ทฤษฏีว่าด้วยเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
การให้คำปรึกษา (Counseling)
กระบวนการทำความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อให้บุคคลนั้นมีความสามารถที่จะรับผิดชอบอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและนำไปจัดการด้วยตนเอง
สาระสำคัญของการให้คำปรึกษา
เป็นกระบวนการ
ช่วยเหลือบุคคลที่ประสบปัญหา
นำไปสู่การเผชิญปัญหาด้วยความมั่นใจ สู่ความงอกงาม
อัลเบิร์ต เอลลิส(Albert Ellis) ผู้สร้างทฤษฎีการบำบัดแบบเน้นเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม หรือที่เรียกว่า Rational Emotive Behavior Therapy (REBT). REBT มองว่า ความเชื่อ การประเมิน ปรัชญาของบุคคลเป็นตัวควบคุมความรู้สึกของบุคคลและก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์มากกว่าสภาพแวดล้อมภายนอก. เอลลิสมองว่า การเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมเป็นหนทางนำไปสู่การสุขภาพจิตดี ซึ่งเขาได้นำเสนอหลักการดังกล่านี้เป็น ครั้งแรกในปี 1950 และกลายมาเป็นพื้นฐานของการบำบัดแบบเน้นความคิดทั้งมวลในปัจจุบัน.
อัลเบิร์ต เอลลิส เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ.1913 ที่เมืองพิตส์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา เขาเป็นพี่ชายคนโตในพี่น้อง 3 คน น้องชายคนรองอายุห่างจากเขา 2 ปี และน้องสาวคนเล็กอายุห่างจากเขา 4 ปี ครอบครัวเลลิสซึ่งมีเชื้อสายยิว. พ่อของเอลลิสเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสมเร็จพอสมควร การเดินทางติดต่อธุรกิจทำให้พ่อของเอลิสห่างเหินจากครอบครัวและไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่กับลูกมากนัก
เอลลิสได้เล่าถึงแม่ของเขาว่าเป็นคนที่ชอบสาละวนอยู่กับตนเองและอารมณ์เปลี่ยนง่ายและชอบเอะอะเอ็ดตะโรหากใครไปขัดใจเข้า. เอลลิสเล่าว่า บ่อยครั้งที่ลูกๆไปโรงเรียนแล้วแม่ก็ยังไม่ตื่น และแม่ยังไม่กลับบ้านเมื่อเขาและน้องๆกลับมาจากโรงเรียน. ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เอลลิสในฐานะพี่ชายคนโตจึงต้องทำหน้าที่ดูแลน้องๆไปโดยปริยาย เขาลงทุนซื้อนาฬิกาปลุกด้วยเงินของตนเองเพื่อจะใช้ปลุกตนเองและน้องๆเพื่ออาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน. แม้ว่าความสมัพันธ์ในครอบครัวจะดูเหมือนห่างเหินกันแต่ก็ไม่ถึงขนาดจะทำให้เขาและน้องรู้สึกซึมเศร้า ตรงกันข้ามมันเหมือนกับสถานการณ์บังคับให้เอลลิสและน้องๆพยายามหางานทำเพื่อช่วยเหลือครอบครัว.
เอลลิสในช่วงวัยรุ่น ไม่ค่อยจะมีสุขภาพแข็งแรงนัก หลายครั้งที่เขาต้องเจ็บป่วยถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล. ตอนอายุ 5 ขวบ เอลลิสต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะมีโรคเกี่ยวกับไตและมีปัญหาเกี่ยวกับต่อทอลซิลถึงขนาดต้องผ่าตัด เอลลิสเล่าว่า ช่วงอายุ 5-7 ขวบ เขาต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลถึง 8 ครั้ง ในการป่วยครั้งหลังๆ พ่อแม่ได้ให้ความใส่ใจเขามากนัก ไม่มีแม้แต่คำปลอบโยนหรือให้กำลังใจ เหตุการณ์ดังกล่าทำให้เอลลิสได้เรียนรู้ที่จะเผชิญโชคร้ายด้วยตนเองโดยไม่คาดหวังความช่วยเหลือจากคนอื่นจนกินไป.
เอลลิสเข้าสู่งานด้านจิตวิทยาคลินิกหลังจากจบการศึกษาด้านธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค โดยหลังจบการเขาทำงานด้านธุรกิจเป็นระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นก็ผันตัวเองมาเป็นนักเขียนนวนิยาย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งทำให้เขาต้องกลับคิดใหม่คิดว่า บางทีเขาอาจจะเหมาะกับงานเขียนแนวอื่นมากกว่านวนิยายก็ได้ เขาจึงเบนไปสร้างงานเขียนเกี่ยวกับปัญหาเพศสัมพันธ์ซึ่งทำให้เขาเป็นนักเขียนที่เป็นที่รู้จักพอสมควรที่เดียว. ด้วยเหตุที่ไม่มีนักเขียนแนวนี้มากนักทำให้ทำให้เขาต้องแสวงหาคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายท่านในด้านนี้. การต้องขอคำปรึกษาอยู่บ่อยๆทำให้เขางานเขียนของเขาได้รับการตอบรับและทำให้เขาพบว่า สายงานด้านจิตวิทยาคลินิกเป็นงานหนึ่งที่เขาน่าจะทำได้ดี.
ปี 1942 เอลลิสเข้าเรียนปริญญาเองด้านจิตวิทยาคลินิก ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและเข้ารับการฝึกฝนเป็นนักจิตวิทยาสายจิตวิเคราะห์. นับตั้งแต่จบปริญญาโทด้านจิตวิทยาคลิก จากวิทยาลัยครูโคลัมเบีย ในเดือนมิถุนายน ปี 1943 หลังจบการศึกษาเอลลิสก็เริ่มทำงานล่วงเวลาไปด้วยในระหว่างเรียนปริญญาเอกไปพร้อมกัน เป็นไปได้ว่าช่วงนั้น นิวยอร์คยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับใบประกอบวิชาชีพนักจิตวิทยา.
เอลลิสเริ่มพิมพ์เผยแพร่งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ ก่อนที่เขาจะจบปริญญาเอก. ยกตัวอย่างงานเขียนไปปี 1946 เขาได้เขียนวิจารณ์ความน่าเชื่อถือของแบบทดสอบบุคลิกภาพแบบใช้ปากาและดินสอ. เขาสรุปว่า แบบทดสอบบุคลิกภาพ Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI) เท่านั้นที่มีมาตรฐานพอที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการทำวิจัยได้.
หลังจากจบปริญญาเอก เอลลิสเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อเป็นนักจิตวิเคราะห์. เช่นเดียวกับนักจิตวิทยาส่วนใหญ่ในสมัยนั้นซึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์. ในระยะเวลาสั้นหลังจบปริญญาเอกในปี 1947 เข้ารับการวิเคราะรายบุคคลกับริชาร์ด ฮัลเบค(Richard Hulbeck) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ที่ได้รับการฝึกฝนโดยตรงจากสถาบันคาเรน ฮอร์นาย. ฮอร์นายเป็นที่คนที่มีอิทธิพลแนวคิดอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของ อัลเฟรด แอดเลอร์ อีริคฟรอมม์ และแฮร์รี สแตก ซัลลิแวน.
จากการมีประสบการณ์ การอ่านของเขาที่ได้รับอิทธิพลอย่างมาก และธรรมชาติของจิตวิเคราะห์ที่มี่ได้มีพื้นฐานอยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์ทำให้เขาแยกตัวเองออกมาจากจิตวิเคราะห์ และเรียกตัวเองใหม่ว่า นักจิตวิเคราะห์แบบเน้นเหตุผล ในปี 1953. มาถึงตอนนี้ เอลลิสอุทิศตนให้กับการพัฒนาการบำบัดแบบใหม่ที่เขามองว่าเป็นเชิงรุกและตรงเป้ามากกว่า.
ในปี 1955 เขาได้เผยแพร่การบำบัดแบบใหม่ที่เรียกว่า การบำบัดแบบเน้นเหตุผล และอารมณ์ ซึ่งเน้นให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจและแสดงพฤติกรรมตามที่เข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาซึ่งประกอบไปด้วย ความเชื่อซึ่งนำไปสู่ความทุกข์ทางอารมณ์. แนวคิดดังกล่าวนี้ เน้นการทำงานเพื่อเพื่อเปลี่ยนแปลง ความเชื่อและพฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อตนเอง โดยการทำให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจความไม่สมเหตุสมผลและความจำกัดของความเชื่อและพฤติกรรมดังกล่าว.
