการเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 สิ่งในลักษณะเดียวกัน แล้ไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกไป การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอง
วัตสัน (Watson)
จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1878 – 1958 รวมอายุได้ 90 ปี วัตสันได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาเป็นหลักสำคัญในการอธิบายเรื่องการเรียน ผลงานของวัตสันได้รับความนิยมแพร่หลายจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม” ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)
วัตสัน ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาว
ภาพการทดลอง ของ จอห์น บี วัสตัน
จากการทดลองดังกล่าว วัตสันสรุปเป็นทฤษฎี ดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
1. การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา
2. การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ
3. ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล
4. รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข
5. ไม่ต้องทำอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิดพฤติกรรม
6. เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์ ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้อง
ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ(Burrhus Frederick Skinner )

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ OPERANT CONDITIONING
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ พัฒนาโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ชื่อ Burrhus Frederick Skinner ( ๑๙๐๔-๑๙๙๐ )
ประวัติส่วนตัว ของ B.F. SKINNER
Burrhus Frederick Skinner เกิดวันที่ ๒๐ มีนาคม ๑๙๐๔ ที่เมือง Susquehanna มลรัฐ Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาเป็นนักกฎหมาย Skinner มารดาของเขาเป็นคนขยัน และเป็นแม่บ้านที่มีความฉลาด Skinner เขามีพี่ชาย ๑ คน ซึ่งมีอายุมากกว่าเขาแค่ ๒ ปี พี่ชายของ Skinner ได้เสียชีวิตขณะมีอายุ ๑๖ปี Skinner เขาเจริญเติบโตในครอบครัวที่มีความอบอุ่น เขาจบปริญญาตรีทางด้านวรรณกรรม อังกฤษจาก Hamilton College ในมลรัฐ New York หลังจากจบปริญญาตรีแลัว Skinner ตัดสินใจที่จะเป็นนักเขียนเนื่องจากในขณะที่เขาเรียนปริญญาตรีอยู่นั้นเอง เขาได้พบ Robert Frost นักกวีชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง Frost ชื่นชมกับการเขียนของ Skinner มาก เหตุนี้จึงทำให้ Skinner ตัดสินใจยึดอาชีพนักเขียนแต่ทว่าเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จ เขาจึงย้อนกลับมา เรียนอีกครั้งที่ Harvard University มลรัฐ masachusetts ในสาขาจิตวิทยาการทดลอง ( Experimental Psychology ) ขณะนั้นอายุ ๒๔ ปี โดยหวังว่าจะเป็นนักจิตวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์ Skinner ได้รับปริญญาโททางด้านจิตวิทยาในปี ๑๙๓๐และได้รับปริญญาเอก (Ph.D) ทางจิตวิทยาการทดลองในปี ๑๙๓๑ และทำงานที่ Harvard University ในฐานะนักวิจัย จนกระทั่งปี ๑๙๓๖ ขณะนั้นเขาอายุ ๓๒ ปี เขาก็ได้แต่งงานกับ Yvonne Blue และได้ย้ายไปอยู่ที่ Minnessota และ เขาก็ไปรับตำแหน่งอาจารย์ที่ University of Minnesota จนถึงปี ๑๙๔๕ เขาจึงได้ย้ายไปเป็นหัวหน้าภาคจิตวิทยาที่ University of Indiana ทำงานที่Indiana ได้ ๓ปี ในปี ๑๙๔๘ เขาจึงได้กลับไปอยู่ที่ Harvard เช่นเดิม และไม่ได้ย้ายไปไหนอีกเลยจนวาระสุดท้ายของชีวิต Skinner เสียชีวิตในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๑๙๙๐ หลังจากที่ต้องต่อสู้กับโรค ลูคีเมีย โดยขณะที่เขามีอายุ ๘๖ ปี Skinner มีลูกสาวคนแรกในปี ๑๙๓๘ ชื่อ Julie และในปี ๑๙๔๓ Yvonne Blue ได้ตั้งครรภ์อีกครั้งหนึ่ง และคลอดเป็นลูกชาย Skinner ได้ผลิตผลงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย ตำรา หรือบทความต่างๆ ผลงานของเขาที่รวบรวมเป็นหนังสือที่ได้รับการกล่าวถึงมากมาย ได้แก่ The Behavior of Organisms ในปี ๑๙๓๘ Science and Human Behavior ในปี ๑๙๕๓ Verbal Behavior ในปี ๑๙๕๗ Beyond Freedom and Dignity ในปี ๑๙๗๑ About Behaviorism ในปี ๑๙๗๔ และเล่มล่าสุด ได้แก่ Recent Issue in the Analysis of Behavior ในปี ๑๙๘๙ นอกจากนี้ Skinner ยังได้เขียนนิยายที่ใช้แนวคิดของพฤติกรรมนิยมในการสร้างสังคม -Utopia ขึ้นมาเล่มหนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก เรื่อง Welden Two ในปี ๑ ๙๔๘ บทความชิ้นสุดท้ายของ Skinner ที่เขาเขียนเสร็จก่อนสิ้นชีวิต ๒ วัน ได้แก่
Can Psychology Be a Science of Mind เป็นบทความที่เขาเขียนจากความคิดของตัวของเขาเองโดยไม่มีการอ้างอิงเอกสารใดๆ ทั้งสิ้น บทความชิ้นสุดท้ายของเขานี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร American Psychologist ในเดือนพฤศจิกายน ๑๙๙๐
จากผลงานทางวิชาการที่ Skinner ได้ทำมาตลอดชีวิตของเขานั้นเอง ทำให้เขาได้รับการยอมรับ และได้รับรางวัลมากมาย รางวัลที่เด่นๆที่เขาได้รับมีดังนี้
ปี ๑๙๘๕-APA's Distinguished Scientific Contribution Award
ปี ๑๙๗๑-Gold Medal Award of the American Psychlogical Foundation
ปี ๑๙๙๐-Citation for Outstanding Lifetime Conttribustion to Psychology
รางวัลที่ Skinnerได้รับในปี ๑๙๙๐ นั้นเป็นรางวัลที่สมาคมจิตวิทยาแห่งอเมริกา ( APA ) มอบให้ซึ่ง Skinner เป็นนักจิตวิทยาคนเดียวและคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้จาก APA ในรอบ ๙๙ปี ของประวัติศาสตร์ของสมาคม เป็นรางวัลที่ Skinner ได้รับก่อนที่เขาจะเสียชีวิตเพียง ๘ วันเท่านั้น
การวางเงื่อนไขชนิด S และชนิด R ( Typs S and Typs R Conditioning )
ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวคิดต่างๆ ของทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำสิ่งแรกที่ควรจะทำความเข้าใจเสียก่อนคือการวางเงือนไขชนิด S และชนิด R การวางเงื่อนไขชนิด S นั้นรู้จักกันในนามของการวางเงื่อนไขการตอบสนอง ( Respondent Conditioning ) ซึ่งก็คือการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของ Pavlov นั้นเอง เป็นการเน้นความสำคัญของสิ่งเร้าที่จะกระตุ้น ( Elicited ) ให้การตอบสนองที่ต้องการในขณะที่การวางเงื่อนไขต่อพฤติกรรมที่บุคคลกระทำเรียกว่า ชนิด R เพราะเน้นที่การตอบสนองที่เกิดขึ้น ( Emetted ) การวางเงื่อนไขชนิด R อาจเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า การวางเงื่อนไขการกระทำ ( Operesant Conditioning ) สิ่งที่แตกต่างกันอีกประการหนึ่งของการวางเงื่อนไขชนิด S และชนิด R คือการวางเงื่อนไขชนิด S จะดูประสิทธิภาพของการวางเงื่อนไขโดยจะพิจารณาที่ความเข้มของเงื่อนไขการตอบสนองตอบในขณะที่การวางเงื่อนไขชนิด R จะดูประสิทธิภาพของการวางเงื่อนไขโดยพิจารณาที่อัตราการตอบสนอง งานวิจัยของ Skinner นั้นเกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขชนิด R แต่เพียงอย่างเดียว
แนวความคิดของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลเป็นผลพวงมาจากการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม พฤติกรรมที่เกิดขึ้น (Emetted ) ของาบุคคลจะแปรเปลี่ยนเนื่องมาจากผลกรรม ( Consequences ) ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมนั้น Skinner ให้ความสนใจกับผลกรรม๒ประเภท ได้แก่ผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรง ( Reinforcer ) ที่ทำให้พฤติกรรมที่บุคคลกระทำอยู่นั้นมีอัตราการกระทำเพิ่มขึ้นและผลกรรมที่เป็นตัวลงโทษ ( Funisher ) ที่ทำให้พฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้นยุติลง
