ทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเผชิญความจริง
ความเป็นมาของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเผชิญความจริง
วิลเลี่ยม กลาสเซอร์ (William Glasser) จิตแพทย์ชาวอเมริกันเป็นผู้ริเริ่มวิธีการให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเผชิญความจริง (Reality Approach to Counseling ) กลาสเซอร์ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1925 ในสหรัฐเอมริกาจบปริญญาตรีทางวิศวกรรมเคมีและได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บันฑิต เขามีประสบการณ์ในการทำงานด้านจิตเวชที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนั้นนิยมใช้วิธีการทางจิตวิเคราะห์ในการบำบัดรักษาคนไข้ กลาสเซอร์ พิจารณาว่าประสิทธิภาพของวิธีการแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้รักษาคนไข้นั้นยังไม่มีประสิทธิภาพพอ จึงริเริ่มคิดหาทางพัฒนาวิธีการบำบัดรักษาแบบใหม่ขึ้น
ในปี ค.ศ. 1957 กลาสเซอร์ ได้รับตำแหน่งหัวหน้าจิตแพทย์ประจำสถาบันยุวอาชญากรใน
รัฐเคลิฟอร์เนียได้พัฒนาวิธีการช่วยเหลือยุวอาชญากรเหล่านั้นด้วยวิธีการของเขาเอง โดยเน้นการฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบให้เด็กวางโครงการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง และสัญญาว่าจะดำเนินการตามโครงการนั้นเขาจะไม่ยอมรับข้อแก้ตัวใด ๆ ทั้งสิ้นของเด็ก ถ้าเด็กไม่ปฏิบัติตามสัญญาแต่พยายามหลีกเลี่ยงการลงโทษ ผลปรากฏว่าวิธีนั้นได้ผลดีอัตราความไม่เข็ดหลาบของเด็กลดลงถึงร้อยละ 20 โครงการของกลาสเซอร์ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างดีเขาได้ไปช่วยวางโครงการบำบัดแบบเผชิญความจริงให้แก่โรงพยาบาลจิตเวชที่เขาเคยทำงานอยู่ ซึ่งได้ผลดีและอัตราการหวนกลับโรงพยาบาลอีกของคนไข้ลดลงมาก
ในค.ศ. 1960 กลาสเซอร์ ได้พิมพ์ตำราเล่มแรกออเผยแพร่ คือตำรา เรื่อง “ Mental Health or
Mental lllness” และในค.ศ. 1965 เขาได้พิมพ์ตำราอีกเล่ม คือ “Reality Therapy :A New Approach to Psychiatry” และในปีเดียวกันนี้กลาสเซอร์ได้จัดตั้งสถาบันการบำบัดแบบเผชิญความจริงขึ้นเพื่อฝึกหัดการใช้วิธีที่เขาคิดค้นนี้
สถาบันต่าง ๆให้ความสนใจกับวีการนี้และได้เชิญเขาเป็นที่ปรึกษา กลาสเซอร์ได้ปรับปรุงวิธีให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในสถาบันการศึกษา เขาได้เน้นว่าในวัยเด็กอาจเกิดระยะวิกฤตขึ้นได้ครั้งแรกเกิดในช่วงที่เด็กอายุ 2 ขวบ ถึง 5 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กเริ่มใช้คำพูดจะเรียนรู้ทางสังคมจะแสดงความอยากรู้อยากเห็นและความคิดเด็กต้องการความรักและความสนใจจากพ่อแม่หรือคนเลี่ยงเด็ก ๆ ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองที่จะเผชิญปัญหา ไม่ควรปกป้องเด็กจากความเป็นจริงในชีวิตระยะช่วง 6 ปี ถึง 10 ปี เป็นวัยที่เด็กเริ่มเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆมากขึ้นเด็กเริ่มเข้าโรงเรียนได้รับการศึกษาได้เรียนรู้ทักษะได้รับสถานะและความสำเร็จส่วนเด็กที่โชคร้ายจะได้รับความล้มเหลว
การให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริงเปรียบเสมือนเป็นก้าวใหม่ของการผสมผสานแนวคิดของเอลลิส (Ellis) ในเรื่องของการให้บริการแบบพิจาณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และแนวคิดของโรเจอร์ส (Rogers) ในเรื่องการให้บริการปรึกษาเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดี น่าสนใจ และมีชีวิตชีวา นอกจาตำราดังกล่าวแล้วกลาสเซอร์ยังได้แต่งตำราขึ้นอีก 2 เล่ม คือ “ The Identity Sosiety” และ (Positive Addition)