ปีถัดมา เอลลิสเริ่มสอนเทคนิคใหม่ของเขาให้กับนักบำบัดคนอื่นๆ โดยปี 1957 ได้ตั้งกรอบแนวคิดของทฤษฎีบำบัดแบบเน้นความคิดและพฤติกรรมขึ้นมาอย่างเป็นทางการโดยเสนอว่า ผู้บำบัดจะช่วยผู้คนปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของเขาในรูปของการรักษาโรคประสาท. สองปีต่อมา เอลลิสได้เขียนหนังสือชื่อ How to Live with a Neurotic ซึ่งนำเสนอแนวคิดทฤษฎีที่ละเอียดมากขึ้น. ปีต่อมาเขาได้นำเสนอแนวคิดใหม่นี้ในงานประชุมของ สมาคมจิตวิทยาอเมริกันที่ชิคาโก. ในสมัยนั้น จิตวิทยาการทดลองจะสนใจแนวคิดพฤติกรรมนิยม และจิตวิทยาคลินิกแนวคิดจิตวิเคราะห์ เช่นของ ฟรอยด์ จุง แอดเลอร์ และเพิร์ล เป็นต้น”
แม้ว่าแนวคิดของเอลลิสจะเน้นวิธีการเกี่ยวความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม แต่จุดเน้นด้านความคิดของเขาก็กระตุ้นบุคคลด้วยข้อยกเว้นที่เป็นได้ของนักจิตวิทยาแนวแอดเลอร์. เพราะฉะนั้น เขาจึงมักจะได้รับการต่อต้านในการประชุมเชิงวิชาชีพและในงานเขียน น่าสนใจว่า ในการประชุมของสมาคมจิตวิทยาอเมริกาหลายครั้ง เฟเดอริก เพิร์ล ผู้ตั้งการบำบัดแนวเกสตัลมักจะอ้างถึงแนวคิดความเป็นเหตุผล(Rationality)ของเอลลิสในเชิงเหน็บแนม แต่ก็ไม่เคยเหน็บแนมเรื่ององค์ประกอบด้านประสบการณ์และพฤติกรรมของทฤษฎีการบำบัดแบบเน้นเหตุผลและอารมณ์เลย.
อัลเบิร์ต เอลลิส(Albert Ellis) ผู้สร้างทฤษฎีการบำบัดแบบเน้นเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม หรือที่เรียกว่า Rational Emotive Behavior Therapy (REBT). REBT มองว่า ความเชื่อ การประเมิน ปรัชญาของบุคคลเป็นตัวควบคุมความรู้สึกของบุคคลและก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์มากกว่าสภาพแวดล้อมภายนอก. เอลลิสมองว่า การเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมเป็นหนทางนำไปสู่การสุขภาพจิตดี ซึ่งเขาได้นำเสนอหลักการดังกล่านี้เป็น ครั้งแรกในปี 1950 และกลายมาเป็นพื้นฐานของการบำบัดแบบเน้นความคิดทั้งมวลในปัจจุบัน.
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม
เป็น กระบวนการของสัมพันธภาพในการช่วยเหลือแบบกลุ่มที่ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยนแปลงความคิดความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลในสถานการณ์ที่ไม่พึงพอใจไปสู่ความคิดความเชื่อที่มีเหตุผล โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้สำรวจอารมณ์ที่ไม่เป็นสุขของตนเองเพื่อให้สมาชิกตระหนักว่าอารมณ์ที่ไม่เป็นสุขของตนเกิดจากความคิดความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล และเปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนโดยผ่านกระบวนการของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันของสมาชิก ให้สมาชิกได้ร่วมมือกันฝึกการใช้ความคิดความเชื่ออย่างมีเหตุผล สามารถยอมรับความเป็นจริงในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนมัธยม) พบว่านักเรียนที่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม มีคะแนนความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมหลังการเข้าร่วมการปรึกษาสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการปรึกษา แสดงให้เห็นว่าการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมสามารถทำให้กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลให้เป็นความคิดที่มีเหตุผล อันส่งผลให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมมากขึ้น
การคิดและพฤติกรรม
ไม่น่าเชื่อว่าการคิดของคนทำให้เกิดได้ทั้งความทุกข์ และความสุขได้ คนที่จิตใจไม่ดีก็มักจะคิดให้ตัวเองเป็นทุกข์ได้ จิตใจที่ดีก็คิดให้ตัวเองเป็นสุขได้ ที่เรามักได้ยินกันมากเช่นการคิดในเชิงบวก หรือคิดในสิ่งที่ดีๆ ให้กับตนเอง แม้จะมีวิกฤติหรือเหตุการณ์จะเลวร้ายอย่างไรก็ยังรักษาสมดุลย์แห่งจิตใจไว้ได้ และคิดให้เป็นโอกาสที่จะทำอะไรที่ท้าทาย ถ้าคิดไม่ดีบ่อยๆ อาจจะทำให้จิตใจหดหู่ซึมเศร้า หมดกำลังใจได้ จริงแล้วก็อยู่ที่การกระทำของตัวเอง ถ้าหากพิจารณากันตามหลักเหตุผล
ในทางจิตวิทยา ตามทฤษฏีทางพฤติกรรมศาสตร์คิดขึ้นโดยนักจิตวิทยา อัลเบิร์ต แอลลิส (Albert Ellis) ที่เรียกว่าทฤษฏี ABC โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่า เมื่อมี A เป็นความคิด ตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้า แล้วเกิดความรู้สึก อารมณ์ (B) และ C เป็นผลของอารมณ์ ที่ตอบสนอง หรือพฤติกรรมอาจมีได้ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม จากทฤษฎีนี้สรุปแนวคิดได้คือ
ความคิด —>ความรู้สึก—>พฤติกรรม
เช่นได้ยินเสียงระเบิดดัง จะมีความคิดเกิดขึ้นว่าอะไรเป็นสาเหตุ ได้หลายอย่าง เช่นเกิดจากผู้ก่อการร้ายวางระเบิด ลูกโป่งระเบิด งานฉลองจุดพลุ เป็นต้น แต่ละรายการอาจรู้สึกกลัว เฉยๆ หรือครื้นเครงเป็นต้น อาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมวิ่งหลบไปในที่ปลอดภัย ไปเตรียมอาวุธ ออกไปดู เป็นต้น จากทฤษฎีพอสรุปได้ว่าสุขทุกข์ อยู่ที่การคิด คิดอะไรได้อย่างนั้น แล้วเราจะคิดในทางสร้างสรรค์ คิดแต่ในสิ่งดีให้กับตนเองไม่ดีกว่าหรือ เหมือนกับว่า เมื่อท่านยิ้มให้กับโลก แล้วโลกจะยิ้มกับท่าน
กลางปี1950 อัลเบริ์ด เอลลิส นักจิตวิทยาคลินิกซึ่งได้รับการฝึกฝนมาทางด้านจิตวิเคราะห์ได้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าที่ช้าของผู้รับการบำบัดของเขา. เขาสังเกตเห็นว่า พวกเขามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อพวกเขาเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของเขาเกี่ยวกับตัวเขาเอง ปัญหาของเขาเอง และโลก. เอลลิสให้เหตุผลว่า การบำบัดควรก้าวหน้าไปมากกว่านี้ถ้าเน้นไปที่ความเชื่อของผู้รับการบำบัด ดังนั้น เขาจึงได้สร้างวิธีการบำบัดซึ่งปัจจุบันเรียกว่า การบำบัดแบบเน้นเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม(Rational Emotive Behaviour Therapy)REBT แต่เดิมเรียกว่า Rational Therapy ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น Rational-Emotive Therapy และในปี 1990 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Rational Emotive Behavior Therapy. REBT เป็นหนึ่งในทฤษฎีการบำบัดแบบเน้นความคิดและพฤติกรรม ซึ่งถึงแม้ว่าจะต่างคนต่างพัฒนาแต่ก็มีความคล้ายคลึงกันหลายๆอย่าง เช่น Cognitive Therapy (CT), พัฒนาโดยแอรอน เบ็ค จิตแพทย์ ในปี 1960’s. REBT และ CT ได้ร่วมกันการสร้างพื้นฐานของกลุ่มการบำบัดอันเป็นที่รู้จักทั่วกันว่า ‘Cognitive-Behaviour Therapy’. กว่า 50 ปีที่ REBT ได้มีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง.