การเสริมแรง ( Reinforcement )
การเสริมแรงคือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้น ผลกรรมที่ทำให้พฤติกรรมมีความถี่เพิ่มขึ้นเรียกว่า ตัวเสริมแรง ( Reinforcer ) ( Skinner ) ตัวเสริมแรงที่ใช้กันอยู่นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด ด้วยกันคือ
๑. ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ( Primary Reinforcer ) เป็นตัวเสริมแรงที่มีคุณสมบัติด้วยตัวของมันเองเนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการทางชีวภาพของอินทรีย์ได้ หรือมีผลต่ออินทรีย์โดยตรง เช่น อาหาร น้ำ ความร้อน ความหนาว ความเจ็บปวด เป็นต้น
๒ . ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ ( Secondary Reinforcer ) เป็นตัวเสริมแรงที่ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาคุณสมบัติของการเป็นตัวเสริมแรง โดยการนำไปสัมพันธ์กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เช่น คำชมเชย เงินหรือตำแหน่งหน้าที่เป็นต้น
ในการที่จะทำให้ตัวเสริมแรงทุติยภูมิมีคุณสมบัติเป็นตัวเสริมแรงได้นั้นจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ประการแรก ปริมาณของตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ที่ใช้คู่กับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ นั้นคือถ้าปริมาณของตัวเสริมแรงปฐมภูมิมีมากจะทำให้ตัวเสริมแรงทุติยภูมิมีประสิทธิภาพมากขึ้นขณะเดียวกันถ้าปริมาณของตัวเสริมแรงมีน้อยจะทำให้ประสิทธิภาพของตัวเสริมแรงทุติยภูมิลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน ( D' Amato, ๑๙๕๕ ) ประการต่อมาขึ้นอยู่กับความถี่ของการเสนอตัวเสริมแรงปฐมภูมิคู่กับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ ถ้าเสนอคู่กันบ่อยครั้งก็จะทำให้ตัวเสริมแรงทุติยภูมิมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ถ้าไม่บ่อยได้เสนอคู่กันประสิทธิภาพของตัวเสริมแรงทุติยภูมิก็ย่อมจะลดน้อยลง ( Bersh , ๑๙๕๑ ) ส่วนประการสุดท้ายคือ ช่วงเวลาคาบเกี่ยวระหว่างการเสนอตัวเสริมแรงของทุติยภูมิและตัวเสริมแรงปฐมภูมิ นั่นคือถ้าเวลาคาบเกี่ยวของการเสนอตัวเสริมแรงทั้ง ๒ ตัว นั้นสั้นก็จะทำให้ตัวเสริมแรงทุติยภูมิมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าช่วงเวลาคาบเกี่ยวของการเสนอตัวเสริมแรงทั้ง ๒ ตัว นั้นยาวออกไปประสิทธิภาพของตัวเสริมแรงทุติยภูมิก็ย่อมจะลดลงตามเวลาที่ยืดยาวออกไป ตัวเสริมแรงทุติยภูมิบางตัวนั้นถ้านำไปใช้แล้ว สามารถคู่กับตัวเสริมแรงอื่นๆ ได้มากกว่า ๑ ตัวแล้ว ตัวเสริมแรงดังกล่าวจะมีคุณสมบัติเป็นตัวเสริมแรงแผ่ขยายทันที ซึ่งจะทำให้ตัวเสริมแรงมีประสิทธิภาพาในการเสริมแรงเป้นอย่างมาก ตัวอย่างของตัวเสริมแรงแผ่ขยาย ได้แก่ เงิน คูปอง หรือตำแหน่งเป็นต้น ตัวเสริมแรงแผ่ขยายบางตัวนั้น ด้วยตัวของมันเองอาจจะไม่มีคุณค่าใดๆ เลย แต่มันจะมีคุณค่า และเพิ่ม ประสิทธิภาพของการเป็นตัวเสริมแรงด้วยการนำไปแลกเป็นตัวเสริมแรงอื่นๆ ตัวเสริมแรงที่ทำให้ตัวเสริมแรงแผ่ขยายมีคุณค่ามากขึ้น เรียกว่า ตัวเสริมแรงสนับสนุน เช่น คูปองของห้างสรรพสินค้า ด้วยตัวของมันเอง คูปองไม่มีค่าใดๆ นอกจากกระดาษแผ่นหนึ่ง แต่ทว่าคูปองมีค่าก็ต่อเมื่อนำไปแลกสิ่งของต่างได้สิ่งของต่างๆที่คูปองนำไปแลกได้นั้นเรียกว่า ตังเสริมแรงสนับสนุนนั่นเอง
การเสริมแรงสามารถดำเนินได้ใน ๒ ลักษณะด้วยกันคือ