กลาสเซอร์และเพื่อนร่วมงานของเขาได้จัดทำวารสารชื่อ “Journal of Reality Therapy”
ขึ้นในปี ค.ศ. 1981 คำพูดที่ว่า “จงรับผิดชอบและควบคุมชีวิตของท่านและเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของท่าน” คำพูดนี้เป็นตัวแทนของการให้บริการแบบเผชิญความจริง
การพิจารณามนุษย์และหลักการของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. พฤติกรรมของมนุษย์มีป้าหมาย คือ การสนองความต้องการและควบคุมวิถีชีวิตของตนความต้องการหลักของมนุษย์ คือ ความต้องเป็นส่วนหนึ่ง ความต้องการอำนาจ ความต้องการเป็นอิสระ ความต้องการความสนุกสนาน ความต้องการความอยู่รอด สมองของมนุษย์ทำหน้าที่เป็นระบบควบคุม เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เมื่อเราไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เราจะรู้สึกเจ็บปวด เมื่อเราสามารถสนองความต้องการได้เราจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและรู้สึกในทางที่ดีกับตนเอง
2. การควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ มีพื้นฐานมาจากการที่มนุษย์สร้างโลกส่วนตัว คนเราสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริงเน้นการกระทำในปัจจุบันและความคิดในปัจจุบันมากกว่าประสบการณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือการจูงใจโดยไม่รู้ตัว มนุษย์สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเองได้ด้วยการประเมินตนเองตามที่เป็นจริงอะไรที่ดีแล้วก็เก็บไว้เป็นความภูมิใจอะไรไม่ดีก็วางแผนปรับเปลี่ยน
3. มนุษย์มีความสามรถในการตัดสินใจแก้ปัญหาและใช้วิจารณญาณเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มนุษย์แต่ละคนมีความสามารถที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเองมากกว่าขึ้นกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมหรือสภาพการณ์ต่าง ๆ
มนุษย์มีแรงจูงใจที่จะประสบความสำเร็จ ทีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตนเอง และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น
4. มนุษย์รู้สึกว่าตนมีความสามารถที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆได้ หรือความรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จ และสร้างกำลังใจให้บุคคลกล้าสู้ปัญหา การที่จะทำตนให้มีค่าขึ้นอยู่กับการกระทำของบุคคลนั้นเองว่าทำสิ่งต่างได้สำเร็จมากน้อยเพียงใด
5. การได้รับความรักและโอกาสให้ความรักแก่ผู้อื่น เป็นความต้องการของมนุษย์ บุคคลที่รักผู้อื่นจะได้ความรักจากผู้อื่นจะรู้สึกว่าตนมีค่า กลาสเซอร์ พิจารณาความรักจากการกระทำของบุคคลมากกว่าความรู้สึกของบุคคล ความเหว่หว้าเป็นผลมาจากการประสบความล้มเหลวในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การขจัดความหว้าเหว่ทำได้โดยการที่บุคคลนั้นมีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นด้วยความเป็นจริงใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ลดความคับข้องใจ
6. ปัญหาในการปรับตัวหลายประการเกิดจากการไร้ความสามารถในการตอบสนองความต้องการ อาการจากการปรับตัวจะไม่ได้หายไป เมื่อบุคคลสามารถสนองความต้องการของตนเองได้ออบุคคลที่มาสามารถสนองความต้องการมีแนวโน้มที่จะบิดเบือนสภาพความเป็นจริงเขาจะตำหนิผู้อื่นและลืมว่าเขามีความรับผิดชอบที่จะแก้ไขปัญหาโดยพิจารณาจากสภาพความเป็นจริง