ทฤษฎีว่าด้วยเหตุผล(Theory of causation)REBT ไม่ใช่ชุดของเทคนิคต่างๆเท่านั้น แต่ยังเป็นทฤษฎีที่ประมวลความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เอาไว้อีกด้วย. REBT ได้นำเสนอคำอธิบายชีวจิตสังคมเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผล เช่น องค์รวมของปัจจัยต่างทั้งทางด้านชีวิวิทยา จิตวิทยา และสังคมซึ่งมีผลกระทบต่อความรู้สึกและพฤติกรรมของมนุษย์หลักฐานส่วนใหญ่ของ REBT ซึ่งสอดคล้องอยู่กับทฤษฎีด้านความคิดและพฤติกรรมอื่น แสดงให้เห็นว่า อารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลมาจากสิ่งที่พวกเขาคิด สันนาฐาน หรือเชื่อ(เกี่ยวกับตัวเขาเอง ผู้อื่น และสิ่งต่างๆในโลกนี้). ไม่ใช้ตัวของสถานการณ์เอง แต่เป็นความเชื่อเกี่ยวกับสถานการณ์ที่พวกเขาได้ประสบที่เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลและรู้สึกและแสดงออกย่างไร. อย่างไรก็ตาม REBT ให้เหตุผลว่า ชีววิทยาของบุคคลก็ส่งผลต่อความรู้สึกและพฤติกรรมของบุคคลด้วยเช่นกัน ที่สำคัญคือ ต้องไม่ลืมว่า ผู้บำบัดเองก็มีข้อจำกัดในการช่วยให้บุคคลเปลี่ยนแปลง. ระบบความเชื่อของบุคคลถูกมองว่าเป็นผลมาจากทั้งการสืบทอดทางชีวิวิทยาและการเรียนรู้จากการดำรงชีวิต.ABC model ของเอลลิส นับเป็นวิธีการที่เป็นประโยชน์ในการอธิบายบทบาทของความคิด. ในกรอบแนวคิดนี้ ‘A’ เป็นตัวแทนของเหตุการณ์หรือประสบการณ์, และการลงความเห็น (inferences) หรือการตีความหมายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น. ‘B’ แทนความเชื่อเชิงประเมินผลซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการลงความเห็น. ‘C’ แทน อารมณ์หรือพฤติกรรมเกิดขึ้นหลังจากความเชื่อเชิงประเมินผลดังกล่าว.นี่คือตัวอย่างของ เหตุการณ์ในแง่ของอารมณ์ซึ่งมีเกิดขึ้นโดยบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะซึมเศร้า เมื่อเขาตีความหมายการกระทำของบุคคลอื่นผิดไปจากความเป็นจริงA1. เหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้น(Activating even) –ส่งที่เกิดขึ้น:เพื่อนเดินผ่านฉันไปโดยไม่สนใจฉันเลย. A2. การลงความเห็น(Inferences) เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น:เขาไม่สนใจฉัน. เขาไม่ชอบฉัน.B. ความเชื่อ (Beliefs) เกี่ยวกับ A: ฉันไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อน – ดังนั้น ฉันจึงเป็นคนไร้ค่า. (การประเมิน)C. การตอบสนอง:อารมณ์: รู้สึกซึมเศร้า.พฤติกรรม(Behaviours): หลบหน้าผู้คนทั่วไป. หมายเหตุ ‘A’ อย่างเดียวไม่ก่อให้เกิด ‘C’ – ‘A’ ส่งผลกระทบต่อ ‘B’, และจากนั้น ‘B’ ก็ส่งผลต่อ ‘C’., ABC ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นเอกเทศ: มันวิ่งต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่, with a ‘C’ often becoming the ‘A’ of another episode – พวกเราสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองแลแสดงการตอบสนอง. ยกตัวอย่าง บุคคลในตัวอย่างข้างต้นจะสังเกตการณ์ไม่หลีกหนีผู้คนของเขา ตีความว่าเป็นความอ่อนแอ และทำความรู้สึกของตนเองตกต่ำหมายเหตุ, เช่นเดียวกัน, คือความเชื่อส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือการตระหนักรู้ในระดับจิตสำนึก. มันกลายเป็นนิสัยเคยชินและอัตโนมัติ, โดยปกติมักประกอบด้วยกฎที่จำเป็นเกี่ยวกับวิถีทางที่โลกและชีวิตจะเป็น. ด้วยการลงมือปฏิบัติ, แม้ว่า, บุคคลสามารถเรียนรู้ที่จะปกปิดแกนหลักของความเชื่อที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก.
ทฤษฎีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง(Theory of change)ตามแนวคิดของ REBT ความเปลี่ยนแปลงมีหลายระดับ. ยกตัวอย่าง ถ้าคุณวิตกเพราะคิดว่าตนเองไม้ได้รับการยอมรับ. ระดับผิวเผินที่คุณสามารถรู้สึกดีขึ้นได้โดยการเปลี่ยนเคมีในร่างกายของคุณ(เช่น ออกกำลังกาย เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และการฝึกสมาธิ) ด้วยการเปลี่ยนสถานการณ์ (เช่น หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้อื่น) หรือด้วยการเปลี่ยนแปลงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์(เช่น ทำให้ตนเองกังวลน้อยลงโดยการสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเองว่าการไม่ได้รับการยอมรับไม่ได้เกิดขึ้น).สำหรับบุคคลที่มีความรู้สึกดีเกินกว่าที่ควรจะเป็น– นั่นคือ, การบรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐานและยั่งยืน – เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงแกนหลักของความเชื่อซึ่งสร้างความยุ่งยากสำหรับพวกเขาในขอบเขตของสถานการณ์. ดังตัวอย่างข้างบน, คุณต้องยอมรับว่ามันอาจเกิดขึ้นได้มากกว่าการสร้างความรู้สึกมั่นใจให้กับตนเองว่าการถูกปฏิเสธจะไม่เกิดขึ้น แต่จัดการกับความเชื่อแกนหลักที่ว่าคุณจะต้องได้รับการยอมรับและจะต้องไม่ได้รับการปฏิเสธ. นักบำบัดแนวREBT ยอมรับว่า บางครั้ง ผู้รับบริการบางคนก็ต้องการการเปลี่ยนแปลงในระดับผิวเผินเท่านั้น แต่มุ่งที่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานตรงไหนก็ตามที่เป็นไปได้. การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ REBT จะต้องใช้ระดับของแผนการด้านความคิด อารมณ์และพฤติกรรมกรรมแตกต่างกันไป
ความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล คืออะไร ?พวกเราได้เห็นแล้วว่าสิ่งที่พวกเราคิดเป็นตัวกำหนดความรู้สึกของเรา. แต่ความคิดแบบไหนละที่เป็นสร้างปัญหาให้กับมนุษย์
คำจำกัดความลักษณะของ ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล มีดังนี้:1. ขัดขวางบุคคลไม่ให้บรรลุเป้าหมาย, ก่อให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรงซึ่งฝังแน่นและก่อให้เกิดความเครียดและติดขัด, และนำมาซึ่งพฤติกรรมทำลายตนเอง ผู้อื่น และหลายสิ่งในชีวิต2. บิดเบือนความจริง (ตีความสิ่งที่เกิดขึ้นผิดไปจากความเป็นจริงและไม่มีหลักฐานสนับสนุน); 3. ประเมินตนเอง ผู้อื่น และโลกในลักษะที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล: ความต้องการ (demandingness), การมองในแง่ร้าย ( awfulising),ไม่อดทนต่อความยากลำบาก( discomfort-intolerance) และมองคนแบบแบ่งแยก(people-rating);เมื่อพูดคุยกับผู้รับการบำบัด พวกเรามักมองว่าเป็น ความเชื่อแบบทำลายตนเอง มากกว่า ไม่สมเหตุสมผล เพื่อเน้นว่า เหตุผลสำคัญสำหรับการเปลี่ยนความเชื่อเนื่องจากมันส่งผลลบต่อชีวิตของพวกเขา.
ความทุกข์ 2 ประเภทREBT ชี้ว่ามนุษย์จะทำลายตนเองหรือทำให้ตนเองได้รับความทุกข์ได้ในสองลักษณะ คือ (1) โดยการยึดถือความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับตนเอง (ego disturbance) หรือ (2) โดยการยึดถือความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับความสุขสบายทางอารมณ์หรือทางกาย (discomfort disturbance). บ่อยครั้งที่ความทุกข์ทั้งสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆกัน. บุคคลอาจจะอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับทั้งตัวเขาเองและโอกาสของเขาเอง แม้ว่าตนเองและสิ่งอื่นๆจะมีอิทธิพลมากกว่า
ความทุกข์เพราะอัตตา(Ego disturbance) หมายถึง ความวิตกกังวลเกี่ยวภาพลักษณ์ของตนเอง. ความทุกข์ชนิดนี้เป็นผลมาจากการยึดถือความต้องการที่เกี่ยวกับตนเอง เช่น ฉันจะต้อง…ได้ดี ฉันต้องไม่ล้มเหลว ต้องได้รับการยอมรับจากคนอื่น; ตามมาด้วยการประเมินตนเองในแง่ลบ อย่างเช่น: ถ้าฉันล้มเหลว ฉันจะไม่ได้รับการยอมรับ เป็นต้น.นั่นแสดงว่าฉันไม้ดีพอ และอื่น. ความเชื่อเหล่านี้ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับตนเอง – ความตึงเครียดทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้ว่าตนเองหรือคุณค่าในตนเองถูกคุกคาม – และนำไปสู่ปัญหาอื่น อย่างเช่น การหลีกหนีสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดความล้มเหลว การไม่ได้รับการยออมรับ เป็นต้น ที่อาจเกิดขึ้น; แสวงหาการยอมรับจากบุคคลอื่น; และไม่กล้าแสดงออกเพราะกลัวในสิ่งที่คนอื่นอาจจะคิด.