๑. การเสริมแรงทางบวก ( Positive Renforcement ) คือการเสริมแรงที่มีผล ทำให้พฤติกรรมที่ได้รับการเสริมแรงนั้นมีความถี่เพิ่มขึ้นคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจสับสนว่าการให้การเสริมแรงทางบวกและการให้รางวัล ( Reward ) มีความหมายเหมือนกัน แต่ทว่าความจริงแล้วทั้งสองอย่างนี้มีความหมายแตกต่างกัน การให้เสริมแรงทางบวกนั้น เป็นการทำให้พฤติกรรมมีความถี่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่การให้รางวัลเป็นการต่อพฤติกรรมที่บุคคลทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามวาระและโอกาสที่สำคัญ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องทำให้พฤติกรรมนั้นมี่ความถี่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า การให้คำพูดตำหนิ หรือการตีบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็อาจจะเป็นการเสริมแรงทางบวกได้ ถ้าการกระทำดังกล่าวส่งผลทำให้พฤติกรรมที่ได้รับการกระทำนั้นมีความถี่เพิ่มขึ้น ซึ่งแน่นอนคงจะไม่มีใครมทองว่าการใช้คำพูดตำหนิ หรือการตีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นการให้รางวัลแก่บุคคลนั้น
๒. การเสริมแรงทางลบ ( Negative Reinforcement ) คือการให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการที่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวนั้น สามารถถอดถอนจากสิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจ ( Aver sive Stimuli ) ออกไปได้ สิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจจะเป็นตัวเสริมแรงทางลบได้ต่อเมื่อพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อถอดถอนสิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจนั้นเพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ไม่พึงพอใจ ไม่พึงปรารถนา หรือสิ่งที่รบกวนบุคคลต่างๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตัวเสริมแรงทางลบเสมอไป นอกเสียจากว่ามันจะทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกแล้วสามารถถอดถอนสิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจได้นั้นมีความถี่เพิ่มขึ้น
การเสริมแรงทางลบ จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใน ๒ ลักษณะคือ พฤติกรรมการหลีกหนี ( Escape Behavior ) นั้นคือเมื่ออินทรีย์ต้องเผชิญกับสภาพการณ์ที่ไม่พึงพอใจ ( AversiveEvent ) ก็สามารถที่จะแสดงพฤติกรรมอื่น เพื่อที่จะถอดถอนสภาพการณ์ที่ไม่พึงพอใจนั้น พฤติกรรมอื่นที่แสดงออกนั้น เรียกว่า พฤติกรรมการหลีกหนี ถ้าพฤติกรรมอื่นที่แสดงออกนั้นเกิดบ่อยครั้งขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสภาพการณ์ที่ไม่พึงพอใจไม่นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวเสิรมแรงทางลบทันที อย่างเช่นกรณีของหนูที่อยู่ในกรง แล้วถูกซ็อตด้วยไฟฟ้าก็จะทำหน้าที่เป็นตัวเสริมแรงทางลบทันที ลักษณะของพฤติกรรมการหลีกหนีถ้าจะดูจากชีวิตประจำวันของคนเราคงจะเห็นได้ชัด อย่างเช่นการที่คนเราเดินอยู่แล้วมีฝนตกคนเราก็จะกางร่มกันฝน ฝนตกก็จัดได้ว่าเป็นสภาพการณ์ที่ไม่พึงพอใจ พฤติกรรมการกางร่มในขณะนั้นก็จะกลายเป็นพฤติกรรมการ หลีกหนีและถ้าเผชิญกับฝนตกบ่อยครั้งและทุกครั้งก็จะกางร่ม สภาพฝนตกก็จะกลายเป็นตัวเสริมแรงทางลบไป
นอกจากพฤติกรรมการหลีกหนีแล้วอีกพฤติกรรมหนึ่งได้แก่ พฤติกรรมการหลีกเลี่ยง เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการได้รับสัญญาณว่าเหตุการณ์ที่ไม่พึงพอใจจะเกิดขึ้นกับบุคคล จะสามารถหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจนั้นได้ โดยการแสดงพฤติกรรมในลักษณะอื่นแทน เช่น