7. แม้ว่าอารมณ์จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นแต่เหตุผลเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำพฤติกรรมของบุคคลมีประสิทธิภาพและทำให้บุคคลประสบความสำเร็จ การปล่อยให้อารมณ์ครอบงำจะนำไปสู่ความล้มเหลว อารมณ์ส่งผลถึงพฤติกรรม ดังนั้นการจะปรับปรุงพฤติกรรมจึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม
8. คนที่มีเอกลักษณ์แห่งความสำเร็จ ( success identity) คือคนที่ได้รับการทำเกิดความรู้สึกดี มีความไว้วางใจรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อผู้อื่นตนมีค่า ตนมีความเข้มแข็ง มีความคิดที่มีเหตุผลและแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล ทำสิ่งต่างๆ เพื่อสุขภาพอันดี
9. คนที่มีเอกลักษณ์แห่งความล้มเหลว ( failure identity) คือบุคคลที่ยอมแพ้ต่อความรับผิดชอบที่จะมีพฤติกรรมตามที่คาดหวัง เนื่องจากความล้มเหลวทั้งหลายทำให้เขาเกิดความหงุดหงิด ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ยืดหยุ่น ปฏิเสธความเป็นจริง
10. ความอบอุ่นและบรรยากาศที่ยอมรับผู้รับบริการ เป็นหลักการที่สำคัญของทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
11. การให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริงเป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งเน้นการพูดคุยเหตุผลกับผู้ที่มารับบริการ โดยสนทนากับผู้ที่มารับบริการเกี่ยวกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้มารับบริการตระหนักในพฤติกรรมของตนเอง สามสารถพิจารณาสิ่งถูกผิด สิ่งที่ควรทำหรือพึงละเว้นตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
12. เราเลือกพฤติกรรมของเราเอง ดังนั้นเราต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น คนที่รับผิชอบคือคนที่รู้ว่าต้องทำอะไรในชีวิต และวางแผนเพื่อให้ได้สิ่งนั้น
กลาสเซอร์ให้คำจำกัดความว่า “ความรับผิดชอบ” ( Responsibility) คือการที่บุคคลสามารถสนองความต้องการของตนซึ่งการกระทำนั้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น ความรับผิดชอบที่จะสนองความต้องการเกิดจากการเรียนรู้และได้รับการสั่งสอนคนที่สามารกที่จะรับผิดชอบได้ คือคนที่มีความบกพร่องทางจิต ทางประสาท หรือมีสุขภาพจิตที่ไม่ดี
13. การเผชิญสภาพความเป็นจริง(Reality) คือการที่บุคคลจะสามารถแก้ปัญหาของตนเองได้ถ้าเขาเผชิญสภาพความจริง พิจารณาสิ่งต่าง ๆตามที่เป็นจริงและตระหนักในความเป็นจริงแม้ว่าหนทางนั้นมีอุปสรรคอยู่ก็ตาม
14. การประเมินความถูกผิดของพฤติกรรม (Right and Wrong) บุคคลจะต้องรูจักพิจารณาสิ่งที่ถูก สิ่งที่ผิด การประเมินพฤติกรรมจะเป็นการกระตุ้นให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง แม้ว่ากลาสเซอร์จะไม่ได้ตั้งเกณฑ์ขึ้นมาว่าอะไรถูกแต่เข่าเชื่อว่าผู้ให้บริการควรสนับสนุนหลักการทางศีลธรรมจรรยาที่ยอมรับกันทั่วไปและระมัดระวังที่จะไม่ใช้ค่านิยมของตนไปมอบให้ผู้รับบริการผู้ให้คำปรึกษาอาจอภิปรายกับผู้รับบริการถึงการเลือกค่านิยมและชี้ให้เห็นถึงผลที่ตามมาจาการเลือกค่านิยมนั้น
15. ผู้ให้บริการปรึกษาควรนำวิธีการของทฤษฎีให้บริการแบบเผชิญความจริงไปปฏิบัติอย่างยืดหยุ่น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพของผู้รับบริการแต่ละราย
พัฒนาการด้านบุคลิกภาพตามแนวคิดทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
กลาสเซอร์ให้ความสำคัญว่าช่วง 10 ปีแรกของชีวิต ว่า มีอิทธิพลในการหล่อหลอมบุคลิกภาพเพราะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มเข้าสู่โครงสร้างทางสังคม คือ บ้าน และโรงเรียน เนื่องจาการสนองความต้องการเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้พ่อแม่มีหน้าที่สอนและฝึกทักษะที่จำเป็นแก่เด็กการที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาหรือทักษะ พ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมกับบุคลทั่วไป