ทุกข์เพราะไม่สุขสบาย(Discomfort disturbance) เป็นผลมาจากความต้องการที่มีต่อบุคคลอื่น (เช่น คนอื่นต้องทำดีกับฉัน) และเกี่ยวกับโลก (เช่น สิงที่เกิดขึ้นในชีวิตของฉันจะต้องดำเนินในแบบที่ฉันต้องการให้เป็น’). ความทุกข์เพราะไม่สมใจแยกออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะได้ ดังนี้:
ความอดทนต่อความคับข้องใจต่ำ(Low frustration-tolerance=LFT) เป็นผลมาจากความปรารถนาว่า ความคับข้องใจต้องไม่เกิดขึ้น, ตามด้วยความเสียหายหากเป็นเช่นนั้น. มันอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า: ‘โลกต้องทำให้รู้เบิกบานและมีความสุข;’ หรือ: ‘สิ่งต่างๆควรจะเป็นอย่างที่ฉันอยากให้มันเป็น, และฉันทนไม่ได้ถ้ามันไม่เป็นอย่างนั้น.’
ความอดทนต่อความไม่สุขสบายต่ำ(Low discomfort-tolerance=LDT) เกิดจากความปรารถนาว่า ตนเองต้องไม่ประสบกับความไม่สุขสบายทางอารมณ์หรือทางกาย, ด้วยว่าสิ่งเลวร้ายทั้งหลายจะเกิดขึ้นหากไม่มีความสุขสบาย. มันอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่ว่า: ‘ฉันควรจะรู้สึกเป็นสุขตลอดเวลา;’ ‘ฉันต้องรู้สึกสุขสบายตลอดเวลา;’ ‘ความสุขสบายและความเจ็บปวดเป็นสิ่งเลวร้ายและไม่สามารถอดทนได้, และฉันจะต้องหลีกเลี่ยงไปให้พ้น;’ ‘ฉันต้องไม่รู้สึกแย่;’ และอื่นๆ.ทั้ง LFT และ LDT – คล้ายคลึงกันและเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด (โดยปกติ การแสดงออกอย่างเดียวกันใช้หมายถึงทั้งสองอย่าง). ความทุกข์เพราะไม่สมใจนำมาซึ่งปัญหา เช่น : ‘ความกังวลเกี่ยวกับความไม่สุขสบาย (Discomfort anxiety)’ (ความตึงเครียดทางอารมณ์ที่มีผลมาจากการรับรู้ว่า ความสุขสบายของตนหรือชีวิตถูกคุกคาม).ความกังวล(Worrying) (‘เพราะ … มันเป็นเรื่องที่เลวร้าย, และฉันทนไม่ได้, ฉันจะต้องกับมันถ้าเกิดขึ้นมาจริงๆ).การหลีกเลี่ยง(Avoidance) เหตุการณ์และโอกาสซึ่งถูกมองว่า “ยากมาก”ที่จะรับภาระหรือ “ยากเกินไป”ที่จะเอาชนะ.ความกังวลในระดับที่รองลงมา(Secondary disturbance) (วุ่นวายในเกี่ยวปัญหาที่ตนเองมีอยู่, เช่น กังวลเกี่ยวกับความกังวลของตนเอง, ซึมเศร้าเกี่ยวกับความรู้สึกซึมเศร้าของตนเอง, และอื่นๆ).ความสนุกสนานในระยะเวลาสั้นๆ– การแสวงหาความพึงพอใจในระยะเวลาสั้นๆเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดอันนำมาซึ่งความเครียดในระยะยาว – ยกตัวอย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล, เสพสารเสพติด หรือบริโภคอาหารเกินความจำเป็น; ดูโทรทัศน์มากกว่าออกกำลังกาย; มีเพศสัมพันธ์ที่เสียง; ใช้จ่ายสิ้นเปลืองเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น.การผัดผ่อน(Procrastination) – หลีกหนีงานที่ยากและสถานการณ์ที่ไม่น่าพึงใจ.มองอะไรในแง่ลบและชอบบ่น(Negativity and complaining) – รู้สึกเครียดกับอุปสรรคและความล้มเหลวที่เล็กน้อย, .ให้ความสำคัญกับความไม่ยุติธรรมจนเกินพอดี และมีแนวโน้มที่ชอบเปรียบเทียบระหว่างโอกาสของตนเองและผู้อื่น.กฎต่างๆที่บุคคลดำรงชีวิตอยู่โดยสิ่งสำคัญที่พวกเราคิดในสถานการณ์หนึ่งคือสิ่งที่พวกเรารู้กันว่า ‘ความเชื่อแกนหลัก(core beliefs)’, อันเป็นกฎที่สำคัญที่กำหนดว่าบุคคลจะตองสนองกับเหตุการณ์และโอกาสโดยทั่วไปในชีวิตเขาอย่างไร. เอลลิส เสนอว่า ความเชื่อแกนหลักเพียงไม่กี่ข้อเหล่านี้เป็นสาเหตุของอารมณ์และพฤติกรรมที่สิ้นหวัง. นี่คือตัวอย่างของความกฎในการดำรงชีวิตดังกล่าว:1. ฉันต้องได้รับความรักและการยอมรับจากบุคคลที่ฉันให้ความสำคัญ– และฉันต้องไม่พบการไม่ยอมรับจากทุกคน.2. ฉันต้องมีคุณค่า, ประสบความสำเร็จในทุกเรื่องที่ฉันทำ, และต้องไม่ผิดพลาด.3. คนอื่นๆต้องทำอะไรถูกต้องเสมอ. หากพวกเขาทำอะไรที่น่ารังเกียจ, ไม่ยุติธรรมหรือเห็นแก่ตัว, พวกเขาจะต้องถูกตำหนิหรือลงโทษ.4. สิ่งต่างๆจะต้องเป็นไปตามที่ฉันต้องการอยากให้เป็น, ไม่เช่นนั้น ชีวิตกำลังตกลงอยู่ในภาวะวิกฤต.5. ความทุกข์ของฉันเกดมาจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของฉัน – ดังนั้น จึงมีอยู่ไม่อย่างเท่านั้นที่จะทำให้ฉันรู้สึกดีขึ้น.6. ฉันต้องกังวลในสิ่งที่อาจจะเป็นอันตราย, ไม่น่าพึงใจหรือทำให้เกิดการต่อสู้ดิ้นรน – ไม่เช่นนั้น มันอาจจะเกิดขึ้น.7. เพราะชีวิตของฉันมีเรื่องยุ่งยากมากพออยู่แล้ว, ฉันต้องหลีกเลี่ยงความยากลำบาก, ความไม่น่าพึงใจ, ความรับผิดชอบ.8. ทุกคนต้องพึ่งพิงบุคคลที่แข็งแรงกว่าเขามากกว่าตัวเขาเอง.9. เหตุการณ์ในอดีตเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดกับฉัน – และเหตุการณ์เหล่านั้นยังคนส่งผลต่อความรู้สึกและพฤติกรรมของฉันจวบจนทุกวันนี้.10. ฉันควรจะวุ่นวายใจเมื่อคนอื่นๆปัญหาและรู้สึกไม่เป็นสุขไปด้วยเมื่อเขาเสียใจ.11. ฉันไม่ควรที่จะรู้สึกไม่สบายและเจ็บปวด – ฉันไม่สามารถทนได้และต้องหลีกให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้.12. ทุกปัญหาจะต้องมีวิธีแก้ไขที่เยี่ยมยอด – และเป็นสิ่งที่เกินจะอดทนได้หากบุคคลหาวิธีที่ว่านั้นไม่เจอ.
ความเชื่อเชิงประเมินผล 4 ประเภทความเชื่อแกนหลักดังรายการข้างต้นนี้มีเชื้อของความจริงอยู่ตัวมันเอง. ความรัก การยอมรับ ไม่ใช่สิ่งดีๆที่จะได้รับหรือ? มันไม่ดีกว่าหรือที่จะประสบความสำเร็จ, ได้รับการปฏิบัติจากคนอื่นเป็นอย่างดี, และพบวิธีการแก้ปัญหาที่เยี่ยมยอด? หมายเหตุ แม้ว่า, วิธีการที่ความเชื่อแกนหลักส่วนใหญ่ถูกเรียก: สิ่งทั้งปวงที่ยกเว้นเพียงเล็กน้อยเรียกว่า ความอยาก (demands) – อธิบายลักษณะได้โดยคำว่า ‘ควรจะ(should)’, ‘ต้อง(must)’, ‘จำเป็น(need)’. บางอย่างประกอบด้วยความเชื่อหลายชนิดซึ่งจะกล่าวเพียงสั้นๆ. REBT เสนอว่า ความคิดเชิงประเมินผลซึ่งใช้ไม่ได้สำหรับมนุษย์นั้นนั้นมีอยู่ 4 ประเภท:
ความอยาก(Demandingness). หรือที่เอลลิสเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘musturbation’, ความอยาก หมายถึง วิธีการที่บุคคลจะได้มาซึ่งสิ่งที่ควรจะเป็นควรจะเป็นอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional shoulds) และสิ่งที่จะต้องได้ต้องเป็นอย่างสมบูรณ์แบบ(absolutistic musts) – ความเชื่อว่าสิ่งต่างๆจะต้อง/ต้องไม่เกิดขึ้น, และสถานการณ์ (เช่น ความสำเร็จ ความรัก การยอมรับ) เป็นความจำเป็นที่ขาดเสียมิได้. ความอยาก เป็นตัวบ่งบอก ‘กฎของจักรวาล’ ที่จะต้องยึดถือ. ความอยากอาจเป็นได้ทั้งภายในภายนอก. REBT ชี้ว่า musts มีอยู่ 3 ประเภท คือ :1. ความอยากเกี่ยวกับตนเอง;2. ความอยากเกี่ยวกับคนอื่น;3. ความอยากเกี่ยวกับโลก.ความอยากเกี่ยวกับตนเองนำไปสู่ความทุกข์เพราะอัตตา(ego disturbance); ความอยากเกี่ยวกับคนอื่นนำไปสู่ความทุกข์เพราะไม่สุขสบาย (discomfort disturbance). นอกจาก จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อแกนหลักแล้ว, ความอยากยังเกิดขึ้นเพราะความเชื่อเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงอีกด้วย. ยกตัวอย่าง, ความเชื่อแกนหลักอย่างเช่น: ‘บุคคลควรจะในรูปแบบที่ถูกต้องและเหมาะสมอยู่ตลอด’ อาจนำไปสู่ความเชื่อที่เฉพาะเจาะจงว่า: ‘เขาไม่ควรทำแบบนี้อีก’.การเกิดขึ้นของความอยากที่บุคคลมีต่อตนเอง ผู้อื่น และโลก แบ่งได้เป็นความคิดเชิงประเมินผล(evaluative thinking) 3 ประเภท ความหวาดกลัว(awfulising) ความไม่อดทนต่อความไม่สุขสบาย(discomfort-intolerance) และ การประเมินตนเองและผู้อื่น(self/other-rating).
