วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีปัจเจกบุคคล (Alfred Adler) กลุ่มที่ 8

ประวัติโดยสังเขปของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler)
อัลเฟรด แอดเลอร์เกิดที่ชานเมืองของกรุงเวียนนาในปี 1870หลังจากสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา (University of Vienna) ด้านการแพทย์ในปี 1975 เขาเริ่มต้นทำงานด้านจักษุวิทยาแต่ต่อมาเปลี่ยนมาทำงานด้านจิตเวชศาสตร์. ในปี 1902 แอดเลอร์ได้เข้าร่วมกลุ่มสนทนาซึ่งต่อมากลายมาเป็น “สมาคมวิเคราะห์จิตแห่งเวียนนา” (Vienna Psychoanalytic Society). ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม. ในที่สุดแอดเลอร์ได้กลายเป็นประธานและเป็นบรรณาธิการของวารสารของกลุ่ม. อย่างไรก็ตาม ในปี 1907 แอดเลอร์เริ่มไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นหนักในเรื่องบทบาทของเรื่องเพศที่มีต่อการก่อตัวของบุคลิกภาพ ทำให้เขาเกิดความบาดหมางกับกลุ่มผู้ที่นิยมฟรอยด์.
ในปี 1911 แอดเลอร์และผู้ติดตามได้ลาออกจากสมาคมวิเคราะห์จิตและตั้งกลุ่มของพวกเขาเองขึ้นมา ชื่อว่า “สมาคมจิตวิทยาปัจเจกบุคคล” (Society of Individual Psychology) และพัฒนาระบบจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวมและให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์. จิตวิทยาแบบแอดเลอร์มองปัจเจกบุคคลโดยให้ความสำคัญกับสังคมมากกว่าเรื่องเพศ และมุ่งเน้นที่การเลือก (choice) และการให้คุณค่า (value) มากกว่าจิตวิทยาแบบฟรอยด์. แอดเลอร์มองว่าปัจเจกบุคคลมุ่งแสวงหาความสมบูรณ์แบบและจัดการกับความรู้สึกด้อย (inferiority) (ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ปมด้อย” [inferiority complex]). หลังจากได้ทำงานในโรงพยาบาลทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แอดเลอร์ได้เกิดความสนใจในจิตวิทยาเด็ก (child psychology) ขึ้น. เขาก่อตั้งเครือข่ายคลินิกให้คำแนะนำเด็กของชุมชนขึ้นในระบบโรงเรียนของกรุงเวียนนา นำเสนอสิ่งที่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการให้คำปรึกษาครอบครัว (family counseling) ในยุคแรกเริ่ม. มีหน่วยบริการ 28 แห่งดำเนินงานในด้านนี้ จนกระทั่งนาซีมีคำสั่งให้ปิดในปี 1934. แต่กลุ่มของผู้ที่ทำการศึกษาครอบครัวโดยใช้แนวคิดของแอดเลอร์ยังคงพบปะกันทั้งในอเมริกาและแคนาดา.
ในปี 1926 แอดเลอร์ใช้เวลาอยู่ที่อเมริกาและกรุงเวียนนา. เขาถูกเชิญไปเป็นผู้บรรยายรับเชิญที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมืองนิวยอร์ค ในปี 1927. ในปี 1932 เขาเป็นผู้บรรยายที่วิทยาลัยการแพทย์ลองไอร์แลนด์ (Long Ireland Medial College) และย้ายไปอยู่ที่อเมริกาพร้อมกับภรรยา. แอดเลอร์เสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี 1937 ที่เมืองอเบอร์ดีน ประเทศสก็อตแลนด์ ในขณะเดินสายบรรยาย. มีองค์กรทางวิชาชีพที่ใช้แนวคิดของแอดเลอร์มากกว่า 100 แห่ง และมีสถาบันฝึกอบรมอีก 34 แห่ง ในอเมริกา แคนาดา และทวีปยุโรป.

ประวัติโดยสังเขปของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler)
อัลเฟรด แอดเลอร์เกิดที่ชานเมืองของกรุงเวียนนาในปี 1870*. หลังจากสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา (University of Vienna) ด้านการแพทย์ในปี 1975 เขาเริ่มต้นทำงานด้านจักษุวิทยาแต่ต่อมาเปลี่ยนมาทำงานด้านจิตเวชศาสตร์. ในปี 1902 แอดเลอร์ได้เข้าร่วมกลุ่มสนทนาซึ่งต่อมากลายมาเป็น “สมาคมวิเคราะห์จิตแห่งเวียนนา” (Vienna Psychoanalytic Society). ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม. ในที่สุดแอดเลอร์ได้กลายเป็นประธานและเป็นบรรณาธิการของวารสารของกลุ่ม. อย่างไรก็ตาม ในปี 1907 แอดเลอร์เริ่มไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นหนักในเรื่องบทบาทของเรื่องเพศที่มีต่อการก่อตัวของบุคลิกภาพ ทำให้เขาเกิดความบาดหมางกับกลุ่มผู้ที่นิยมฟรอยด์.
ในปี 1911 แอดเลอร์และผู้ติดตามได้ลาออกจากสมาคมวิเคราะห์จิตและตั้งกลุ่มของพวกเขาเองขึ้นมา ชื่อว่า “สมาคมจิตวิทยาปัจเจกบุคคล” (Society of Individual Psychology) และพัฒนาระบบจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวมและให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์. จิตวิทยาแบบแอดเลอร์มองปัจเจกบุคคลโดยให้ความสำคัญกับสังคมมากกว่าเรื่องเพศ และมุ่งเน้นที่การเลือก (choice) และการให้คุณค่า (value) มากกว่าจิตวิทยาแบบฟรอยด์. แอดเลอร์มองว่าปัจเจกบุคคลมุ่งแสวงหาความสมบูรณ์แบบและจัดการกับความรู้สึกด้อย (inferiority) (ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ปมด้อย” [inferiority complex]). หลังจากได้ทำงานในโรงพยาบาลทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แอดเลอร์ได้เกิดความสนใจในจิตวิทยาเด็ก (child psychology) ขึ้น. เขาก่อตั้งเครือข่ายคลินิกให้คำแนะนำเด็กของชุมชนขึ้นในระบบโรงเรียนของกรุงเวียนนา นำเสนอสิ่งที่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการให้คำปรึกษาครอบครัว (family counseling) ในยุคแรกเริ่ม. มีหน่วยบริการ 28 แห่งดำเนินงานในด้านนี้ จนกระทั่งนาซีมีคำสั่งให้ปิดในปี 1934. แต่กลุ่มของผู้ที่ทำการศึกษาครอบครัวโดยใช้แนวคิดของแอดเลอร์ยังคงพบปะกันทั้งในอเมริกาและแคนาดา.
ในปี 1926 แอดเลอร์ใช้เวลาอยู่ที่อเมริกาและกรุงเวียนนา. เขาถูกเชิญไปเป็นผู้บรรยายรับเชิญที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมืองนิวยอร์ค ในปี 1927. ในปี 1932 เขาเป็นผู้บรรยายที่วิทยาลัยการแพทย์ลองไอร์แลนด์ (Long Ireland Medial College) และย้ายไปอยู่ที่อเมริกาพร้อมกับภรรยา. แอดเลอร์เสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี 1937 ที่เมืองอเบอร์ดีน ประเทศสก็อตแลนด์ ในขณะเดินสายบรรยาย. มีองค์กรทางวิชาชีพที่ใช้แนวคิดของแอดเลอร์มากกว่า 100 แห่ง และมีสถาบันฝึกอบรมอีก 34 แห่ง ในอเมริกา แคนาดา และทวีปยุโรป.
หมายเหตุ
ในวัยเด็กของแอลเลอร์เป็นช่วงเวลาที่ทุกข์ทรมานสำหรับเขา เขาเป็นเด็กขี้โรค เขาคิดว่าตนเองตัวเล็กและขี้เหร่ รวมถึงเขายังแข่งขันชิงดีชิงเด่นกับพี่ชายอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อทฤษฎีบุคลิกภาพของเขาอย่างยิ่ง

ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference Theory)
เป็นทฤษฎีที่ชี้ให้เห็นว่าผู้รับสารแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันในทางจิตวิทยาเช่น ทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่อ ทำให้คนสนใจในการเปิดรับข่าวสารหรือตีความหมายข่าวสารจากสื่อมวลชนแตกต่างกัน หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคลมีดังนี้
1. มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล
2. ความแตกต่างนี้มีบางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาคหรือทางร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้
3. มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สถานการณ์ต่างๆจะเปิดรับความคิดเห็นแตกต่างกันไป
4. การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติค่านิยมและความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไปความแตกต่างดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นสภาวะเงื่อนไข (Conditioning) ที่กำหนดการรับรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural – Functional Theory )แนวความคิดในการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้
- โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภท คือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้
- อีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่าหน้าที่ทางสังคมเป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น
- ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่างๆ มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือ บุคลิกภาพ อินทรีย์ และวัฒนธรรมเกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคมที่เกิดจากความตึงเครียด เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วยหรือหลายๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง ความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคมมีการรวมตัวเข้าด้วยกันและเป็นตัวต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม
โดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้
- ในการศึกษาและการวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
- ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล
- ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์การปรับความสมดุลย์ของระบบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่า ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง
สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษานำทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลง สาเหตุและองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงโดยมองลักษณะต่อไปนี้
ประการแรก มนุษย์แต่ละชุมชน แต่ละสังคมมีความพยายามปรับปรุงตนเองตามสถานการณ์ทำให้เกิดการคงอยู่หรือสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม อันเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การจัดการ การแบ่งปันทรัพยากร ตลอดจนการสร้างและรักษาสัมพันธภาพทางสังคมและอารมณ์ ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะทางสังคม โครงสร้างความสัมพันธ์ บทบาทหน้าที่
ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน อันได้แก่การลงทุนพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ ของรัฐบาล การติดต่อพึ่งพาระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท การแพร่กระจายของระบบการค้า และสภาพนิเวศวิทยาของหมู่บ้าน ที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนาอาชีพ ตลอดจนระบบครอบครัว เครือญาติ การเพิ่มของประชากร และการแพร่กระจายของวัฒนธรรมเมืองสู่สังคมชนบท การยอมรับ ค่านิยมปัจเจกบุคคล รวมทั้งประสบการณ์ การท่องเที่ยวของปัจเจกบุคคล และการสื่อสารมวลชนที่เจริญก้าวหน้า
ประการสุดท้าย ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ระบบความสัมพันธ์ของคน องค์กรในสังคมเป็นอย่างไร และมีแนวโน้มที่สามารถรักษาระบบสังคมไว้หรือจะล่มสลายแปรเปลี่ยนเป็นระบบใหม่หรือไม่
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีวภาพของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) โดยนักสังคมวิทยาในกลุ่มทฤษฎีวิวัฒนาการเสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งในลักษณะที่มีการพัฒนาและก้าวหน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีรูปแบบเรียบง่ายไปสู่รูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสังคมที่มีความสมบูรณ์ ตัวอย่างของนักสังคมวิทยาที่สร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยใช้แนวความคิดวิวัฒนาการ มีดังนี้
- ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) เสนอว่า สังคมมนุษย์มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ (Knowledge) ผ่าน 3 ขั้นตอน ตามลำดับ คือ จากขั้นเทววิทยา (Theological stage) ไปสู่ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical stage) และไปสู่ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positivistic stage)
- ลิวอิส เฮนรี่ มอร์แกน (Lewis Henry Morgan) เสนอว่า สังคมจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้นคือ จากสังคมคนป่า (Savage) ไปสู่สังคมอนาอารยชน (Barbarian) และไปสู่สังคมอารยธรรม (Civilized)
- เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เสนอว่า วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์เป็นแบบสายเดียว (Unilinear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันด้วยและมารวมตัวกันด้วยกระบวนการสังเคราะห์ ทำให้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาของสังคมจะมีวิวัฒนาการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป
- เฟอร์ดินาน ทอยนีย์ (Ferdinand Tonnies) เสนอว่า สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Gemeinschaft ไปสู่สังคมแบบ Gesellschaft
- โรเบิร์ต เรดฟิวด์ (Robert Redfield) เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมจะเริ่มจากสภาพสังคมชาวบ้าน เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบเมือง ต่อมาแนวความคิดในการสร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบสายเดียว ที่เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องเปลี่ยนผ่านแต่ละขั้นที่กำหนดไว้ ได้รับการโต้แย้งว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมน่าจะมีวิวัฒนาการแบบหลายสาย เพราะแต่ละสังคมมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน มีรูปแบบของสังคมที่แตกต่างกัน หรือแม้ว่าสังคมที่มีรูปแบบที่เหมือนกันแต่อาจจะมีสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันก็เป็นได้
ทฤษฎีจิตวิทยา-สังคม (Social-Psychological Theory) จากแนวความคิดด้านจิตวิทยา-สังคม เสนอว่า การพัฒนาทางสังคมเกิดจากการทำงานของปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่เป็นแรงขับให้ประชาชนมีการกระทำ มีความกระตือรือร้น มีการประดิษฐ์ มีการค้นพบ มีการสร้างสรรค์ มีการแย่งชิง มีการก่อสร้าง และพัฒนาสิ่งต่างๆ ภายในสังคม นักสังคมวิทยาที่ใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีดังนี้
- แมค เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกที่ใช้หลักจิตวิทยามาใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และผลงานที่ชื่อว่า The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เสนอว่า การพัฒนาของในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ตามลัทธิทุนนิยม มีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่เกิดขึ้นหลังสมัยศตวรรษที่ 16 เมื่อในยุโรปตะวันตกมีการแพร่กระจายคำสอนของศาสนาคริสต์ ลัทธิโปรแตสแตน ที่สอนให้ศาสนิกชนเกิดจิตวิญญาณแบบทุนนิยมเป็นนักแสวงหาสิ่งใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จเพื่อให้เกิดการยอมรับ ทำงานหนักเพื่อสะสมความร่ำรวย เก็บออมเพื่อนำไปใช้ในการลงทุน สร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง เวเบอร์ยังเสนอว่า การพัฒนาของจิตวิญญาณแบบทุนนิยมทำให้เกิดลัทธิความมีเหตุผล ซึ่งภายใต้สังคมที่ใช้ความมีเหตุผลจะทำให้บุคคลมีความน่าเชื่อถือ ซื่อสัตย์ สุจริต ยอมรับสิ่งใหม่และสามารถเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมใหม่ๆ เวเบอร์เชื่อว่า อิทธิพลความคิด ความเชื่อ และบุคลิกภาพของคนในสังคมภายใต้สภาวะดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามมา
- อีวีเรทท์ อี เฮเกน (Everett E. Hagen) มีแนวความคิดสอดคล้องกับเวเบอร์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีการเริ่มต้นมาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และเสนอว่าการเปลี่ยนจากสังคมดั้งเดิม ไปสู่สังคมสมัยใหม่ จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพของบุคคล โดยเสนอว่า บุคลิกภาพของคนในสังคมดั้งเดิมมีลักษณะตายตัวที่ถูกำหนดโดยกลุ่มสังคม เป็นบุคลิกของคนที่ต้องมีการสั่งการด้วยบังคับบัญชา ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่มีการประดิษฐ์คิดค้น เพราะคนเหล่านั้นมองโลกยถากรรมมากกว่าที่จะมองโลกแบบวิเคราะห์ และต้องการควบคุมให้เป็นไปตามที่คิด ซึ่งเป็นผลทำให้สังคมแบบดั้งเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนในสังคมสมัยใหม่เฮเกนเสนอว่า บุคลิกภาพของคนที่มีความสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ มองโลกที่อยู่รอบตัวเขาอย่างมีเหตุมีผล บุคลิกภาพของคนในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามเฮเกนได้เสนอว่า บุคลิกของคนในสังคมดั้งเดิมสามารถที่จะเปลี่ยนไปสู่บุคลิกของคนในสังคมสมัยใหม่ได้โดยใช้วิธีการถอดถอนสถานภาพ ด้วยการนำเอาปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจจากสังคมสมัยใหม่เข้าไปแทรกหรือแทนที่ในสังคมดั้งเดิม และยังได้เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมอาจทำได้จากเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของคนในสังคม โดยเริ่มจากการพัฒนาบุคลิกภาพตั้งแต่วัยเด็ก