พ่อกับแม่ควรที่จะรู้จักสอนให้ลูกรู้จักการพูดและการฟัง เพราะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่เด็กจะได้ติดต่อกับผู้อื่น สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือความสามารถเชิงเหตุผลและการแก้ปัญหาของบุคล พ่อแม่ต้อง ใจแข็งที่จะไม่ช่วยลูกในกรณีที่ลูกสามารถช่วยตนเองได้นอกจากนี้พ่อแม่ควรสร้างนิสัยที่ดีงามให้แก่ลูกและปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือลูกโดยไม่จำเป็น
เวลาส่วนใหญ่ของเด็กนั้นจะอยู่ที่โรงเรียนดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นแหล่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสรมบุคลิกภาพของเด็ก ถ้าพ่อแม่และครูเข้าใจเด็กรู้วิธีหล่อหลอมบุคลิกภาพที่พึงปรารถนาของเด็กจะช่วยทำให้เด็กมีแนวโมที่จะเติบโตไปสู่การที่เป็นบุคลที่มี “ วุฒิภาวะ” คือ เป็นบุคคลที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเองมีความเป็นตัวของตนเอง ตระหนักในคุณค่าของตนเอง การอบรมอย่างถูกวิธีและเด็กมีโอกาสที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอันเหมาะสมจะสามารถป้องกันปัญหาได้
จุดมุ่งหมายของทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. ช่วยให้บุคลรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหา และมีทักษะในการคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง
2. ป้องกันไม่ให้บุคคลปล่อยชีวิตล่องลอย โดยสนับสนุนให้วางโครงการในอนาคตและมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการไปตามโครงการที่วางไว้
3. ส่งเสริมให้บุคคลมีวุฒิภาวะ คือเป็นตัวของตัวเองและสามารถช่วยตนเองได้
4. ช่วยให้บุคคลรู้จักตนเองว่าตนเป็นใครเขาต้องการอะไรในชีวิต
5. ช่วยให้บุคคลค้นพบวิธีการที่จะสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น
6. ให้บุคคลตระหนักในคุณค่าของตน โดยแนะแนวทางให้รู้จักวิธีสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความผู้พันทางสังคม
7. ช่วยให้บุคคลรู้จักประเมินค่านิยม รู้จักพิจารณาว่าอะไรถูกอะไรผิดสิ่งใดควรกระทำหรือพึงละเว้น
ลักษณะและบทบาทของผู้ให้การปรึกษาตามทฤษฎีให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. จะต้องสร้างสัมพันธภาพอันใกล้ชิดกับผู้รับบริการสนใจผู้รับบริการ
2. เป็นผู้มีคามเชื่อว่าการช่วยให้บุคคลเผชิญความจริงเป็นวิธีการช่วยให้บุคคลเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เป็นผู้ที่เต็มใจจะเปิดเผยและอภิปรายเรื่องต่าง ๆกับผู้รับบริการตลอดจนให้ความอบอุ่น เป็นมิตร มีความจริงใจ มองโลกในแง่ดี
4. จะต้องเป็นตัวอย่างของคนที่มีความรับผิดชอบในการสนองความต้องการของตนเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น
5. จะสอนวิธีที่ควรประพฤติปฏิบัติแก่ผู้รับบริการด้วยการสอนโดยตรงด้วยการเป็นต้นแบบให้
6. จะช่วยกันกับผู้รับริการวางโครงการเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้โดยไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆทั้งสิ้น
7. ผู้ให้การปรึกษานับถือศักยภาพและความเข้มแข็งของผู้รับบริการในการไปสู่เอกลักษณ์แห่งความสำเร็จ
8. ผู้ให้การปรึกษาจะต้องเป็นตัวอย่างของการนับถือตนเองและการรักตนเอง
กระบวนการของทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ขั้นตอนการให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. ขั้นตอนสร้างสัมพันธภาพหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการทั้งในความคิดและอารมณ์ผู้ให้การปรึกษาจะต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการจนผู้รับบริการตระหนักว่าผู้ให้บริการปรึกษายอมรับเข้าใจและสนใจ ให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการว่าเขาสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้
2. ขั้นการช่วยให้ผู้รับบริการได้สำรวจความต้องการของตน หลังจากที่ผู้ให้คำปรึกษาได้มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการแล้วผู้ให้การปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการไดสำรวจความต้องการของเขา ว่าจะไรคือสิ่งที่เขาอยากทำ
3.ขั้นการช่วยให้ผู้รับบริการอธิบายวิถีชีวิตของเขาในแต่ละวัน ผู้ให้การปรึกษาเน้นสภาวะปัจจุบันว่ามีเหตุการณ์หรือการกระทำในปัจจุบันอะไรบ้างในชีวิตของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการแบบเผชิญความจริงไม่เชื่อว่าวิเคราะห์อดีตจะช่วยแก้ปัญหาได้แต่ยิ่งกลับให้ผู้รับริการหาข้อแก้ตัวให้กับปัญหาในปัจจุบันของตน
4. ขั้นการช่วยผู้รับบริการได้ประเมินพฤติกรรมของตนเอง ผู้ให้บริการและผู้รับบริการจะร่วมกันอภิปรายร่วมกันว่าพฤติกรรมใดถูกต้องพฤติกรรมใดผิดควรทำหรือไม่ควรทำอย่างไร การใคร่ครวญหรือการประเมินพฤติกรรมของตนจะเป็นการนำผู้รับบริการเข้าสู่สภาพความเป็นจริงได้พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพ้อฝันหรือล่องลอย
5. การช่วยให้ผู้รับบริการได้วางโครงการเปลี่ยนพฤติกรรมของตน ขั้นนี้จะกินเวลามากจะเริ่มเมื่อผู้รับบริการได้มีการพิจารณาอย่างมีเหตุผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเขาแล้วมีการวางโครงการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น การวางโครงการควรเป็นโครงการที่เฉพาะเจาะจงไม่ใช่วางไว้กว้างเกินไป มีขั้นตอนและอยู่ในลักษณะที่มีแนวโน้มจะทำได้จริง
6. ขอข้อผูกพันหรือคำมั่นสัญญาว่าผู้รับบริการจะปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้ หลังจากมีการวางโครงการไว้ไม่ได้หมายความว่าผู้รับบริการจะปฏิบัติตามนั้นเสมอไป ดังนั้นผู้ให้บริการจึงควรขอข้อผูกพันหรือคำมั่นสัญญา ว่าผู้รับบริการจะปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้
7. ผู้รับบริการไม่ปฏิบัติตามสัญญาผู้ให้บริการไม่รับฟังข้อแก้ตัวใดๆทั้งสิ้น ผู้ให้บริการปรึกษาจะใช้คำถาม “ หนูคิดว่าโครงการที่วางไว้นั้นยังมีประโยชน์หรือไม่และจะเริ่มลงมือดำเนินการตามโครงการอีกเมื่อใด” แทนที่จะตั้งคำถามว่า “ทำไมหนูจึงไม่ทำ” ถ้าโครงการล้มเหลวก็จะช่วยกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งความล้มเหลวและวางโครงการมาใหม่
8. ไม่มีการลงโทษถ้าผู้รับบริการไม่ดำเนินการตามโครงการ การลงโทษนอกจากไม่ได้ให้ผลดีแล้วยังก่อให้เกิดผลเสียด้านอารมณ์แก่ผู้รับบริการด้วย
สรุปขั้นตอนของการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ขั้นตอนของการปรึกษาแบบเผชิญความจริง มี 4 ขั้นตอน คือการใช้ระบบ ดับเบิลยู ดี อี พี ( W D E P System) สามารถช่วยให้ผู้รับบริการมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นเป็นบุคคลที่กล่าเผชิญความจริงและประพฤติตนได้อย่างเหมาะสม
W (Wants) คือ การที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการค้นพบความต้องการของเขา
D (Describe) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาอภิบายวิถีชีวิตของเขาว่าเขาทำอะไรในแต่ละวัน
E (Self Evaluation) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการประเมินพฤติกรรมของตนเอง
P ( Plan) คือการที่ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมของตน
เทคนิคการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพ ( Building Relationship Technique ) ในการสร้างสัมพันธภาพนั้นผู้ให้การปรึกษาจะทักทายแสดงความเป็นมิตรต่อผู้รับบริการ จะมีความจริงใจ มีเมตตา อยากที่จะช่วยผู้รับบริการพ้นทุกข์ยอมรับผู้รับบริการโดยปราศจากเลื่อนไขเสมือนผู้รับบริการเป็นลูกหลาน
2. เทคนิคการตั้งคำถาม (Questioning Technique) การใช้คำถมที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้ผู้รับบริการสำรวจความคิดและความรู้สึกของตนเอง ได้ประเมินพฤติกรรมของตน ประเภทของคำถามมีการตั้งคำถามให้ตอบสั้น ๆ เฉพาะเจาะจงและคำถามแบบเปิดเป็นการตั้งคำถามที่ให้ผู้รับบริการตอบโดยไม่จำกัดขอบเขต
3. เทคนิคการพูดแบบเผชิญหน้า(Confrontation Technique) ผู้ให้การปรึกษาจะพูดเผชิญหน้ากับผู้รับบริการการพูดเผชิญหน้าจะต้องรอให้สัมพันธภาพดีเสียก่อนมิฉะนั้นจะกลายเป็นการทำลายสัมพันธภาพ
4. เทคนิคการใช้อารมณ์ขัน ( Humor Technique) ผู้ให้การปรึกษาจะพูดเกี่ยวกับแง่มุมหนึ่งของชีวิตของผู้รับบริการหรือสิ่งอื่น ๆ ในลักษณะของอารมณ์ขันซึ่งคลายความตึงเครียดลงไป
5. เทคนิคการชี้ประเด็น (Point Out Technique) เป็นเทคนิคที่ผู้ให้ปรึกษาชี้ประเด็นให้ผู้รับบริการได้เห็นความไม่รับผิดชอบของตน
6. เทคนิคการให้ข้อเสนอแนะ( Advice Technique) เป็นเทคนิคที่ผู้ให้การปรึกษาให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้รับบริการว่าจะสนองความต้องการของตนได้อย่างไร
7. เทคนิคการเปิดเผย (Self Disclosure) เป็นเทคนิคที่ผู้ให้การปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการเปิดเผยประสบการณ์ ความคิดอุปสรรคของเขา
8. เทคนิคการตีความ( Interpretation) เป็นเทคนิคที่ผู้ให้การปรึกษาตีความพฤติกรรมของผู้รับบริการหรือตีความสีหน้า ท่าทาง คำพูดของผู้รับบริการเพื่อผู้รับบริการเข้าใจและมองสิ่งต่าง ๆกว้างขึ้น
ข้อดีของการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. ไม่เน้นอดีตและความรู้สึกมากเกินไป ช่วยให้ผู้รับบริการไม่ใช้ข้ออ้างว่าเหตุการณ์ในอดีตเป็นสาเหตุของปัญหาและช่วยให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดำเนินเร็วขึ้น
2. เน้นการวางโครงการและความมุ่งมั่น ในการดำเนินโครงการเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนพฤติกรรม
3. เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ประเมินพฤติกรรมของเขา ได้พิจารณาค่านิยมของตนและนำเรื่องนี้มาอภิปรายกับผู้ให้บริการปรึกษาเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการได้ตระหนักถึงพฤติกรรมของตนจะได้พิจารณาพฤติกรรมในขอบข่ายที่กว้างขึ้น
4. เน้นความรับผิดชอบในการหาที่สนองความต้องการของตน ควบคุมชี้วัดตนได้โดยไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลอื่น เป็นวิธีช่วยให้บุคคลรับผิดชอบที่จะช่วยตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
5. ช่วยให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองโดยการปฏิบัติจริง โดยไม่ใช่เฉพาะการวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้นแต่เป็นการปฏิบัติจริงด้วย
6. เป็นการช่วยให้ผู้รับบริการกล้าเผชิญปัญหาและฝึกควบคุมตนเอง ช่วยให้ผู้รับบริการได้พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองเกิดความภูมิใจ
7. สามารถนำไปใช้กับการปรึกษารายบุคคล รายกลุ่ม ใช้ได้ดีในสถาบันการศึกษา การพัฒนาชุมชน ในสถาบันแก้ไขปัญหา ในโรงพยาบาลโรคจิตโรคประสาท นำไปใช้ได้ทั้งกับเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ปัญหาการหย่าร้างของพ่อแม่ ช่วยคนพิการให้เพิ่มความรับผิดชอบในการช่วยตนเอง