ความหวาดกลัว(Awfulising) เกิดขึ้นเมื่อพวกเราปรุงแต่งผลลัพธ์ของเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจนเกินจริง; มองในแง่ร้ายว่ามันอาจจะเกิดขึ้นอีก. ความหวาดกลัว อธิบายได้ด้วยคำว่า ‘น่าหวาดกลัว’, ‘เลวร้าย’, ‘น่าสยดสยอง’.
ความไม่อดทนต่อความไม่สุขสบาย(Discomfort intolerance), โดยปกติ หมายถึง ‘ทนไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว (can’t-stand-it-it is)’, อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่าไม่สามารถที่จะแบกรับโอกาสและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อีกต่อไป. โดยปกติมักจะตามด้วยความรู้สึกหวาดกลัวและเต็มไปด้วยความอยากสิ่งต่างๆที่ยังไม่เกิดขึ้น.
การประเมินคน(People-rating) หมายถึง กระบวนการการประเมินตนเองและผู้อื่น; หรืออีกนัยหนึ่ง, การตัดสินค่านิยมและคุณค่าของบุคคล. มันเป็นตัวแทนของปรุงแต่งที่เกินความจริงจากการที่บุคคลประเมินลักษณะนิสัย(trait), พฤติกรรม(behavior) หรือการแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับมาตรฐานของการไร้ค่าหรือมีคุณค่า. จากนั้น มันจะถูกนำไปใช้กับการประเมินบุคคลโดยรวม– เช่น. ‘ฉันทำสิ่งที่เลว, ดังนั้น ฉันเป็นคนเลว.’ การประเมินคนนำไปสู่การทำให้ตนเองรู้สึกด้อยค่า (self-downing), ซึมเศร้า (depression), การปกป้องตนเอง (defensiveness), การโอ้อวด(grandiosity), ความไม่เป็นมิตร(hostility), or หรือการกังวลการยอมรับหรือถูกปฏิเสธจนเกินพอดี, และเป็นปัจจัยสำคัญของความทุกข์เพราะอัตตา(ego disturbance).ใน REBT, ความอยาก (demandingness) โดยทั่วถูกมองว่าเป็นความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลชนิดหลักประเภทหนึ่ง, ด้วยสิ่ง 3 ชนิดนอกนี้เกิดจากความเชื่อดังกล่าว. ยกตัวอย่าง, คุณมักจะประเมินตนเองว่า ‘ไร้ค่า’ ถ้าทำอะไรบางอย่างล้มเหลว ถ้าคุณเชื่อว่าคุณ ‘ต้อง’ ประสบความสำเร็จเสมอ; หรือพียงแต่คุณมีแนวโน้มที่จะมองว่าความรู้สึกไม่สุขสบายเป็นสิ่งที่หนักเกินจะแบกรับ เพราะคุณเชื่อว่า คุณ ‘ต้อง’ไม่รู้สึกไม่สุขสบาย. ตามประสบการณ์ข้าพเจ้า, ดูเหมือนว่าเกือบทุกครั้งที่ความต้องการเป็นสาเหตุของปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมของบุคคล; มีบางครั้งเท่านั้นที่ผู้บำบัดและผู้รับการบำบัดค้นหาความอยากไม่พบ.
ความคิด 3 ระดับมนุษย์มีความคิดอยู่ 3 ระดับ คือ: (1) ลงความเห็น(Inferences); (2) ประเมินผล(Evaluations); และ (3) ความเชื่อแกนหลัก(Core beliefs). ดังอธิบายไว้แล้วก่อนหน้านี้ว่า ทุกคนมี “กฎ” สามัญประจำตัวในจิตใต้สำนึกซึ่งเป็นตัวกำหนดรูปแบบที่พวกเขาจะตอบสนองต่อชีวิต. เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้นกระสวนความคิด, สิ่งที่จะผุดขึ้นในความคิดของคุณขึ้นอยู่กับกฎสามัญในจิตใต้สำนึกที่คุณจะนำมาใช้กับเหตุการณ์.ทีนี้มาพูดถึงคนที่ถือกฎว่า: ‘การที่ฉันจะมีความสุขได้นั้น, ชีวิตของฉันต้องปลอดภัยและอยู่ภายใต้การคาดการณ์.’ ความเชื่อแกนหลักดังกล่าวจะนำพวกเขาไปสู่ความร้อนรนต่อความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายและประเมินความเป็นไปได้ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นเกินกว่าที่ควรจะ. สมมติว่าพวกเขาได้ยินเสียงอะไรสักอย่างในเวลากลางคืน. การร้อนรนต่ออันตรายจนเกินจริงนำพวกเขาไปสู่การอนุมานว่ามีขโมยเข้ามาในบ้าน. จากนั้น พวกเขาก็จะประเมินความเป็นไปได้ว่าจะเกิดความเสียหายร้ายแรงและเกินจะแบกรับได้ซึ่งทำให้เขารู้สึกหวาดวิตกอย่างหนัก.REBT มุ่งให้ความสนใจกับการช่วยให้บุคคลตรวจสอบกฎสามัญ (‘ความเชื่อแกนหลัก’):ซึ่งเกี่ยวกับการอนุมาน(inferences)ในเบื้องต้นของบุคคลต่อการประเมิน(evaluations)ของเขาเอง, และจากการขจัดแกนความเชื่อหลักที่พวกเขาใช้อยู่เป็นปกติ.
การอนุมาน(Inferences). ในชีวิตประจำวัน, เหตุการณ์และโอกาสจะกระตุ้นการอนุมาน(inferences) เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังดำเนินไป– นั่นคือ, พวกเราจะต้องเดาว่าอะไรที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นและจะเกิดขึ้น. การอนุมานคือคำบรรยายของข้อเท็จจริง (หรืออย่างน้อยสิ่งที่พวกเราคิดว่าเป็นข้อเท็จจริง– ซึ่งอาจเป็นได้จริงหรือเท็จ). ใน REBT, เวลาเพียงเล็กน้อยถูกใช้ไปกับการอนุมานของผู้รับการบำบัด– มันถูกมองว่าเป็นนัยสำคัญที่จะทำให้สัมผัสได้ว่ามันได้ให้ช่องทางสำหรับความคิดแบบประเมิน(evaluative thinking).
การประเมิน(Evaluations). เป็นสิ่งที่สำคัญมากในมุมมองของ REBT, และได้สร้างข้ออนุมานเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว, เราให้ความสนใจกับข้อเท็จจริงเพื่อประเมินมันในรูปของสิ่งที่มีความหมายสำหรับเรา. การประเมินบางครั้งเกิดขึ้นในระดับจิตสำนึกและบางครั้งก็เกิดขึ้นในระดับจิตใต้สำนึก. การประเมินที่ไม่สมเหตุสมผลจะประกอบด้วยความเชื่อหนึ่งหรือมากกว่าตามรายการก่อนหน้านี้: ความอยาก(demandingness), การหวั่นวิตก(awfulising), การไม่อดทนต่อความไม่สุขสบาย(discomfort-intolerance), และ การประเมินตนเองและผู้อื่น(self/other-rating). การประเมินตามข้ออนุมานดังอธิบายไว้ก่อนหน้านี้อาจเป็น: ‘ฉันจำเป็นต้องให้เธอรักฉัน – เพราะไม่เช่นนั้น, แสดงว่าฉันไม่มีคุณค่า.’