การที่ใกล้สอบ แล้วยังไม่ดูหนังสือ แต่มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์ บุคคลนี้อาจจะพบว่าสิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจ ( การสอบไม่ผ่าน) อาจจะเกิด ถ้ายังไม่ดูหนังสือ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจ ( การสอบไม่ผ่าน ) บุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโดยใช้เวลาในการอ่านหนังสือแทนที่จะดูโทรทัศน์ ถ้าพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงเกิดด้วยความถี่ที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจนั้นก็จะกลายเป็นตัวเสริมแรงทางลบ

พฤติกรรม
การเสริม การลงโทษแรงทางบวก ทางลบ ทางบวก ทางลบ ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ความถี่ของพฤติกรรมลดลง เปรียบเทียบการเสริมแรงทางบวก , การเสริมแรงทางลบและการลงโทษชนิดผล ตัวอย่าง การเสริมแรง ทางบวก พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคลนั้นต้องการ ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้วได้รับคำชม จะทำการบ้านส่งตรงเวลาสม่ำเสมอ
การเสริมแรง ทางลบ พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลดน้อยหรือหมดไป ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนดเวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไปดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำรายงานให้เสร็จตามเวลา

การลงโทษ 1 พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น เมื่อถูกเพื่อนๆ ว่า โง่ เพราะตั้งคำถามถาม ผู้สอน ผู้เรียนคนนั้นเลิกตั้งคำถามใน ชั้นเรียน
การลงโทษ 2 พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่งเร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจากครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก
ตัวชี้แนะ (Cueing) คือการสร้างสิ่งเร้าให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมเพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ภายในระยะเวลาที่ต้องการ ซึ่งบุคคลมักจะลืมอยู่บ่อยๆ เช่น ครูมักจะใช้วิธีการสั่งมากกว่าการชี้แนะ เป็นต้น
ตัวกระตุ้น (Prompting) คือการเพิ่มตัวชี้แนะเพื่อการกระตุ้นพฤติกรรม ซึ่งมักจะใช้ภายหลังจากการใช้ตัวชี้แนะแล้ว
ตารางการเสริมแรง ( Schedules of Reinforcement ) ในการให้การเสริมแรงต่อพฤติกรรมนั้น สามารถจะการเสริมแรงตามจำนวนครั้ง ( Ratio ) ของการเกิดพฤติกรรม หรือให้ตามช่วงเวลา ( Interval ) ของการเกิดพฤติกรรมได้ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะให้ทุกครั้งที่กระทำพฤติกรรม หรือให้เป็นครั้งคราวก็ได้ ซึ่งการให้การเสริมแรงแบบทุกครั้ง ( Continuos ) และการเสริมแรงแบบครั้งคราว ( Intermittent ) ย่อมมีผลที่แตกต่างกันต่อการคงอยู่ของพฤติกรรมและการต้านทานต่อการหยุดยั้ง ( Extinction ) ด้วย กล่าวคือถ้าพฤติกรรมใดที่ได้รับการเสริมแรงแบบทุกครั้งมักจะยุติลงอย่างรวดเร็วเมื่อการหยุดยยั้ง แต้ถ้าเป็นการเสริมแรงแบบครั้งคราว การหยุดยั้งจะส่งผลช้ามากต่อการยุติของพฤติกรรม
๑. การเสริมแรงแบบทุกครั้ง ( Continuous Reinforcement หรือ CRF ) เป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งที่อินทรีย์แสดงพฤติกรรมเป็าหมายได้ถูกต้อง การเสริมแรงในลักษณะนี้จะทำให้พฤติกรรมเป้าหมายที่ได้รับการเสริมแรงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงระดับที่ค่อนข้างจะคงที่ แต่ไม่ค่อยสูงมากนักและจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อไม่มีการให้การเสริมแรงหรือการหยุดยั้งขึ้น การเสริมแรงแบบทุกครั้งนี้ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของคนเรา โดยปกติแล้วคนเราก็จะมักได้รับการเสริมแรงในลักษณะของครั้งคราวมากกว่า อย่างไรก็ตามการเสริมแรงแบบทุกครั้งจะมีประโยชน์อย่างมากในการเสริมสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมาใหม่ขึ้น