- เดวิด ซี แม็กคลีล์แลนด์ (David C. McClelland) มีแนวความคิดเหมือนกับเฮเกนที่ดห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แต่แนวความคิดของ แม็ก – คลีล์แลนด์ เน้นศึกษาที่ตัวแปรด้านแรงจูงใจในความสำเร็จ ซึ่งหมายถึง ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของปัจเจกบุคคล และเสนอแนวความคิดว่า ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสังคมในอดีตและปัจจุบันเป็นผลมาจากแรงจูงใจในความสำเร็จของบุคคล หากคนในสังคมมีแรงจูงใจในความสำเร็จมาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจก็จะมีความเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และเสนอวิธีการสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จด้วยการเรียนรู้ โดยสร้างแรงกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก
ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization Theory) แนวความคิดสำคัญของทฤษฎีการสร้างความเป็นทันสมัยกล่าวว่า สังคมที่ล้าหลังทุกสังคมสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นทันสมัยได้ โดยจำเป็นต้องมีปัจจัยภายนอกทำหน้าที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยพยายามมุ่งเสริมให้สังคมที่ล้าหลังมีลักษณะทันสมัยมากขึ้น
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
1.จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
จุดมุ่งหมายหลัก คือ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาชุมชนเมืองและการสร้างความก้าวหน้าของระบบตลาดมาสนับสนุน ตามแนวคิดของ Adam Smith เกี่ยวกับทฤษฎีการแพร่กระจาย ทำให้ความทันสมัยทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกัน
2.กระบวนการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
- รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดแผนพัฒนา ซึ่งมีลักษณะเป็นการวางแผนจากส่วนกลาง เพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน
- การจัดตั้งสถาบันต่างๆ ทั้งสถาบันทางด้านการเมือง สถาบันทางด้านสังคม และสถาบันทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนเร่งรัดการพัฒนา
- การขยายของตัวเมืองและบริการสาธารณะในเขตชุมชนเมือง ทั้งเมืองหลวง และเมืองหลัก
- การให้บริการแก่สังคมชนบทในรูปต่างๆ
3.จุดเน้นของทฤษฎีภาวะทันสมัย สรุปได้ดังนี้ คือ
- เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
- เน้นบทบาทของรัฐในการวางแผนจากส่วนกลาง
- เน้นพัฒนาสังคมเมือง
- เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory) ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีนักวิชาการสายยุโรป เช่น กุนนาร์ ไมด์ดัล (Gunnar Myrdal) , ดัดเลย์ เซียร์ (Duley Seer) , พอล สทรีทเท็น (Pual Streeten) ได้คัดค้านแนวความคิดทฤษฎีภาวะทันสมัย โดยสนอว่าแนวความคิดดังกล่าวไม่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ประเทศโลกที่ 3 ได้ นอกจากนั้นวิชาการสายลาตินอเมริกา อาทิ Frank , Cardose , Doossantos ได้เสนอว่า ทฤษฎีภาวะทันสมัยสามารถนำไปใช้ในประเทศด้อยพัฒนาได้สำเร็จ เพราะยิ่งพัฒนาไป “คนรวยยิ่งรวย แต่คนจนยิ่งจนลง” หรือที่เรียกว่า “รวยกระจุก แต่จนกระจาย” เขาจึงต่อต้านทฤษฎีภาวะทันสมัยมาก และได้เสนอแนวคิดทฤษฎีพึ่งพาเอาไว้ดังนี้ คือ
- เขามองว่าถ้าพัฒนาตามทฤษฎีภาวะทันสมัย ประเทศตะวันตกที่เจริญจะเป็นศูนย์กลางทุกอย่าง ในขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาจะเป็นบริวาร หรือต้องพึ่งพาภายนอกอยู่ตลอดเวลา
- เขาเน้นว่าควรมีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเสียใหม่ เพื่อที่จะนำไปสู่การกระจายผลของการพัฒนาอย่างเป็นธรรม
- กระบวนการที่สามารถกระทำได้คือ การลดการพึ่งพาจากภายนอกลง และการที่ประเทศพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองให้มากขึ้น
แต่ทฤษฎีพึ่งพานี้นักวิชาการมิได้เสนอแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน หรือเป็นรูปธรรมนักจึงทำให้มีการปฏิเสธแนวทางการพัฒนาแบบดั้งเดิม และนำไปสู่แนวทางการพัฒนาใหม่ที่เน้นการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานต่อไป
ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs Theory) แนงความคิดของนักวิชาการกลุ่มองค์การกรรมกรระหว่างประเทศ (ILO=International Labour Organization) ได้เสนอกลยุทธ์ในการพัฒนาใหม่โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นฐาน และความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ และการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังการพัฒนา เหตุผลที่มาของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานคือ
- เป็นข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของทฤษฎีภาวะความทันสมัย
- องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความจำเป็นพื้นฐานเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา
- ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของนักทฤษฎีพึ่งพาบางกลุ่ม
ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานได้รับอิทธิพลจากนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน อาทิ ดัดเลย์ เซียร์ (Duley Seer) , พอล สทรีทเท็น (Pual Streeten) , กุนนาร์ ไมด์ดัล (Gunnar Myrdal) โดยได้โต้ตอบแนวความคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัยด้วยการเรียกร้องให้มีการดำเนินการวิเคราะห์เพื่อกำหนดเงื่อนไขทางสังคมและการจัดเตรียมสถาบันต่างๆ ก่อนการพัฒนา นอกจากนั้นยังให้คำนิยามเกี่ยวกับความจำเป็นพื้นฐาน การระดมทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อบรรลุถึงความสำเร็จที่ต้องการ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานนั้นเป็นทฤษฎีทางสายกลางระหว่างทฤษฎีภาวะทันสมัยและทฤษฎีพึ่งพา ที่เสนอมิติใหม่ในการวางแผนพัฒนาจากกรอบความคิดในการวางแผนจากส่วนกลาง ไปสู่การวางแผนจากระดับล่างขึ้นมา สำหรับความต้องการความจำเป็นขั้นพื้นฐานแต่ละประเทศมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงควรกำหนดความจำเป็นขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์และความเหมาะสมของประเทศตน
จุดเน้นที่สำคัญของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
- เน้นการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการที่จำเป็นพื้นฐานของประชาชน
- เน้นการกระจายอำนาจและการกระจายความเจริญไปยังพื้นที่เป้าหมายอย่างทั่วถึง
- ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรม และพื้นที่ชนบทมาก
- สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประเทศ
- เน้นการพัฒนาทุกๆ ด้านไปพร้อมๆ กันแบบบูรณาการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนการใช้แรงงาน และทุนภายในประเทศ
- เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
ทฤษฎีนี้กำหนดจุดมุ่งหมายไว้ว่า เป็นการใช้ความพยายามเพื่อดำเนินการพัฒนาไปสู่การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งความจำเป็นขั้นพื้นฐานเหล่านี้กำหนดขึ้น โดยคำนึงถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่าสถานภาพปัจจุบันของประชากรมีเป้าหมายอย่างไร กับคำนึงถึงเกณฑ์ความเป็นไปได้ในทางวิชาการและสภาวะการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ระดับความจำเป็นพื้นฐานของตนเอง ความจำเป็นขั้นพื้นฐานในที่นี้จะรวมถึงความจำเป็นทั้งในทางวัตถุและความจำเป็นในทางจิตใจด้วย
กระบวนการในการพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
- กระบวนการในการวางแผนพัฒนา สำหรับกระบวนการในการวางแผนพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานนี้เน้นสาระสำคัญ คือ นักวางแผนต้องคำนึงถึงความสำคัญในการคัดเลือกโครงการที่จะตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานที่กำหนดขึ้น และโครงการที่ตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานถือว่ามีระดับเร่งด่วนสูงสุดที่จะต้องเน้นบริการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนแน่นอน นอกจากนั้น การกระจายอำนาจในการวางแผนถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความจำเป็นขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการในระยะยาวคือการที่ประชาชนในชุมชนต่างๆ สามารถพึ่งตนเองได้ตลอดไป
- เนื้อหาสำคัญที่ควรมุ่งเน้นในการวางแผน
เนื้อหาสำคัญที่มุ่งเน้นในการวางแผนของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานคือการเปลี่ยนแปลงวิธีการกระจายรายได้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการผลิตและการค้าตลอดจนการกระจายอำนาจให้แต่ละชุมชนแต่ละพื้นที่ได้เสนอปัญหาและความต้องการขึ้นมา แล้วคัดเลือกโครงการที่สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานมากที่สุด นั่นคือต้องมีการปรับโครงสร้างการบริหารของรัฐ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นและเข้าถึงบริการด้านต่างๆ ของรัฐ โดยอาศัยระบบการบริหารที่ดีให้ความสำคัญกับภาคชนบทและสาขาเกษตรกรรมมากขึ้น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทยังมีฐานะยากจน ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ จึงควรมีการพัฒนาระบบการผลิตและปัจจัยการผลิตในชนบทให้ดีขึ้น เพราะแนวคิดในเรื่องการพัฒนานั้นมีความเชื่อว่า ถ้าสามารถสร้างประชาชนในชนบทให้มีคุณภาพและเป็นฐานในการผลิตได้แล้ว ก็จะสามารถพัฒนาได้ง่าย นอกจากนั้นยังเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประหยัด ง่ายต่อการใช้ เหมาะสมกับเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมและสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดดุลยภาพทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการบริการ
ทฤษฎีการปรับตัว (Theories of Motivation)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology Theory)

