Existentialism เป็นความจริงทั่วไปเกี่ยวกับการดำรงอยู่ เกิดขึ้นตลอดชีวิต(ontology) ซึ่งเน้นที่ประสบการณ์เฉพาะของแต่ละคน หลีกเลี่ยงที่จะวิเคราะห์คนด้วยเหตุผลตามระบบตรรกะ และปฏิบัติต่อมนุษย์เหมือนสิ่งที่เป็นนามธรรม(abstract) วิธีการคือ การนำความคิดของคนไข้ เชื่อมกับ ความคิดเรื่องวิทยาศาสตร์
ดังนั้นการศึกษาปัญหาของคนจากที่เป็นอยู่ไม่ใช่ไปจัดปัญหาให้เข้ากับวิธีการศึกษา หรือกล่าวได้ว่ามนุษย์เราจะต้องสร้างสมดุลระหว่างความเป็นอัตวิสัย (subjective) และวัตถุวิสัย(objective) และเกณฑ์เบื้องต้นในการศึกษาจะเน้นที่ความเป็นอัตวิสัย
ทฤษฎีรู้สำนึกและภาวะนิยม เป็นแนวทางการปรึกษาและการทำจิตบำบัดที่ตั้งอยู่บนความเข้าใจเชิงปรัชญาถึงความหมายของการเป็นมนุษย์ ว่าคืออะไร ความหมายของการมีชีวิตอยู่หรือการมีชีวิต ความเข้าใจนี้เป็นผลงานของนักปรัชญาหลายท่านรวมถึงนักจิตบำบัดเอง ดังนั้นจึงมีความแตกต่างกันในการให้ความสำคัญกับความหมายของการมีชีวิต ทฤษฎีรู้สำนึกและภาชีวิตนิยมการปรึกษาที่ประกอบด้วยการเรียนรู้การดำรงอยู่ การนำไปประยุกต์ใช้กับผู้รับการปรึกษา และการให้ผู้รับการปรึกษามีการซึมซับกับปรัชญานี้โดยดำรงอยู่อย่างมีความหมายเสียเอง
ผู้ให้การปรึกษาที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ได้แนวคิดจากประสบการณ์ชีวิตและการดำรงอยู่ของตนเอง ตลอดจนความคิดเชิงปรัชญาที่สะสมมาหลายสิบปี ทัศนะต่อโลก ต่อชีวิต เป็นสิ่งที่สะท้อนรูปแบบการให้การปรึกษาและการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุที่การให้การปรึกษาแบบรู้สำนึกและภาวะชีวิตมีรากฐานจากปรัชญาอัตถิถาวะนิยม ดังนั้นจึงไม่มีรูปแบบการให้การปรึกษาที่เฉพาะเจาะจง หากแต่มีหลายกระแส หลายแนวคิด นักปรัชญาท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ เรียกได้ว่าเป็นนักปรัชญาเชิงอัตถิภาวนิยม ผู้ที่จัดว่าเป็นนักปรัชญาอัตถิภาวะนิยมตั้งแต่สมัยกรีกโบราณจนถึงนักปรัชญายุโรปในศตวรรษนี้ ได้แก่ ซือเลิน กิเคอการ์ด และฟริดริช นิทเช่ สำหรับมาร์ติน ไฮเดเกอร์ ได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งในการก่อตั้งปรัชญาเชิงอัตถิภาวะนิยม เป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการทำจิตบำบัดและการปรึกษาแบบรู้นึกและภาวะชีวิต ไฮดเกอร์เองไม่ได้มีงความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการทำจิตบำบัด แต่ปรัชญาการดำรงอยู่ของเขาได้ถูกนำมาใช้โดยจิตแพทย์ชาวสวิส 2 ท่าน ลุดวิก บินสวังเออร์ และเมดาร์ด บอส วิธีการบำบัดจิตของจิตแพทย์ทั้งสองเป็นจุดเริ่มต้นของการให้การปรึกษาแบบรู้สำนึกและภาวะชีวิต จิตแพทย์ยุโรปอีกท่านหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นผู้บุกเบิกการบำบัดแบบรู้สำนึกและภาวะชีวิต คือนักจิตวิทยาชื่อโรลโล เมย์ และจิตแพทย์ชื่อเออร์วิน ยาลอม เมย์เป็นผู้ที่นำกระแสของการบำบัดแบบรู้สำนึกและภาวะชีวิตมาสู้ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งการแปลปรัชญาด้านนี้เป็นภาษาอังกฤษ
คุณสมบัติของ Existentialism
1. จุดแรกในการวิเคราะห์การดำรงอยู่ของมนุษย์ คือ ตัวมนุษย์เอง