ข้อกำกัดของการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. มุ่งเฉพาะแรงจูงใจในระดับจิตสำนึกไม่ได้กล่าวถึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึก ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในระดับจิตไร้สำนึก
2. เป็นการแก้ปัญหาแบบปัจจุบันทันด่วนไม่ได้สำรวจว่ามีอะไรที่ยังค้างคาใจอยู่หรือไม่ เป็นการตอบคำถามว่าจะทำให้วิถีชีวิตเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นไปได้ อะไรที่เป็นไปไม่ได้ อะไรคือพฤติกรรมที่ถูกต้องอะไรเป็นสิ่งที่ผิดไม่ควรทำ
3. ใช้การสื่อความหมายและเหตุผลมากจึงใช้ไม่ค่อยได้ผลกับผู้ขาดทักษะทางภาษาและผู้ที่ขาดทักษะทางการใช้วิจารณญาณ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ใช้การสื่อสารทางภาษามาก
ตัวอย่างการใช้เทคนิคการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ผู้รับบริการเป็นชายหนุ่มอายุ 18 ปีอยู่ระหว่างการหางานทำเขาขอรับบริการปรึกษาจากเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน ข้างล่างนี้เป็นการสนทนาตอนหนึ่งระหว่างผู้ให้การปรึกษาและผู้รับบริการ
ผู้ให้การปรึกษา : เรื่องราวของคุณไปถึงไหนแล้ว( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ผมไปหางานทำเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แต่แย่มาก ไม่มีใครรับผมเลย
ผู้ให้การปรึกษา : คุณไปหางานทำมาแล้วกี่แห่ง( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ไปหลายแห่งแต่ไม่มีใครให้โอกาสผม
ผู้ให้การปรึกษา : เล่าให้ฟังซิครับ ว่าไปไหนมาบ้าง( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ผมไปทำที่ปั้มน้ำมัน
ผู้ให้การปรึกษา : นอกนั้นไปไหนอีก( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ผมไปที่ปั้มน้ำมันอีก 2 แห่งแต่ไม่มีใครรับผม เขาไม่อยากพูดกับผม
ผู้ให้การปรึกษา : คุณยังไม่ได้ให้ความพยายามพอ เหมือนกับคุณรอให้มีคนมาเชื้อเชิญคุณคุณคิดว่าการไปหางานทำเพียงสองสามแห่งจะช่วยให้ได้งานทำหรือครับ ในภาวะที่มีการแข่งขันกันในตลาดแรงงานเช่นนี้คุณจะต้องช่วยตนเองมากขึ้น ( การตีความหมาย interpretation)
ผู้รับบริการ : แต่ไม่มีใครจ้างผมเลย
ผู้ให้การปรึกษา : ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดีใคร ๆ ก็ประสบปัญหาในการหางานทำผมรู้จักคนหนึ่ง
รุ่นราวคราวเดียวกับคุณ ได้ออกหางานทำ 20 กว่าแห่ง กว่าจะงานทำลองเทียบดู
กับการที่คุณออกหางานทำเพียง 3 แห่ง แล้วล้มเลิก ใครเป็นคนที่จะต้อง รับผิดชอบ เจ้าของน้ำมันที่คุณไปหางานทำ เศรษฐกิจหรือตัวคุณ
ผู้รับบริการ : ครับผมจะลอง
ผู้ให้การปรึกษา : ในช่วงอาทิตย์ที่แล้วดูเหมือนว่าคุณไม่ได้ตั้งใจหางานทำอย่างจริงจัง( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ครับผมยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง
ผู้ให้การปรึกษา : คุณคิดวางโครงการจะทำอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการหางานต่อไป( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ผมจะพยายามหางานทำอีก
หมายเหตุ : ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการเตรียมตัวล่วงหน้าในการหางานทำโดยเน้นว่าตัวเองจะต้องพยายามช่วยตนเอง มีการฝึกการทดลองสวมบทบาทรับผิดชอบโดยมักพูดว่า “ ผมคงทำไม่ได้” ซึ่งผู้ให้การปรึกษาจะไม่ยอมให้ผู้รับผิดชอบหาข้ออ้างและสนับสนุนให้ผู้รับบริการเกิดกำลังใจไม่ท้อถอย
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)