บุคลิกภาพ
(Personality)
คำว่า “บุคลิกภาพ” มาจากภาษาละตินว่า Persona หมายถึง หน้ากากที่ตัวละครใช้สวมเวลาออกแสดง เพื่อที่จะแสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดให้
คำจำกัดความของ “บุคลิกภาพ” คือ ผลร่วมอย่างมีระบบของพฤติกรรมต่าง ๆ ตลอดจนทัศนคติและค่านิยมซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบุคคล ดังนั้นจิตวิทยาบุคลิกภาพจึงเป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษานิสัยของบุคคลซึ่งช่วยให้มองเห็นว่าแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร
สมมติว่าเรารู้จักเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนรูปร่างสูงโปร่ง เดินตัวตรง มีลักษณะที่แสดงออกเป็นปกติ คือ รักความยุติธรรม ซื่อสัตย์ เราอาจจะกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพของเขานั้นสง่า น่านับถือ ซื่อสัตย์ รักความยุติธรรมเป็นตน นั่นก็คือ เรายอมรับลักษณะเด่นในตัวเขาให้เป็นบุคลิกภาพของเขา
จะเห็นว่าส่วนมากเราจะเน้นลักษณะของแต่ละบุคคล ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวของเขาต่อคนอื่น และต่อตัวของเขาเอง อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า คำจำกัดความใดดีที่สุดและถูกต้องที่สุด ทั้งนี้เพราะคำจำกัดความแต่ละอย่างต่างก็มาจากความเชื่อในทฤษฏีบุคลิกภาพ ที่มีอยู่มากมายแตกต่างกัน เราจะเชื่อหรือยึดถือคำจำกัดความใดได้ เราก็ต้องพิจารณาถึงทฤษฎีบุคลิกภาพเสียก่อน
สิ่งที่กำหนดบุคลิกภาพ (Personality Determinants)
ในการวิจัยเกี่ยวกับบุคลิกภาพมีข้อถกเถียงมากมาย แต่ในที่สุด ก็สรุปว่า บุคลิกภาพ มีผลมาจาก 3 องค์ประกอบ คือ พันธุกรรม (Heredity), สิ่งแวดล้อม (Environment Factors) และสถานการณ์ (Situation Conditions)
พันธุกรรม (Heredity) จากการวิจัยพบว่า ลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางชีวะภาพ กายภาพ และ จิตวิทยาภายใน จะถูกถ่ายทอดจาก บิดามารดา สู่บุตรผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ทั้งนี้จาก
1. การสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ในวัยเยาว์ ซึ่งพบว่าลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความวิตก ความกังวล ความกลัว ฯลฯ จะถูกถ่ายทอดผ่านยีนพอ ๆ กับลักษณะทางกายภาพ เช่น ความสูง สีผม ฯลฯ
2. การศึกษาคู่แฝดที่ถูกแยกเลี้ยงดูให้ห่างกันตั้งแต่เยาว์วัย โดยนักวิจัยได้ศึกษาคู่แฝดกว่า 100 ราย พบว่า แม้จะถูกแยกเลี้ยงดู ก็จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันหลายประการ เช่น แฝดคู่หนึ่งที่ถูกเลี้ยงห่างกัน 45 ไมล์ เป็นเวลา 39 ปี ยังใช้รถยนต์สี และรุ่นเดียวกัน สูบบุหรี่ยี่ห้อเดียวกัน เลี้ยงสุนัขชื่อเดียวกัน และใช้วันพักร้อนที่ชายหาดเดียวกัน โดยพักห่างกัน 3 ช่วงตึก ทั้ง ๆ ที่ชายหาดดังกล่าวอยู่ห่างที่อยู่อาศัยถึง 1,500 ไมล์
3. การตรวจสอบความพึงพอใจต่องาน ภายใต้เวลา และสถานการณ์ต่าง ๆ ว่ามีความ สม่ำเสมออย่างไร
อย่างไรก็ตาม แม้คำยืนยันถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ไม่สามารถทำนายบุคลิกภาพได้อย่างชัดแจ้ง ด้วยหลักการทางพันธุกรรมเพียงหลักการเดียว จำเป็นที่จะต้องพิจารณาปัจจัยทางด้านอื่น ๆ ด้วย
สิ่งแวดล้อม (Environment Factors)ในขณะที่ผลจากพันธุกรรมจะมีขีดจำกัดในการสร้างบุคลิกภาพ ความต้องการของสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่บุคคลนั้นดำรงอยู่ จะคอยปรับเปลี่ยน บุคลิกภาพให้แปรเปลี่ยนไป
สถานการณ์ (Situation Conditions) บุคลิกภาพที่มักจะสม่ำเสมอ อาจจะแปรเปลี่ยนไปภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
บุคลิกภาพสามารถถ่ายถอดทางพันธุกรรมได้หรือไม่ การทำงานของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบุคลิกภาพ ผู้วิจัยได้สนับสนุนว่า บุคลิกภาพเกิดจากการทำงานร่วมกันเป็นพิเศษเพียงบางส่วนของยีน เป็นไปในทางเดียวกันกับพันธุกรรมที่สืบมาจากบรรพบุรุษ รากฐานของบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่ จะปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในตอนต้นของช่วงชีวิต เมื่อทารกเกิดจะมีอารมณ์พิเศษ พื้นฐานอารมณ์โดยสันดาน ได้มีการรวมกันของการแสดงอารมณ์ไว้หลายอย่าง และผู้วิจัยบางคนเชื่อว่ามียีนเฉพาะที่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ
ที่สำคัญกว่านั้น ยีนและสิ่งแวดล้อมไม่เคยทำงานแยกกัน เป็นไปไม่ได้เลยว่าจะลบล้างปัจจัยทางพันธุกรรมได้โดยสมบูรณ์จากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่ามีการศึกษาคู่แฝดเหมือนก่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่ชัดเจนเพราะว่าไม่สามารถที่จะกำหนดและควบคุมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมได้
สุดท้ายนี้ ถ้ายีนถูกพบว่าเชื่อมกับลักษณะบุคลิกภาพพิเศษ ยีนก็ยังคงเป็นต้นเหตุของการเกิดบุคลิกภาพ พฤติกรรมถูกสร้างโดยยีนในทางเดียวกันน่าจะสร้างสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะได้ ถึงแม้ว่าจำนวนที่เพิ่มขึ้นของทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นสิ่งที่ได้จากปัจจัยทางชีววิทยา (biological) และพัฒนาการ (evolutionary) แม้จะไม่มีการสรุปรวมกันของทฤษฎี แต่พิจารณาว่าปัจจัยทางชีววิทยา (biological) และพัฒนาการ (evolutionary) เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง แม้กระนั้นก็ชัดเจนว่า ลักษณะที่แน่นอนของบุคลิกภาพมีส่วนประกอบทางพันธุกรรมและการสืบลักษณะนิสัยมาจากพ่อแม่ และสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อการตัดสินบุคลิกภาพ