ความเชื่อแกนหลัก(Core beliefs). การชี้นำการอนุมานและประเมินของบุคคลคือความเชื่อแกนหลักโดยทั่วไป. ตัวอย่างของความเชื่อแกนหลักโดยทั่วไปที่ถูกนำไปใช้กับการอนุมานการประเมินที่พวกเรากำลังใช้ตามตัวอย่างอาจเป็น: ‘ฉันจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อทุกคนรักฉัน.’เอาทั้งหมดมารวมกันนี้ตัวอย่าง(ใช้ ABC model)แสดงการทำงานของทั้งหมด:A. ญาติโทรมาขอให้คุณช่วยดูและเด็กให้เขาสักวัน. คุณวางแผนไว้แล้วว่าวันนี้จะทำสวน. คุณ อนุมานว่า: ‘ถ้าฉันปฏิเสธ เธอจะมองฉันในแง่ร้าย.’B. คุณประเมินข้ออนุมานของคุณว่า: ‘ฉันทนไม่ได้ถ้าเธอจะมองว่าฉันเป็นคนเห็นแก่ตัว’ข้ออนุมานและการประเมินที่เกิดขึ้นเป็นผลของการยึดถือความเชื่อแกนหลักที่ว่า: ‘การที่จะรู้สึกดีกับตนเองได้นั้น, ฉันจะต้องเป็นที่ชื่นชอบ, ดังนั้น ฉันต้องหลีกเลี่ยงการถูกปฏิเสธไม่ว่าจากใครก็ตาม.’ (ตัวอย่างของความทุกข์เพราะอัตตา).C. คุณรู้สึกกังวลแต่ก็ตอบตกลง.สรุปว่า, บุคคลมองตัวเองและโลกรอบตัวเขาเป็น 3 ระดับ คือ: (1) ระดับอนุมาน (inferences), (2) ประเมิน (evaluations), และ (3) ความเชื่อแกนหลัก. วัตถุประสงค์หลักของผู้บำบัดคือการจัดการกับความเชื่อแกนหลักทั่วไปที่สำคัญ ค่อนข้างถาวรซึ่งยังคงสาเหตุของปฏิกิริยาที่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้รับการบำบัด. REBT เน้นการจัดการกับความคิดแบบประเมินมากกว่าการบำบัดแบบเน้นความคิดและพฤติกรรมแบบอื่นๆซึ่งเน้นจัดการกับความคิดแบบอนุมาน. (อันที่จริง ใน REBT, การอนุมานของผู้รับการบำบัดจะเกี่ยวข้องกับส่วนหนึ่งของ ‘A’ มากกว่า ‘B’, ขณะที่การบำบัดแนว CBT ทั่วไปมองการอนุมานว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ‘B’). โดยเฉพาะอย่างยิ่ง REBT มองว่าความอยาก (demandingness) เป็นที่มาของความคิดชนิดอื่นๆ.อย่างไรก็ตามทั้ง REBT และ CBT ต่างก็ให้ความสนใจกับความเชื่อแกนหลักที่สำคัญ.
ความทุกข์อันดับสอง(Secondary disturbance)เอกลักษณ์ประการหนึ่งของ REBT คือ แนวคิดเกี่ยวกับ ‘ความทุกข์อันดับสอง’, ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับปัญหา (เช่น ความรู้สึกผิดเกี่ยวกับความรู้สึกโกรธ, หรือความกังวลเกี่ยวกับความกังวล). การช่วยให้บุคคลเปลี่ยนแปลง(HELPING PEOPLE CHANGE)ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้รับการบำบัดเปลี่ยนแปลงสามารถสรุปได้กว้างๆดังนี้:1. ช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจว่าอารมณ์และพฤติกรรมมีสาเหตุมาจากความเชื่อและความคิด. โดยอาจอธิบายสั้นๆตามด้วยการมอบหมายให้อ่านหนังสือที่เกี่ยวข้อง.2. แสดงให้เห็นว่าความเชื่อที่เหมาะสมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร. ตามรูปแบบของ ABC โดยใช้ประสบการณ์ขึ้นกับผู้รับการบำบัดเมื่อเร็วๆนี้, ผู้บำบัดจะอธิบาย ‘C’, จากนั้นก็ ‘A’. แล้วให้ผู้รับการบำบัดใคร่ครวญ (เกี่ยวกับ ‘B’): ‘สิ่งที่ฉันกำลังบอกตัวเองเกี่ยวกับ ‘A’, แล้วรู้สึกและแสดงออกจนนำมาซึ่ง ‘C’ คืออะไร? ขณะที่ผู้รับการบำบัดกำลังพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล, กระบวนการของการอุกช่องว่างนี้จะง่ายขึ้น. การศึกษาดังกล่าวอาจเกิดจากการอ่าน การฟังคำอธิบายโดยตรง และการวิเคราะห์ตนเองโดยความช่วยเหลือของผู้รับการบำบัดและทำการบ้านระหว่างการบำบัดไปพร้อมกัน.3. สอนวิธีการโต้แย้งและเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล, ปรับเปลี่ยนความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลด้วยความเชื่อที่สมเหตุสมผล. การศึกษาก็นำไปสู่สิ่งนี้เช่นเดียวกัน. แผนภาพ ABC จะถูกขยายเพื่อรวม ‘D’ (การโต้แย้ง(Disputing)ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล), ‘E’ (ผลกระทบ(Effect)ใหม่ที่ผู้รับการบำบัดต้องการให้เกิดขึ้น, เช่น ความรู้สึกและพฤติกรรมใหม่), และ ‘F’ (การกระทำเพิ่มเติม(Further Action) ที่ผู้บำบัดจะต้องกระทำ).4. ช่วยให้ผู้รับการบำบัดนำไปปฏิบัติ. การต่อต้านความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล – ยกตัวอย่าง, การโต้แย้งความเชื่อว่า การไม่ได้รับการยอมรับเป็นสิ่งเลวร้ายเกินกว่าจะยอมรับ, จากนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าบุคคลยังสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้– คือองค์ประกอบพิเศษของ REBT ซึ่งเน้นทั้งการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและการลงมือปฏิบัติอันเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการเปลี่ยนแปลง. โดยปกติแล้ว กิจกรรมดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ‘การบ้าน(homework)’. กระบวนการบำบัด(The Process of Therapy)ต่อไปนี้คือ ข้อสรุปขององค์ประกอบของการบำบัดแบบเน้นเหตุผล ความเชื่อ อารมณ์และพฤติกรรม.นัดหมายผู้รับการบำบัด(Engage client)1. ขั้นตอนแรกคือการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับการบำบัด. โดยใช้เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ ความรู้สึกอบอุ่น และการให้การยอมรับนับถือ.2. มองหา‘ความทุกข์สอง (secondary disturbances)’ เกี่ยวกับการมาขอรับการบำบัด: ความรู้สึกว่าตนเองด้อยเนื่องจากมีปัญหา หรือความช่วยเหลือที่จำเป็น; และความกังวลเกี่ยวการมาเข้ารับการบำบัด.3. ท้ายสุด, วิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการสนับสนุนผู้รับการบำบัดตามแนว REBT คือการอธิบายให้พวกเขาทราบถึงขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้และสิ่งที่ REBT จะช่วยให้เขาบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้. ประเมินปัญหา บุคคล และสถานการณ์การประเมินจะกระทำแบบตัวต่อตัว, แต่ประเด็นต่างๆต่อไปนี้เป็นสิ่งที่จะถูกประเมินว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดตามแนว REBT.1. เริ่มด้วยทัศนะของผู้รับการบำบัดเกี่ยวกับสิ่งที่ผิดพลาดสำหรับเขา.2. ตรวจสอบความทุกข์อันดับสองที่มีอยู่: ผู้รับการบำบัดรู้สึกอย่างไรกับปัญหานี้?3. ดำเนินการประเมินโดยภาพรวม: กำหนดสภาพปัจจุบันของความผิดปกติทางคลินิกใดๆที่มีอยู่, ประวัติส่วนตัวและทางสังคม, ประเมินความรุนแรงของปัญหา, บันทึกเกี่ยวกับปัจจัยทางบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้อง, และตรวจสอบปัจจัยที่เป็นสาเหตุทนอกเหนือจากจิตวิทยา: สภาพทางกาย; การรักษาพยาบาล; การใช้ยาเสพติด; ปัจจัยด้านวิถีชีวิต/สภาพแวดล้อม.เตรียมผู้รับการบำบัด1. สร้างความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายการบำบัด, ให้แน่ใจว่าเป็นรูปธรรม, เฉพาะเจาะจงและเป็นที่ยอมรับของทั้งผู้รับการบำบัดและผู้บำบัด; และประเมินแรงจูงใจที่เปลี่ยนแปลงของผู้รับการบำบัด.2. นำเข้าสู่การอภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานของ REBT, รวมถึงรูปแบบความสัมพันธ์ทางชีวจิตสังคม.3. อภิปรายเกี่ยวกับแนวทางที่จะนำมาใช้และการทำบำบัด, จากนั้นก็สร้างสัญญา(contract).ทำการบำบัดตามโปรแกรมที่วางไว้ชั่วโมงการบำบัดส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในระยะการลงมือทะการบำบัด กิจกรรมที่ใช้มีดังนี้:วิเคราะห์สถานการณ์ที่ปัญหา, ค้นหาความเชื่อที่เกี่ยวข้อง, เปลี่ยนแปลงความเชื่อ และสร้างการบ้าน (homework) (ข้าพเจ้าเรียกว่าการวิเคราะห์ความสมเหตุสมผล’).