วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ(กลุ่มที่5)

ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ


คุณลักษณะของผู้นำต่างๆจะมีไม่เท่ากัน

ในแต่ละสถานการณ์ และได้แบ่งคุณลักษณะผู้นำออกคุณลักษณะ 6 ประการของผู้นำ

จากผู้ตามได้ 6 ประการ คือ

1. มีแรงกระตุ้น
ผู้นำจะต้องมีแรงกระตุ้นที่จะทำงานให้สำเร็จ มีความยาก มากด้วยพลัง ผลักดัน ทำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยและแสดงความคิดริเริ่ม
2. อยากเป็นผู้นำ
ผู้นำต้องอยากนำคนอื่นและแสดงออกมาให้รู้ต้องมีความรับผิดชอบ
3. ซื่อสัตย์และมีคุณธรรม
ผู้นำจะต้องสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ ซื่อสัตย์ พูดคำไหนเป็นคำนั้น
4. มีความมั่นใจในตนเอง
ผู้นำต้องมีความมั่นใจตนเองและแสดงออกและชักจูงให้ผู้ตามไปในจุดมุ่งหมายและการตัดสินใจที่ถูกต้อง
5. ความเฉลียวฉลาด
ผู้นำจะต้องรับข่าวสารข้อมูลมากมาย ดังนั้น เขาจะต้องมีความสามารถในการสร้างวิสัยทัศน์ แก้ปัญหา และ ตัดสินใจให้ถูกต้อง
6. การรู้งาน
ผู้นำที่เก่งจะต้องมีความรู้ใน หน้าที่ตนเอง รอบรู้ รู้งาน เพื่อการ ตัดสินใจที่ถูกต้อง
ทฤษฎีไม้แข็ง x และทฤษฎีไม้นวม y
ทฤษฎี x เป็นด้านลบของคนที่ว่าคนเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยง ความรับผิดชอบ ถ้าอยากจะให้งานเสร็จต้องใช้ไม้แข็ง ทฤษฎี y เป็นด้านบวกที่คนไม่เกียจคร้าน รับผิดชอบ และพึงพอใจในการทำงาน ถ้าจะ ให้งานเสร็จก็เพียงแค่จูงใจให้ทำงานเท่านั้น
ทฤษฎีไม้แข็ง และทฤษฎีไม้นวม

ทฤษฎีไม้แข็ง x

1.คนงานโดยทั่วไปไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยง

2.คนงานจะต้องถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดไม่อย่างนั้นงานจะไม่เสร็จ
3.คนงานหาช่องที่จะเลี่ยงความรับผิด ชอบเท่าที่เป็นไปได้
4.คนงานไม่กระตือรือร้นที่จะทำงาน แต่ อยากมีความมั่นคงในชีวิต ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องถึงมือผู้บริหาร
ทฤษฎีไม้นวม y
1.คนงานมองงานแบบ สบาย

2.คนงานตัดสินใจทำงานเอง ควบคุมดูแลงานเองเพื่อให้เสร็จงาน

3.คนงานรับผิดชอบเอง

4.คนงานสามารถตัดสินปัญหาต่างๆได้เองโดยไม่จำเป็นต้องถึงมือผู้บริหาร

ทฤษฎีสองปัจจัย
1. ปัจจัยจูง เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติ เป็นตัวกระตุ้นให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล การได้รับการยอมรับนับถือ
2. 2.ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์
3. หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจ ในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น ปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล คือ เงินเดือน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา สถานะทางอาชีพ ฯ
4. จากทฤษฎีสองปัจจัย ทั้งสองด้านนี้ เป็นสิ่งที่คนต้องการ เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงานองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำให้คนเกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสำคัญกับแนวคิดที่ว่า เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้วยปัจจัยชนิดนี้จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ผลที่ตามมาก็คือ คนจะเกิดความพึงพอใจในงานและทำงานได้ประสิทธิภาพส่วนปัจจัยค้ำจุนหรือสุขศาสตร์ เป็นตัวป้องกันมิให้คนเกิดความไม่เป็นสุข หรือไม่พึงพอใจในงานสู่ความพร้อมที่จะทำงาน
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
1. ทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีวภาพของชาร์ลส์ ดาร์วิน การเปลี่ยนแปรงของสังคมมีการเปลี่ยนแปรงอย่างเป็นขั้นตอน โดยเปลี่ยนจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งที่มีการพัฒนา ก้าว หน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา เปลี่ยนแปรงจากสังคมที่มีรูปแบบเรียบง่ายสู่รูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญ ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสังคมที่มีความสมบูรณ์
2. ทฤษฎีความขัดแย้ง
ลิวอิส เอ. โคเซอร์ เป็นนักทฤษฎีความขัดแย้ง ที่มองว่า ความขัดแย้งก่อให้เกิดด้านบวกและด้านลบ ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมไม่มีสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีความสามัคคีอย่างสมบูรณ์เพราะความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ทั้งความเกลียดและความรักต่างมีความขัดแย้งทั้งสิ้น โคเซอร์มีความเห็นว่าความขัดแย้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปรงทางสังคม สามารถทำให้สังคมเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่จากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งได้
3. ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ เป็นผลจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่าโครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์
มาสโลว์ ได้ตั้งสมมติฐานว่ามนุษย์มีความต้องการ ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการ และความต้องการมีอยู่เสมอไม่สิ้นสุด
2. ความต้องการที่ได้รับการสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจสำหรับพฤติกรรมต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจพฤติกรรม
 3. ความต้องการของคนซ้ำซ้อนกัน บางทีความต้องการหนึ่งได้รับการตอบสนองยังไม่สิ้นสุดก็เกิดความต้องการด้านอื่นขึ้นอีก
4. ความต้องการของคนมีลำดับขั้นความสำคัญ กล่าวคือเมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนอง
ลำดับความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์ มี 5 ลำดับขั้น
1.ความต้องการด้านร่างกาย
2. ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ
4. ความต้องการยอมรับนับถือผู้อื่น
5. ความต้องการความเป็นตัวตนอันแท้จริงของตนเอง