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการให้การปรึกษาเชิงบำบัดแนวเกสตัลท์ ( Gestalt Therapy )

ทฤษฎีการให้การปรึกษาเชิงบำบัดแนวเกสตัลท์ ( Gestalt Therapy )


เป็นการบำบัดทางประสบการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นที่การมีสติหรือการตระหนักรู้ ถึงความรู้สึกของตนเองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และการทำงานของกายกับใจที่ควบคู่กันไป กล่าวคือเป็นการทำงานของความคิด ความรู้สึก และการรับรู้ ที่รวมกันเป็นกระแสธาร ลักษณะของจิตบำบัดแนวเกสตัลท์จึงเป็นแบบ Holistic Approach ซึ่ง Perls เชื่อว่าจะทำให้เกิดบูรณาการได้มากกว่าที่จะแยกออกมาวิเคราะห์เป็นบางส่วน ความเชื่อของการบำบัดแนวเกสตัลท์ พอสรุปได้ดังนี้

1. มนุษย์มีลักษณะเป็นหน่วยที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตนเอง ร่างกาย อารมณ์ ความคิด ประสาทสัมผัสและการรับรู้ มีการทำงานที่สัมพันธ์กัน มนุษย์จึงมีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเข้าใจมนุษย์นั้นจะเข้าใจเฉพาะในแต่ละส่วนไม่ได้ จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะของหน่วยเต็มทั้งหน่วย คือบุคคล

2. มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม การที่จะเข้าใจมนุษย์ให้ลึกซึ้งจำเป็นต้องเข้าใจทั้งบุคคล และสภาพแวดล้อมของเขา

3. มนุษย์เป็นผู้เลือกที่จะแสดงพฤติกรรมของตนเองในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก และภายใน

4. มนุษย์มีความสามารถที่จะรับรู้หรือสัมผัสถึงความคิด อารมณ์ และการรับรู้ของตนเอง

5. มนุษย์มีประสิทธิภาพในการรับรู้ถึงตนเอง มีสติ (Self Awareness) จึงทำให้มนุษย์มีความสามารถในการตัดสินใจเลือก พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของเขา

6. มนุษย์มี่ความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. มนุษย์ไม่สามารถนำตนเองไปเผชิญกับอดีตหรืออนาคตได้ เขาสามารถเผชิญเหตุการณ์ด้วยตนเองได้กับปัจจุบันเท่านั้น นั้นคือ คนเราสามารถรับรู้ถึงประสบการณ์ส่วนตนจากปัจจุบันเท่านั้น อดีตหรืออนาคตสามารถรับรู้ได้จากปัจจุบัน โดยการจำหรือการคิดคาดหวัง

8. โดยพื้นฐานของธรรมชาติแล้ว มนุษย์เราไม่ดีหรือไม่เลวโดยกำเนิด

แนวคิดกับสภาวะปัจจุบัน (The Now)

สำหรับ Perls แล้ว การมีชีวิตอยู่ก็คือ “ปัจจุบัน” อดีตนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตก็ยังเป็นเรื่องที่มาไม่ถึง มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่มีความหมายสำคัญ สิ่งที่ Perls เน้นมากที่สุดก็คือ ที่นี่และและเดี๋ยวนี้ (Here and Now) Perls เชื่อว่าพลังของคนเรามีอยู่กับปัจจุบัน การจะดำรงชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ก็จะต้องอยู่อย่างมีคุณภาพ และตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต บุคคลที่ไม่สามารถรับรู้ถึงสภาวะปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เนื่องจากการสูญเสียพลังงานที่ใช้ไปกับการครุ่นคิดคำนึงถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต และมุ่งมั่นจะวางแผนในอนาคตอย่างไม่รู้จบ บุคคลนั้นก็จะเกิดความวิตกกังวลขึ้นมา

สำหรับสภาพของผู้มีทุกข์ Perls เชื่อว่ามักจะเป็นบุคคลที่ขาดการตระหนักรู้ กล่าวคือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพกล่าวคือมีชีวิตอยู่เพียงแค่ให้หมดสิ้นไปวันหนึ่งเท่านั้น รู้สึกช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ้นหวังในชีวิต ไม่รู้จะจัดการกับตนเองอย่างไร ขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง เป็นบุคคลที่มีธุรกิจคั่งค้างอยู่ในตัวอย่างมาก และหาทางออกโดยการหนีจากสภาวะปัจจุบันไปอยู่กับอดีตและอนาคต

จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์

1. ให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยนพฤติกรรมจากการพึ่งพาผู้อื่น มาสู่การพึ่งพาตนเอง รับผิดชอบต่อตนเองพัฒนาไปสู่การมีวุฒิภาวะ

2. ให้ผู้รับการปรึกษามีประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่

3. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้ใช้พลังงานของชีวิตอยู่กับปัจจุบัน รู้จักปล่อยวางอดีต โดยการทำความรู้สึกที่คั่งค้างให้สมบูรณ์ และไม่วิตกเกี่ยวกับอนาคต

4. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษากล้าเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างไปจากบุคคลอื่น เข้าใจในค่านิยมและกฏเกณฑ์ของสังคม

เทคนิคและวิธีการที่ให้การปรึกษา

การให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์มีเทคนิค และวิธีการมากมายที่จะช่วยผู้รับการปรึกษาเกิดการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง พึ่งพาตนเอง รับผิดชอบต่อการกระทำและความรู้สึกของตนเอง โดยผู้ให้การปรึกษาเลือกใช้เทคนิคต่างๆ ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ อย่างไรก็ตามผู้ให้การปรึกษาต้องตระหนักว่าเทคนิคต่างๆจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายของการให้การปรึกษาได้นั้น จะต้องอิงอยู่กับสัมพันธภาพที่ดีของการให้การปรึกษา เทคนิคที่สำคัญได้แก่

1. การฝึกใช้ภาษา เพื่อช่วยเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับความรู้สึกและการกระทำของตนเอง โดยผู้ให้การปรึกษาใช้เทคนิคดังนี้

1.1 ให้ผู้รับการปรึกษาใช้สรรพนามแทนตนเองตรงๆ ( Personalizing Pronouns) ช่วยให้ผู้รับการปรึกษารับรู้ตนเอง คิด พูด และมีความต้องการอย่างไร และรับผิดชอบต่อการพูด ความรู้สึกและการกระทำของตนเอง เพราะบุคคลมักจะปิดบังความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง จึงมักจะเอ่ยลอยๆ เช่น “ ใครๆก็คงรู้สึกไม่อยากต่อสู้กับปัญหาแบบนี้ “ การที่ไม่รู้สึกอยากต่อสู้ ไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย แต่การเอ่ยแบบนี้เป็นการเลี่ยงที่จะรับรู้ว่าตนเองรู้สึกอย่างนั้น