2. การที่เรามีเป้าหมายที่เราวางไว้ทำให้มีเสรีภาพเป็นแกนความคิดในการเข้าใจความเป็นไปและพัฒนาการของมนุษย์ ทำให้เรามีพัฒนาการแห่งตัวตน
เน้นประสบการณ์ในปัจจุบัน และเชื่อว่าคนเรามองโลกอย่างอัตวิสัย ทั้งนี้เพราะต้องเจอกันความไม่แน่นอนตลอดชีวิต ปัญหาของยุคสมัยใหม่ในมุมองของ Existentialism ทำให้เราสูญเสีย
1. มนุษย์เสียความเป็นตัวของตัวเอง เพราะ กังวลและรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อไม่ได้อยู่ในกลุ่ม กลัวไม่ถูกยอมรับไม่เป็นที่ชื่นชอบ ทำให้เราห่างจากตัวของเราเองมากขึ้น
2. มนุษย์พยายามแยกเหตุผลกับอารมณ์ออกจากกัน เพราะเห็นว่าอารมณ์เป็นสิ่งไม่ดี ซึ่งจริงๆแล้วเมื่อมีปัญหามนุษย์จำเป็นจะต้องใช้ทั้งสองสิ่งนี้ในการแก้ไขปัญหานั้น
3. ด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและการเมืองทำให้มนุษย์สูญเสียความรุ้สึกว่าตนไร้คุณค่าและศักดิ์ศรี
4. สูญเสียความสัมพันธ์กับธรรมชาติ
5. สูญเสียความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีวุฒิภาวะและความรัก
ลีโอ ตอลสลอย เป็นผู้หนึ่งที่ได้ให้ความหมายของชีวิตโดยเขียนไว้ในหนังสือ “คำรับสารภาพ” ว่าชีวิตนั้นไร้สาระ แม้ว่าตอลสลอยประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียน แต่เขาคิดฆ่าตัวตาย เพราะความสงสัยว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ คำสอนของคริสต์ศาสนาให้ความหมายของชีวิตในแง่มุมที่มนุษย์ต้องสร้างความดีเพื่อชีวิตหลังความตาย แต่ถ้าไม่มีพระเจ้าการสร้างความดีจะมีความได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งที่มนุษย์ต้องประสบคือความตายและทุกอย่างก็ต้องสูญสลายไป แต่เมื่อตอลสลอยกลับมามีศรัทธาในพระเจ้า เขาเกิดความหวังและมีกำลังใจในการดำรงชีวิตอย่างเปี่ยมล้น แสดงว่าตอลสลอยได้นำพระเจ้ามาสร้างความหมายให้กับชีวิต
อัลแบร์ กามูร์ ได้ใช้ตัวละคนของเขาสื่อความหมายของชีวิต ในวรรณกรรมเรื่อง “ชะตากรรมของซิเซอฟัส” โดยซิเซอฟัสถูกบรรดาเทพเจ้าลงโทษให้เข็นก้อนหินขึ้นสู้ยอดเขาแล้วปล่อยให้ตกลงมา โทษทัณฑ์เช่นนี้สื่อถึงการลงแรงที่สิ้นหวังและไร้ผลตอบแทน ซิเซอฟัสยอมรับโทษทัณฑ์อย่างน่าชื่นตาบานเพราะเขาเข้าใจโทษทัณฑ์ที่เทพเจ้าต้องการให้เข้าได้รับ เขามีชีวิตอยู่ได้เพราะเขาให้ความหมายของชีวิตโดยการตระหนักถึงความผิดที่ได้รับ และพยายามอยู่เหนือมัน
ฌองปอล ซาตร์ ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญารู้สำนึกและภาวะชีวิต เขาได้รับการเสนอรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1964 แต่เขาปฏิเสธการเข้ารับรางวัล ซาตร์บอกว่าโลกนี้มีภาวะ อยู่ 2 ภาวะคือ ภาวะในตน ซึ่งหมายวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ไม่มีจิตสำนึก และภาวะสำหรับตน ซึ่งคือมนุษย์ที่มีจิตใจ วัตถุเป็นสิ่งที่ไม่มีความคิด ไม่มีจิตใจ มีความเต็มอยู่ในตนเอง คือเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น สำหรับมนุษย์ที่มีจิตที่มีความพร่องหรือความว่างเปล่าเป็นธรรมชาติที่ถาวร ด้วยจิตที่เป็นโพรง มนุษย์จึงมีความพยาดิ้นรนที่จะเป็นอะไรสักอย่าง เนื่องจากไม่อยากอยู่กับความว่างเปล่าของตนเอง มนุษย์จึงสร้างโครงการต่างๆ ว่าตนต้องการทำอะไร กำหนดวิถีชีวิตว่าจะทำอะไร