วิเคราะห์งานมองหมายเชิงพฤติกรรมเพื่อขจัดความกลัวและปรับเปลี่ยนวิธีการแสดงพฤติกรรม.แผนการและเทคนิคเพิ่มเติมตามความจำเป็น เช่น การฝึกการผ่อนคลาย(Relaxation training) การฝึกฝนทักษะระหว่างบุคคล (interpersonal skills training) เป็นต้น. ประเมินความก้าวหน้าโดยปกติ เมื่อมาถึงระยะสุดท้ายของการทำงาน จะมีการตรวจสอบว่า ความคิดของผู้การบำบัดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ หรือเป็นการดีขึ้นโดยบังเอิญเพราะสภาวะการณ์ภายนอกเป็นเหตุ.เตรียมยุติการบำบัดafter a period of wellness, think they are ‘cured’ for life. Consequently, when they slip back and discover their old problems are still present to some degree, they are likely to despair and give up working on themselves altogether. Warn that relapse is likely for many emotional and behavioural problems and ensure they know what to do when their symptoms return. Discuss their views on asking for help if needed in the future. Deal with any irrational beliefs about coming back, like: ‘I should be cured for ever’, or: ‘The therapist would think I was a failure if I came back for more help’.โดยปกติแล้วเป็นการดีที่จะเตรียมผู้รับการบำบัดเพื่อรับมือกับการกลับมามีอาการเช่นเดิม. หลายคน หลังจากกลับเป็นปกติดีแล้ว กลับการสัมภาษณ์ตามแนว REBTเกิดอะไรขึ้นในการสัมภาษณ์ตามแนว REBT? การสัมภาษณ์ดังกล่าวจะอยู่บนพื้นฐาน ABC model โดยปกติจะดำเนินการดังนี้:1. ตรวจงานมอบหมายครั้งก่อนๆ(Review the previous session’s homework). สนับสนุนผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นและการเรียนรู้. ถ้างานมอบหมายไม่สมบูรณ์, การช่วยเหลือผู้รับการบำบัดจะถูกตรวจสอบและจัดการกับสิ่งที่เป็นอุปสรรค.2. สร้างปัญหาที่เห็นเป้าหมาย เพื่อการทำงานร่วมกันในการบำบัดแต่ละครั้ง.3. ประเมิน ‘A’: ว่าเกิดอะไรขึ้น, เมื่อมันเกิดขึ้นในครั้งที่แล้ว? อะไร คือสิ่งที่ผู้รับการบำบัด อ้างว่า เกิดขึ้น หรืออาจเป็นผลมาจากสิ่งที่เกิดขึ้น?4. ประเมิน ‘C’: โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อะไรคืออารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนาที่เกิดขึ้นกับผู้รับการบำบัด, และอารมณ์ดังกล่าวรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ? 5. ตรวจสอบและประเมินปัญหาทางอารมณ์ชั้นรองลงมา (อารมณ์ด้านลบที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับปัญหา, ตัวอย่างเช่น ความรู้สึกอายที่มีตนเองรู้สึกซึมเศร้า).6. ตรวจสอบความเชื่อ (‘B’) อันเป็นสาเหตุของปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความอยาก(demanding ness), สิ่งที่กลัว, discomfort-intolerance, and people-rating.7. เชื่อมโยง ‘B’ กับ ‘C’ (เพื่อให้ผู้รับการบำบัดมองเห็นปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์อันเป็นผลมาจากความคิดของเขาเอง).8. สร้างความชัดเจนจัดจัดระดับเป้าหมาย (‘E’): ผู้รับการบำบัดอยากมีความรู้สึก(และมีพฤติกรรม)อย่างไร เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับ(A) ในครั้งต่อไป ‘A’?9. ช่วยผู้รับการบำบัดขจัดความเชื่อของตนเอง (Help the client dispute their beliefs), ใช้เทคนิคต่างๆ. ปรับเปลี่ยนความเชื่อซึ่งไม่สมเหตุสมผล.10. วางแผนงานมอบหมายครั้งหน้า (Plan next homework assignments (‘F’) to enable the client to put their new rational beliefs into practice. พิสูจน์และดำเนินการกับงานมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์. เทคนิคที่ใช้ใน REBTเอลลิส แนะนำวิธีการบำบัดแบบผสมผสานเป็นรายอย่าง, โดยใช้แผนการบำบัดจาก REBT ร่วมกับวิธีการอื่นๆ, แต่ต้องแน่ใจว่าเข้ากันได้กับทฤษฎี REBT. ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของวิธีการที่ใช้โดยทั่วไป.เทคนิคด้านความคิดการวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผล(Rational analysis): วิเคราะห์สิ่งต่างๆเพื่อสอนให้ผู้รับการบำบัดค้นหาและกำจัดความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล(ดังที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้) are usually done in-session at first; then, as the client gets the idea, they can be carried out as homework.Double-standard dispute: ถ้าผู้รับการบำบัดยังติดยึดอยู่กับ ‘ความคิดว่า ควรจะ(should)’ หรือการทำให้ตนเองรู้สึกต่ำต้อย เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง, ถามว่าพวกเขาจะลำดับความสำคัญของบุคคลอื่นๆได้หรือไม่ (เช่น เพื่อสนิท, นักบำบัด, เป็นต้น.) เพื่อทำสิ่งเดียวกัน, หรือแนะนำบุคคลเกี่ยวกับความเชื่อแกนหลักเกี่ยวกับความต้องการของเขา. เมื่อพวกเขาพูดว่า ‘ไม่’, ช่วยให้เขามองเห็นว่า เขามีความคิดแบบมาตรฐานซ้ำซ้อน(double-standard). เทคนิคนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการต้านความเชื่อที่ผู้รับการบำบัดเอาชนะได้ยาก.การจัดระดับความเสียหาย(Catastrophe scale): นี้คือเทคนิคที่มีประโยชน์ในการทราบรายการสิ่งที่ผู้รับการบำบัดรู้สึกว่าน่ากลัวตามุมมองของเขา.
การพิจารณามนุษย์ และหลักการให้บริการปรึกษา
การพิจารณามนุษย์
1.ความคิดของมนุษย์มีเหตุผลและไร้เหตุผล-การคิดอย่างมีเหตุผลนำไปสู่การกระทำที่มีประสิทธิภาพ
2.ความคิดที่ไร้เหตุผล เช่น
- คิดว่าตนเองเป็นบุคคลสมบูรณ์แบบ-ชอบเปรียบเทียบกับบุคคลอื่น
- คิดว่าตนมีข้อผิดพลาด เป็นคนไร้ค่า
- ชอบอ้างเหตุผลด้านลบ
- สิ่งที่คาดหวังไม่เป็นไปตามหวังนั้น เป็นความหายนะ เป็นเรื่องร้ายแรง
- ไม่มีความสุข เพราะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
- คาดคะเนเรื่องร้ายเกินความเป็นจริง
- คิดว่าต้องพึ่งผู้ที่เข้มแข็งกว่า
- คิดไร้เหตุผลว่า บุคคลแต่ละคนจะต้องเป็นที่รัก หรือเป็นที่ยอมรับจากบุคคลที่ตนติดต่อสัมพันธ์ด้วย
- คิดว่า อดีตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมปัจจุบัน และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- มีความเชื่อมั่นสูงกว่าที่จะทำได้จริง โดยไม่ได้คำนึงข้อจำกัดของตนเอง
- คิดในวงจำกัด ไม่ยืดหยุ่น
3. ในกระบวนการพัฒนาการของมนุษย์
4. อารมณ์ขุ่นมัว เกิดจากการคิดอันไร้เหตุผล
5. มนุษย์ยังมีข้อจำกัด อาจจะมีความผิดพลาดได้
6. มนุษย์ทุกคนต้องตาย
7. ควรมีเป้าหมาย เพื่อความสุขระยะยาวดีกว่า
8. มนุษย์มีเสรีภาพที่มีข้อกำหนด
9. มนุษย์ต้องการพัฒนาตนเอง แต่บางครั้งอาจจะเกิดการพ่ายแพ้หรือท้อถอยโดยถือเอาความพอใจระยะสั้น
10. การคิดที่จะปรับปรุงชีวิตตนเอง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอารมณ์และการกระทำในสู่แนวทางที่พึงปรารถนา
11. ผู้ให้บริการปรึกษาควรทำความเข้าใจกรอบความคิดหรือการรับรู้ตนเองของผู้รับบริการ
12. ปัญหา เกิดจากการมีความคิดหรือความเชื่อผิดๆ
สรุป
อารมณ์และเหตุผลมีความสัมพันธ์กัน คือ ความคิดและการรับรู้ต่อสภาพการณ์ต่างๆเป็นตัวก่อให้เกิดความรู้สึกซึ่งจะส่งผลต่อการกระทำของบุคคล
ดั้งนั้น ความคิดของมนุษย์มีเหตุผลและไร้เหตุผล – การคิดอย่างมีเหตุผลนำไปสู่การกระทำที่มีประสิทธิภาพ
ในกระบวนพัฒนาการ มนุษย์ได้รับการสั่งสอนและประสบการณ์ให้เกิดความคิดเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นในแง่มุมต่างกัน – ก่อให้เกิดอารมณ์สุนทร หรือ ทุกข์