ตัวอย่าง

ผู้รับการปรึกษา : ใครๆก็คงรู้สึกไม่อยากต่อสู้กับปัญหาแบบนี้

ผู้ให้การปรึกษา : ใครๆในที่นี้คุณคงหมายถึงตัวคุณ ให้ลองพูดประโยคนี้ใหม่ว่า “ ฉันรู้สึก ไม่อยากต่อสู้กับปัญหานี้ “

( เมื่อผู้รับการปรึกษาพูดแล้ว ให้สังเกตลักษณะน้ำเสียง ท่าทางที่พูด แล้วถามถึงความรู้สึก ว่ารู้สึกอย่างไร )


1.2 เปลี่ยนคำถามให้เป็นประโยค (Changing question to statement) ผู้ให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์จะไม่พยายามตอบคำถามที่ผู้รับการปรึกษาถาม เพื่อเลี่ยงที่จะกล่าวถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง แต่จะกระตุ้นให้ผู้รับการปรึกษารับรู้ถึงความรู้สึกนั้น และให้พูดออกมาในลักษณะของประโยคบอกเล่า

ตัวอย่าง

ผู้รับการปรึกษา : ทำไมเราต้องยอมทำตามคนอื่นด้วย

ผู้ให้การปรึกษา : คุณต้องการพูดว่าอะไรกันแน่จากคำถามนั้น

ผู้รับการปรึกษา : ผมอยากบอกว่า ผมอยากทำอะไรตามใจผมบ้าง


1.3 เน้นความรับผิดชอบ (Responsibility) โดยทั่วไปบุคคลมักเลี่ยงความรับผิดชอบ โดยการบอกว่าตนเองทำไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงมักจะ “ ไม่ทำ “ หรือ “ ไม่อยากทำ “

ตัวอย่าง

ผู้รับการปรึกษา : ผมควบคุมอาหารต่อไปไม่ได้อีกแล้ว

ผู้ให้การปรึกษา : คุณควบคุมอาหารไม่ได้หรือคุณไม่อยากควบคุม

ผู้รับการปรึกษา : ผมไม่อยากควบคุม

ผู้ให้การปรึกษา : คุณควบคุมได้ แต่คุณไม่อยากทำ คุณก็พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อการตัด

สินใจของคุณ หากน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น


2. ฝึกผู้รับการปรึกษาให้รับรู้ถึงความรู้สึกต่างๆที่ตนเองมี ทั้งความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงโดยไม่พยายามปฏิเสธในส่วนที่เป็นตนตามอุดมคติ ที่เรียกร้องให้ทำตามค่านิยมของสังคม มีเทคนิคดังนี้

2.1 การพูดโต้ตอบด้วยตนเอง ( Game of Dialogue) ในขณะที่ผู้ให้การปรึกษาต้องสังเกตภาษาท่าทาง โดยให้ผู้รับการปรึกษาถ่ายทอดความรู้สึกที่ไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริงไปที่มือข้างขวา แล้วถ่ายทอดความรู้สึกที่แท้จริงไปที่มือข้างซ้าย แล้วพูดโต้ตอบกันถึงความรู้สึก 2 ด้านนี้ เทคนิคนี้ช่วยให้เกิดความกระจ่างถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้ง ความวิตกกังวลก็จะลดลง สามารถเลือกตัดสินใจได้และรับผิดชอบต่อการเลือกของตนเอง โดยไม่รู้สึกว่าถูกบงการจากผู้อื่น

2.2 เทคนิคเก้าอี้ว่างเปล่า ( The empty chair technique) เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้รับการปรึกษารับรู้ถึงความรู้สึกขัดแย้งภายในตัวเองให้กระจ่างขึ้น มีวิธีโดยใช้เก้าอี้สองตัว ตั้งประจันหน้ากันไว้ แล้วให้ผู้รับบริการปรึกษาแสดงบทบาทและคำพูด ในส่วนที่เป็นความต้องการที่แท้จริง เมื่อนั่งอยู่บนเก้าอี้ตัวหนึ่ง พูดไปกับเก้าอี้ตัวที่ว่างที่เป็นส่วนของความรู้สึกตามอุดมคติ ที่บอกตนเองว่าควรทำอะไร แล้วย้ายไปนั่งเก้าอี้ตรงข้ามที่ว่าง แล้วแสดงบทบาทเป็นส่วนของความรู้สึกตามอุดมคติที่ขัดแย้งอยู่แล้วโต้ตอบกลับไป เทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจความรู้สึกทั้งสองที่ตนมีได้กระจ่างมากขึ้น


3. ฝึกให้ผู้รับการปรึกษาใช้จินตนาการ ( Fantasy game) เป็นการย้ายความรู้สึกและความต้องการของตนเองไปยังสิ่งอื่น แล้วจินตนาการว่าถ้าเป็นตนเองจะมีความรู้สึกและต้องการอย่างไร

1. เกมการซ้อมบท ( Role Playing) เป็นการแสดงบทบาทเมื่อผู้รับการปรึกษาได้เผชิญเหตุการณ์ด้วยตนเอง โดยให้แสดงบทบาทที่ตนคิดเอาไว้ออกมาจริงๆ


4. การแสดงบทบาทที่กล่าวโทษผู้อื่น ( Playing the projection) เป็นการช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้ตระหนักถึงความรู้สึกที่ไม่ดีภายในตนเอง ที่ตนเองไม่กล้ายอมรับ และมักจะคอยจับผิดและกล่าวโทษผู้อื่น ให้เกิดความพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเอง โดยไม่กล่าวโทษผู้อื่น

5. ฝึกให้ผู้รับการปรึกษาเพ่งอยู่กับความรู้สึกตนเอง ( Staying with the feeling) เป็นการให้ผู้รับการปรึกษาได้รับรู้ความรู้สึกของตนเองในสภาวะปัจจุบันให้ได้ และให้กล้าเผชิญกับความจริงโดยไม่เลี่ยงความรู้สึกที่ไม่อยากสัมผัส ซึ่งมักจะเป็นความรู้สึกที่คั่งค้างต่อประสบการณ์ต่างๆในอดีต ที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกและพฤติกรรมปัจจุบัน


กล่าวโดยสรุปเกสตัลท์จะไม่ใช่การวิเคราะห์ การวินิจฉัย และการทดสอบ ดังนั้นการตั้งคำถามจึงเป็นคำถามประเภท อะไร และ อย่างไร จะไม่ใช้คำถาม ทำไม ส่วนการตีความนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้รับการปรึกษา

ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการบำบัดรักษา(กลุ่มที่1)

ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการบำบัดรักษา
ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการบำบัดรักษาของคาร์ล อาร์ โรเจอร์
ในระหว่างปี ค.ศ. 1940 –1945 โรเจอร์ส ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยา และสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio State University)และในระหว่างปี ค.ศ.1945 – 1957 ได้ย้ายไปสอน ณ มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) และในช่วงเวลาดังกล่าวโรเจอร์ได้ผลิตผลงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการให้คำปรึกษาเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง
แนวคิด
แนวคิดที่สำคัญโรเจอร์สเชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมีแรงจูงใจในด้านบวก เป็นผู้ที่มีเหตุผล (Rational) เป็นผู้ที่สามารถได้รับการขัดเกลา (Socialized) สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้ามีอิสระเพียงพอ และมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับ ความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization)
การให้คำปรึกษา
คาร์ล อาร์. โรเจอร์ (Carl R. Rogers) เห็นว่า ความสัมพันธ์เป็นหัวใจสำคัญที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในกรเปิดเผยและสำรวจตนเอง และมีปัญหาที่เกิดขึ้นจะได้ไม่อำพรางในขั้นนี้ นอกจากเรื่องของการสร้างสัมพันธภาพแล้ว ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้รวบรวมถึง การให้ความเข้าใจกระบวนการปรึกษาแก่ผู้รับการปรึกษาด้วย โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่สำคัญ ที่ทำให้ผู้ขอรับการปรึกษเข้าใจหลักเกณฑ์กระบวนการให้คำปรึกษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพผู้มารับการปรึกษาจะได้เกิดความพร้อมในการที่จะเรียนรู้ สำรวจปัญหาและแก้ปัญหา มีส่วนร่วมที่สำคัญที่จะบรรลุเป้าประสงค์ของการให้คำปรึกษา หากผู้รับคำปรึกษาไม่เข้าใจให้ถูกต้อง อาจจะคาดหวังผิด ๆ ทำให้ไม่มีบทบาทต่อการแก้ปัญหาของตนเอง เพราะอาจจะคาดหวังให้ผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ชี้นำ หรือ ให้คำตอบต่าง ๆ กับตน ซึ่งไม่ใช่หลักการในการในการให้คำปรึกษาที่ดี
ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา
1. มีความรู้ในการเลือกวิธีการ หรือ ทฤษฎีได้เหมาะสม
2. ความสามารถในการใช้วิธีการเฉพาะต่าง ๆ ของแต่ละทฤษฎี
3. มีความรู้ถึงปัญหาที่จะพบจากการใช้แนวทางของทฤษฎีแต่ละทฤษฎี
ในกระบวนการให้คำปรึกษา เมื่อดำเนินมาถึงขั้นที่มีการกำหนดกิจกรรมบางอย่างเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ หากการให้คำปรึกษาดำเนินไปด้วยดี ผู้มารับคำปรึกษาก็จะสามารถปฏิบัติได้ตามที่ได้วางแผนเอาไว้
ข้อควรคำนึง
ผู้ให้คำปรึกษาถือว่า ผู้มาปรึกษาแต่ละคนย่อมมีศักดิ์ศรีของตน หรือ ผู้มาปรึกษาแต่ละคนย่อมจะต้องรับผิดชอบในการตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหา ตัวผู้ให้คำปรึกษาเองจะต้องพิจารณาผู้มาปรึกษาทั้งคน ดังนั้น ผู้ให้คำปรึกษาจะไม่เข้าไปยุ่งจัดการกับวิถีชีวิตของผู้มารับคำปรึกษา เป็นเพียงแต่คอยช่วยเหลือให้เขาเกิดความเข้าใจในตนเอง ยอมรับความเป็นตัวของตัวเองและแก้ปัญหาของตนเอง

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเผชิญความจริงวิลเลี่ยม กลาสเซอร์ (William Glasser)(กลุม่ที่6)

ทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเผชิญความจริง

ความเป็นมาของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเผชิญความจริง
วิลเลี่ยม กลาสเซอร์ (William Glasser) จิตแพทย์ชาวอเมริกันเป็นผู้ริเริ่มวิธีการให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเผชิญความจริง (Reality Approach to Counseling ) กลาสเซอร์ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1925 ในสหรัฐเอมริกาจบปริญญาตรีทางวิศวกรรมเคมีและได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บันฑิต เขามีประสบการณ์ในการทำงานด้านจิตเวชที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนั้นนิยมใช้วิธีการทางจิตวิเคราะห์ในการบำบัดรักษาคนไข้ กลาสเซอร์ พิจารณาว่าประสิทธิภาพของวิธีการแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้รักษาคนไข้นั้นยังไม่มีประสิทธิภาพพอ จึงริเริ่มคิดหาทางพัฒนาวิธีการบำบัดรักษาแบบใหม่ขึ้น
ในปี ค.ศ. 1957 กลาสเซอร์ ได้รับตำแหน่งหัวหน้าจิตแพทย์ประจำสถาบันยุวอาชญากรใน
รัฐเคลิฟอร์เนียได้พัฒนาวิธีการช่วยเหลือยุวอาชญากรเหล่านั้นด้วยวิธีการของเขาเอง โดยเน้นการฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบให้เด็กวางโครงการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง และสัญญาว่าจะดำเนินการตามโครงการนั้นเขาจะไม่ยอมรับข้อแก้ตัวใด ๆ ทั้งสิ้นของเด็ก ถ้าเด็กไม่ปฏิบัติตามสัญญาแต่พยายามหลีกเลี่ยงการลงโทษ ผลปรากฏว่าวิธีนั้นได้ผลดีอัตราความไม่เข็ดหลาบของเด็กลดลงถึงร้อยละ 20 โครงการของกลาสเซอร์ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างดีเขาได้ไปช่วยวางโครงการบำบัดแบบเผชิญความจริงให้แก่โรงพยาบาลจิตเวชที่เขาเคยทำงานอยู่ ซึ่งได้ผลดีและอัตราการหวนกลับโรงพยาบาลอีกของคนไข้ลดลงมาก
ในค.ศ. 1960 กลาสเซอร์ ได้พิมพ์ตำราเล่มแรกออเผยแพร่ คือตำรา เรื่อง “ Mental Health or
Mental lllness” และในค.ศ. 1965 เขาได้พิมพ์ตำราอีกเล่ม คือ “Reality Therapy :A New Approach to Psychiatry” และในปีเดียวกันนี้กลาสเซอร์ได้จัดตั้งสถาบันการบำบัดแบบเผชิญความจริงขึ้นเพื่อฝึกหัดการใช้วิธีที่เขาคิดค้นนี้
สถาบันต่าง ๆให้ความสนใจกับวีการนี้และได้เชิญเขาเป็นที่ปรึกษา กลาสเซอร์ได้ปรับปรุงวิธีให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในสถาบันการศึกษา เขาได้เน้นว่าในวัยเด็กอาจเกิดระยะวิกฤตขึ้นได้ครั้งแรกเกิดในช่วงที่เด็กอายุ 2 ขวบ ถึง 5 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กเริ่มใช้คำพูดจะเรียนรู้ทางสังคมจะแสดงความอยากรู้อยากเห็นและความคิดเด็กต้องการความรักและความสนใจจากพ่อแม่หรือคนเลี่ยงเด็ก ๆ ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองที่จะเผชิญปัญหา ไม่ควรปกป้องเด็กจากความเป็นจริงในชีวิตระยะช่วง 6 ปี ถึง 10 ปี เป็นวัยที่เด็กเริ่มเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆมากขึ้นเด็กเริ่มเข้าโรงเรียนได้รับการศึกษาได้เรียนรู้ทักษะได้รับสถานะและความสำเร็จส่วนเด็กที่โชคร้ายจะได้รับความล้มเหลว