เพื่อเติมความว่างเปล่าในจิตใจ แต่ว่าจะเติมเท่าใดมนุษย์จะยังมีความว่างเปล่า เพราะมนุษย์ไม่ใช่วัตถุที่มีความเต็มอยู่ในตัวเอง ซาตร์ กล่าวว่า “มนุษย์เป็นความปรารถนาที่ไร้ความสำรเร็จ” มนุษย์ยังไม่สามารถเติมเต็มความว่างเปล่าของตนได้ง แต่มนุษย์สามารถเป็นผู้สร้างแก่นสารหรือสารัตถะให้กับตนเองภายหลัง เดิมมนุษย์เป็นเพียงผู้ที่ไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่ว่างเปล่าจากตัวตน และมิใช่สิ่งที่มีแก่นสาร สิ่งที่เป็นแก่นของมนุษย์คือ ความมีอัตลักษณ์ มนุษย์แต่ละคนไม่ควรจะเหมือนกัน สารัตถะต่อไปคือ เสรีภาพ มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกกระทำ ต่อมนุษย์ต้องมีความรับผิดชอบต่อปัจเจกภาพของตนและต่อมวลมนุษยชาติ สำหรับสารัตถะข้อสุดท้ายคือการมีชีวิตที่แท้จริง มนุษย์ควรเลือกใช้ตามวิถีของตนอย่างมีเสรีภาพและความรับผิดชอบ โดยวิถีชีวิตนั้นความเป็นสิ่งมี่มนุษย์ต้องการอย่างแท้จริง
ฟริดริช นิทเช่ นักปรัชญาชาวเยอรมัน เขาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของดาร์วินที่เสนอทฤษฎีเลือกสรรตามธรรมชาติเพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีและเข้มแข็งที่สุด ผู้ที่เอาชนะต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นผู้ที่ควรแก่การมีชีวิตอยู่ เขามองว่าการดำรงอยู้ของมนุษย์มีเจตจำนงเพื่ออำนาจ มากกว่าเป็นเจตจำนงเพื่อชีวิต ถ้าต้องแลกระหว่างการมีชีวิตกับการมีอำนาจมีตัวอย่างมากมายแสดงให้เห็นว่าคนเรายอมเสี่ยงตายเพื่อจะมีอำนาจ เพราะเจตจำนงเพื่ออำนาจทำให้มนุษย์ต้องดิ้นรน อำนาจในความหมายของนิทเช่ในงานเขียนระยะแรก หมายถึงการเอาชนะผู้อื่นในงานของการสร้างสรรค์ผลงานให้มีความเด่นกว่าศิลปินคนอื่น สำหรับในงานเขียนระยะหลัง เจตจำนงเพื่ออำนาจหมายถึงการเอาชนะตนเอง ผู้ที่มีอำนาที่แท้จริงคือผู้ที่เอาชนะตนเองได้ เป็นผู้สามารถควบคุมอารมณ์และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ คนที่ทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกรักอิสระทางจิตวิญญาณ ไม่ถูกครอบงำโดยอิทธิพลของคนอื่นหรือกฎเกณฑ์ สามารถกำหนดวิธีชีวิตให้กับตนเองในการเลือกแนวทางการดำเนินชีวิต เพื่อบรรลุการเป็นผู้เหนือมนุษย์ เป็นผู้มีศีลธรรมอย่างเป็นนาย ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติตามกฎศีลธรรม หรืออะไรก็ได้ที่เขาเลือกพิจารณาแล้วที่จะกระทำตาม ในทางตรงกันข้าม มนุษย์ที่อ่อนแอเป็นผู้ที่ขาดความมั่นใจในตนเองในการตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิต ดังนั้นการดำรงชีวิตของเขาจะดำเนินตามกฎเกณฑ์โดยไม่ตั้งคำถามนั้นถือเป็นผู้ที่มีศีลธรรมอย่างเป็นทาส
กิเคอการ์ด นักปรัชญาและนักศาสนาชาวดัทช์ ลัทธิโปรเตสแตนต์ กล่าวถึงการดำรงชีวิตว่า การดำรงชีวิตต้องเผชิญกับความวิตกกังวล คนที่หมดลมหายใจเท่านั้นจึงจะไม่วิตกกังวล สำหรับคนที่มีลมหายใจอยู่ แต่ไม่มีความวิตกกังวล เป็นผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่เสมือนคนที่ละเมอ คนที่หลับใหลไม่ใช่คนที่ตื่น การดำรงชีวิตเป็นเสมือนการสร้างโครงการอะไรสักอย่างที่เราต้องทำด้วยความวิตกกังวลเขาแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่สำคัญกว่าของมนุษย์คือการขาดความปรารถนาและความตั้งใจมุ่งมั่น