ความคิดที่ไร้เหตุผล....ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์....และส่งผลต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
จุดมุ่งหมาย
1. ช่วยให้ผู้รับบริการตระหนักว่า การคิดแบบไร้เหตุผล ก่อให้เกิดปัญหาด้านอารมณ์ เช่น
* คิดว่าตนเองเป็นบุคคลสมบูรณ์แบบ
* คิดว่าตนมีข้อผิดพลาด เป็นตนไร้ค่า
* คิดในวงจำกัด ไม่ยืนหยุ่น
* คิดว่า อดีตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมปัจจุบัน และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
* มีความเชื่อมั่นสูงกว่าที่จะทำได้จริง โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อกำหนดของตนเอง
2. ช่วยให้ผู้รับบริการตระหนักว่า การคิดแบบไร้เหตุผล ก่อให้เกิดปัญหาด้วยอารมณ์ ผู้ให้บริการช่วยให้ผู้รับบริการเกิดอารมณ์ที่เหมาะสม(Appropriate Emotion) และระงับอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม (Inapproprate Emotion)
& อารมณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ ความรัก กระตือรือร้น เศร้า ผิดหวัง เสียใจ
* ด้านบวก – อารมณ์รัก มีความสุข กระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
* ด้านลบ – เสียใจ คับข้องใจ รำคาญ ขุ่นเคือง ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะช่วยผลักดันให้บุคคลพยายามปรับปรุง ต่อสู้ เปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์
& อารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ โศกเศร้าอย่างหนัก (Deprssion)ท้อแท้สิ้นหวัง มุ่งร้าย (Hostility)ความรู้สึกไร้ค่า(Worthlessness)จะเห็นได้ว่าความรู้สึกเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดความพยายามที่จะต่อสู้กับสภาพการณ์ที่ไม่เหมาะสม
3. ช่วยให้ผู้รับบริการมีความสนใจทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
4. ช่วยให้ผู้รับบริการมีความรับผิดชอบต่อตนเอง หากต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นก็สามารถพึ่งได้แต่ต้องไม่พึ่งโดยสิ้นเชิง
5. ช่วยเหลือผู้รับบริการให้มีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่เขาคิดว่าสำคัญและให้ความสนใจ
6. ช่วยให้ผู้รับบริการที่ความคิดที่มีเหตุผล เช่น
* บุคคลย่อมมีความผิดพลาดได้
* เราอยู่ในโลกที่ไม่มีความแน่นอน ดังนั้นจึงควรยอมรับความไม่เที่ยงแท้
* ควรมีความยืดหยุ่นในความคิด ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างของบุคคลอื่น
7. ช่วยให้ผู้รับบริการกล้าเสี่ยงที่จะตัดสินใจ แม้จะไม่ทราบถึงผลที่จะได้รับก็ตาม
8. ช่วยให้ผู้รับบริการมีความยินดีที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และยอมรับในความสามารถและศักยภาพของตนเองอย่างมีเหตุผล
9. ช่วยให้ผู้รับบริการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบ ไม่ยึดเกณฑ์ภายนอกในการตัดสินตนเอง
การให้คำปรึกษา
1. ชี้ให้ผู้รับบริการตระหนักว่าความคิดของตนไร้เหตุผล และความคิดนั้นจะมีผลต่อปัญหาทางอารมณ์อย่างไร
2. กระตุ้นให้ผู้รับบริการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อปัญหาของตนเอง เพราะเขาเฝ้าคิดอย่างไร้เหตุผล
3. ช่วยให้ผู้รับบริการเปลี่ยนความคิด ขจัดความคิดไร้เหตุผลออกไป ด้วยกลวิธีแบบนำทาง ชักชวน ชี้แจงเหตุผล
4. ช่วยให้ผู้รับบริการมีความคิดที่มีเหตุผลในเรื่องทั่วๆไปซึ่งไม่เกี่ยวกับปัญหาปัจจุบันของตน เพื่อช่วยให้เขามีปรัชญาชีวิตที่มีเหตุผล
บทบาทของผู้ให้บริการ
1. อธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจถึงผลที่เกิดจากความคิดไร้เหตุผล
2. ชี้ให้ผู้รับบริการตระหนักถึงความคิดไร้เหตุผลของตนและปัญหาทางอารมณ์จากความคิดนั้น
3. สอนให้ผู้รับบริการเข้าใจว่าความคิดไร้เหตุผลสามารถแทนที่ด้วยความคิดที่มีเหตุผล
กลวิธีการให้บริการ
1. การสอนหรือการอธิบายโดยตรง(Direct Technique)
2. การใช้ตรรกวิทยา(Logic)
3. ผู้ให้บริการปรึกษาแสดงบทบาทสมมุติ อาจจะเป็นการสวมบทบาทของพ่อแม่กำลังดุผู้รับบริการแล้วดูอาการตอบสนองของผู้รับบริการ
4. การแสดงตัวแบบ(Modeling)
5. ผู้ให้บริการต้องเป็นตัวแบบในระหว่างการให้บริการปรึกษา
6. การผ่อนคลายความเครียด(Relaxgation)
7. เมื่อผู้รับบริการเกิดความเครียด จะต้องให้เขาได้ผ่อนคลายความเครียดบ้าง
8. ใช้จินตนาการในการใช้เหตุผลและอารมณ์ของตนเอง (Rational-Emotion Imagination)
9. ให้จิตนาการสถานการณ์
10. ยกตัวอย่างชีวประวัติ(Bibliography)
11. ให้เห็นว่า แม้คนเราจะมีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่อง เราก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ หากมีความมานะพยายาม
12. การฝึกให้คิดอย่างมีเหตุผล(Rational Self Help Form)
13. กำหนดสถานการณ์ที่เป็นปัญหาแล้วให้ผู้รับบริการได้เติมข้อความลงในแบบฟอร์ม เพื่อให้เขาได้ฝึกวิเคราะห์อารมณ์ ความคิด และความเชื่อ
14. การให้วิเคราะห์คำพูดของตนเองจากแถบบันทึกเสียง
15. ให้ผู้รับบริการปรึกษาฟังเทปสิ่งที่ตนพูด
สิ่งที่ผู้ให้บริการพึงหลีกเลี่ยง
1.ไม่ควรใช้เวลานานมากนักกับการฟังผู้รับบริการพูดถึงประสบการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่พยายามให้ผู้บริการสรุปเรื่องราว เพื่อไม่ให้ย้ำคิดย้ำทำเรื่องนั้น
2. ไม่ควรให้ผู้รับบริการครุ่นคิดแต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์นั้น แต่ช่วยให้วิเคราะห์ความคิด ความเชื่อเบื้องหลังที่ก่อให้เกิดความรู้สึกนั้น
3.ไม่ควรให้ผู้รับบริการเก็บกดหรือปล่อยอารมณ์มากเกินไป แต่พยายามลดความรู้สึกและขจัดออก
4. หลีกเลี่ยงที่จะทำให้ผู้รับบริการพึ่งผู้ให้บริการ แต่พยายามส่งเสริมให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ให้ใช้สติปัญญาคิดพิจารณาสิ่งต่างๆเอง
ข้อดี
กลวิธีที่ใช้ในการให้บริการปรึกษาเป็นวิธีที่ปฏิบัติในห้องแนะแนว และผู้รับบริการสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
ข้อจำกัด
ผู้ให้บริการปฏิบัติตนเสมือนเป็นผู้เชี่ยวชาญที่นำปรัชญาของตนไปใส่ให้ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นวิธีนำทางมากเกินไป อาจทำให้ผู้รับบริการไม่เป็นตัวของตัวเองได้
สรุป
เอลลิส กล่าวถึงขั้นตอนการให้คำปรึกษาตามทฤษฏีการให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม เป็น 4 ขั้นตอน ซึ่งสามารถกระทำได้ในการให้คำปรึกษากลุ่มดังนี้
1) แสดงให้ผู้รับคำปรึกษาเห็นว่าเขามีความคิดที่ไม่มีเหตุผล จะต้องช่วยให้เขาเข้าใจ ทำไมจึงมีความคิดเช่นนั้น ทำให้เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความคิดที่ไม่มีเหตุผลกับอารมณ์ไม่เป็นสุขต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
2) ทำให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจว่า อารมณ์ไม่เป็นสุขจะมีอยู่ต่อไปเพราะยังคงมีความคิดที่ไม่มีเหตุผลอยู่
3) ทำให้ผู้รับคำปรึกษาเปลี่ยนความคิดของเขา โดยขจัดความคิดที่ไม่มีเหตุผล แล้วทดแทนขึ้นด้วยความคิดที่มีเหตุผล
4) วางแผนในการพัฒนาปฏิกิริยาโต้ตอบที่มีเหตุผลของผู้รับคำปรึกษา เพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่มีเหตุผลหรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้มั่นคงต่อไป
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)