มิใช่ขาดความรู้ทางเทคโนโลยี กิเคอการ์ดยังมีความสนใจค้นหาความจริงทางวิทยาศาสตร์จากพื้นฐานของมนุษย์นิยม เขาเชื่องว่าการค้นหาความจริงที่เป็นปรวิสัยอย่างบริสุทธิ์มักขาดคุณธรรม วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากการเชื่อมโยงกับสรรพสิ่งอื่นๆ เป็นมายา เพราะวิทยาศาสตร์โดยตัวของมันไม่สามารถให้ความจริง ความเชื่อของกิเคอการ์ดตรงข้ามกับเดคารทส์ ผู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อนักทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เดคารทส์ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบอย่างเป็นระบบเพื่อการค้นพบความจริงเชิงประจักษ์ แนวคิดของเขาสอดคล้องกับแนวคิดของคอร์เปอริคัส ผู้ซึ่งเป็นต้นแบบของรูปแบบเชิงวิทยาศาสตร์ในการสังเกต แนวคิดของเดคารทส์ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ที่เชื่อว่ากายและจิตใจต่างมีผลต่อกัน
ไฮเดเกอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมันคัดค้านแนวคิด “Mechanic” ที่มองมนุษย์เหมือนเครื่องจักร เสมือนมนุษย์เป็นกลไกหนึ่งเช่นเดียวกับอุปกรณ์อื่นๆ ในเครื่องยนต์ เขาสนับสนุนความคิดของกิเคอการ์ดที่เชื่อว่า ความจริงเป็นปรวิสัยไม่ใช่ความจริงเลย การดำรงอยู่ของมนุษย์เข้าใจได้โดยการใช้ชีวิตที่เอาตนเองเป็นตัวผ่านประสบการณ์ เขาเชื่อว่าเมื่อใดที่มีการตัดสินใจเลือกย่อมหมายถึงการสูญเสียสิ่งที่ไม่ได้เลือก อดีตที่มีความสำคัญคืออดีตที่ให้สูญเสียโอกาส การตัดสินใจเลือกในปัจจุบันถูกจำกัดลงเพราะการเลือกในอดีต และถูกจำกัดด้วยเวลาที่เหลืออีกไม่มากนักที่จะทำความต้องการให้ได้รับการเติมเต็ม มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกแต่มนุษย์ต้องทำการให้เกิดสมดุลโดยแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เลือก ข้อจำกัดนี้มนุษย์อาจต้องพบกับความรู้สึกว่างเปล่า รู้สึกผิดและวิตกกังวล นอกจากนี้มนุษย์ควรดำรงอยู่โดยมีสติรับรู้อย่างแท้จริง เพื่อจะได้รู้ว่าชีวิตอยู่เพื่ออะไร ต้องการอะไร คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ตามความต้องการที่แท้จริงของตนเอง แต่มักจะรับรู้และแสดงความรู้สึกไปตามหน้ากากของสังคม และมักใช้ชีวิตตามความคาดหวังของสังคม ข้อคำนึงเหล่านี้เป็นแก่นสำคัญของนักเขียนที่มีชื่อเสียงอย่างตอยสลอย, ซาร์ต , เฮมมิงเวย์ , อาร์เกลอฟ , รอร์ด และฟรอสต์
ซาร์ต ได้กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่ผ่านมาแล้วไม่สำคัญ บุคคลสามาถเลือกที่จะทำในสิ่งที่ต้องการ การเลือกจะเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลตกลงที่จะเลือกและตกลงใจที่จะรับผิดชอบ” นิทเช่ นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวไว้ว่า “ มนุษย์ที่ดำรงอยู่อย่างมีอิสรภาพในการเลือก จะเป็นผู้ที่สมผัสกับศักยภาพของตนได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่มีเหตุผลว่าทำไมเขาจึงมีชีวิตอยู่ว่า “อะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามา ถ้าไม่ถึงกับทำให้เขาตาย สิ่งนั้นจะทำให้เขาเข้มแข็งยิ่งขึ้น”