การให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริงเปรียบเสมือนเป็นก้าวใหม่ของการผสมผสานแนวคิดของเอลลิส (Ellis) ในเรื่องของการให้บริการแบบพิจาณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และแนวคิดของโรเจอร์ส (Rogers) ในเรื่องการให้บริการปรึกษาเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดี น่าสนใจ และมีชีวิตชีวา นอกจาตำราดังกล่าวแล้วกลาสเซอร์ยังได้แต่งตำราขึ้นอีก 2 เล่ม คือ “ The Identity Sosiety” และ (Positive Addition)
กลาสเซอร์และเพื่อนร่วมงานของเขาได้จัดทำวารสารชื่อ “Journal of Reality Therapy”
ขึ้นในปี ค.ศ. 1981 คำพูดที่ว่า “จงรับผิดชอบและควบคุมชีวิตของท่านและเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของท่าน” คำพูดนี้เป็นตัวแทนของการให้บริการแบบเผชิญความจริง
การพิจารณามนุษย์และหลักการของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. พฤติกรรมของมนุษย์มีป้าหมาย คือ การสนองความต้องการและควบคุมวิถีชีวิตของตนความต้องการหลักของมนุษย์ คือ ความต้องเป็นส่วนหนึ่ง ความต้องการอำนาจ ความต้องการเป็นอิสระ ความต้องการความสนุกสนาน ความต้องการความอยู่รอด สมองของมนุษย์ทำหน้าที่เป็นระบบควบคุม เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เมื่อเราไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เราจะรู้สึกเจ็บปวด เมื่อเราสามารถสนองความต้องการได้เราจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและรู้สึกในทางที่ดีกับตนเอง
2. การควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ มีพื้นฐานมาจากการที่มนุษย์สร้างโลกส่วนตัว คนเราสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริงเน้นการกระทำในปัจจุบันและความคิดในปัจจุบันมากกว่าประสบการณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือการจูงใจโดยไม่รู้ตัว มนุษย์สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเองได้ด้วยการประเมินตนเองตามที่เป็นจริงอะไรที่ดีแล้วก็เก็บไว้เป็นความภูมิใจอะไรไม่ดีก็วางแผนปรับเปลี่ยน
3. มนุษย์มีความสามรถในการตัดสินใจแก้ปัญหาและใช้วิจารณญาณเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มนุษย์แต่ละคนมีความสามารถที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเองมากกว่าขึ้นกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมหรือสภาพการณ์ต่าง ๆ
มนุษย์มีแรงจูงใจที่จะประสบความสำเร็จ ทีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตนเอง และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น
4. มนุษย์รู้สึกว่าตนมีความสามารถที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆได้ หรือความรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จ และสร้างกำลังใจให้บุคคลกล้าสู้ปัญหา การที่จะทำตนให้มีค่าขึ้นอยู่กับการกระทำของบุคคลนั้นเองว่าทำสิ่งต่างได้สำเร็จมากน้อยเพียงใด
5. การได้รับความรักและโอกาสให้ความรักแก่ผู้อื่น เป็นความต้องการของมนุษย์ บุคคลที่รักผู้อื่นจะได้ความรักจากผู้อื่นจะรู้สึกว่าตนมีค่า กลาสเซอร์ พิจารณาความรักจากการกระทำของบุคคลมากกว่าความรู้สึกของบุคคล ความเหว่หว้าเป็นผลมาจากการประสบความล้มเหลวในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การขจัดความหว้าเหว่ทำได้โดยการที่บุคคลนั้นมีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นด้วยความเป็นจริงใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ลดความคับข้องใจ
6. ปัญหาในการปรับตัวหลายประการเกิดจากการไร้ความสามารถในการตอบสนองความต้องการ อาการจากการปรับตัวจะไม่ได้หายไป เมื่อบุคคลสามารถสนองความต้องการของตนเองได้ออบุคคลที่มาสามารถสนองความต้องการมีแนวโน้มที่จะบิดเบือนสภาพความเป็นจริงเขาจะตำหนิผู้อื่นและลืมว่าเขามีความรับผิดชอบที่จะแก้ไขปัญหาโดยพิจารณาจากสภาพความเป็นจริง
7. แม้ว่าอารมณ์จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นแต่เหตุผลเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำพฤติกรรมของบุคคลมีประสิทธิภาพและทำให้บุคคลประสบความสำเร็จ การปล่อยให้อารมณ์ครอบงำจะนำไปสู่ความล้มเหลว อารมณ์ส่งผลถึงพฤติกรรม ดังนั้นการจะปรับปรุงพฤติกรรมจึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม
8. คนที่มีเอกลักษณ์แห่งความสำเร็จ ( success identity) คือคนที่ได้รับการทำเกิดความรู้สึกดี มีความไว้วางใจรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อผู้อื่นตนมีค่า ตนมีความเข้มแข็ง มีความคิดที่มีเหตุผลและแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล ทำสิ่งต่างๆ เพื่อสุขภาพอันดี
9. คนที่มีเอกลักษณ์แห่งความล้มเหลว ( failure identity) คือบุคคลที่ยอมแพ้ต่อความรับผิดชอบที่จะมีพฤติกรรมตามที่คาดหวัง เนื่องจากความล้มเหลวทั้งหลายทำให้เขาเกิดความหงุดหงิด ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ยืดหยุ่น ปฏิเสธความเป็นจริง
10. ความอบอุ่นและบรรยากาศที่ยอมรับผู้รับบริการ เป็นหลักการที่สำคัญของทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
11. การให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริงเป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งเน้นการพูดคุยเหตุผลกับผู้ที่มารับบริการ โดยสนทนากับผู้ที่มารับบริการเกี่ยวกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้มารับบริการตระหนักในพฤติกรรมของตนเอง สามสารถพิจารณาสิ่งถูกผิด สิ่งที่ควรทำหรือพึงละเว้นตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
12. เราเลือกพฤติกรรมของเราเอง ดังนั้นเราต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น คนที่รับผิชอบคือคนที่รู้ว่าต้องทำอะไรในชีวิต และวางแผนเพื่อให้ได้สิ่งนั้น
กลาสเซอร์ให้คำจำกัดความว่า “ความรับผิดชอบ” ( Responsibility) คือการที่บุคคลสามารถสนองความต้องการของตนซึ่งการกระทำนั้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น ความรับผิดชอบที่จะสนองความต้องการเกิดจากการเรียนรู้และได้รับการสั่งสอนคนที่สามารกที่จะรับผิดชอบได้ คือคนที่มีความบกพร่องทางจิต ทางประสาท หรือมีสุขภาพจิตที่ไม่ดี
13. การเผชิญสภาพความเป็นจริง(Reality) คือการที่บุคคลจะสามารถแก้ปัญหาของตนเองได้ถ้าเขาเผชิญสภาพความจริง พิจารณาสิ่งต่าง ๆตามที่เป็นจริงและตระหนักในความเป็นจริงแม้ว่าหนทางนั้นมีอุปสรรคอยู่ก็ตาม
14. การประเมินความถูกผิดของพฤติกรรม (Right and Wrong) บุคคลจะต้องรูจักพิจารณาสิ่งที่ถูก สิ่งที่ผิด การประเมินพฤติกรรมจะเป็นการกระตุ้นให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง แม้ว่ากลาสเซอร์จะไม่ได้ตั้งเกณฑ์ขึ้นมาว่าอะไรถูกแต่เข่าเชื่อว่าผู้ให้บริการควรสนับสนุนหลักการทางศีลธรรมจรรยาที่ยอมรับกันทั่วไปและระมัดระวังที่จะไม่ใช้ค่านิยมของตนไปมอบให้ผู้รับบริการผู้ให้คำปรึกษาอาจอภิปรายกับผู้รับบริการถึงการเลือกค่านิยมและชี้ให้เห็นถึงผลที่ตามมาจาการเลือกค่านิยมนั้น
15. ผู้ให้บริการปรึกษาควรนำวิธีการของทฤษฎีให้บริการแบบเผชิญความจริงไปปฏิบัติอย่างยืดหยุ่น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพของผู้รับบริการแต่ละราย
พัฒนาการด้านบุคลิกภาพตามแนวคิดทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
กลาสเซอร์ให้ความสำคัญว่าช่วง 10 ปีแรกของชีวิต ว่า มีอิทธิพลในการหล่อหลอมบุคลิกภาพเพราะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มเข้าสู่โครงสร้างทางสังคม คือ บ้าน และโรงเรียน เนื่องจาการสนองความต้องการเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้พ่อแม่มีหน้าที่สอนและฝึกทักษะที่จำเป็นแก่เด็กการที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาหรือทักษะ พ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมกับบุคลทั่วไป
พ่อกับแม่ควรที่จะรู้จักสอนให้ลูกรู้จักการพูดและการฟัง เพราะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่เด็กจะได้ติดต่อกับผู้อื่น สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือความสามารถเชิงเหตุผลและการแก้ปัญหาของบุคล พ่อแม่ต้อง ใจแข็งที่จะไม่ช่วยลูกในกรณีที่ลูกสามารถช่วยตนเองได้นอกจากนี้พ่อแม่ควรสร้างนิสัยที่ดีงามให้แก่ลูกและปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือลูกโดยไม่จำเป็น
เวลาส่วนใหญ่ของเด็กนั้นจะอยู่ที่โรงเรียนดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นแหล่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสรมบุคลิกภาพของเด็ก ถ้าพ่อแม่และครูเข้าใจเด็กรู้วิธีหล่อหลอมบุคลิกภาพที่พึงปรารถนาของเด็กจะช่วยทำให้เด็กมีแนวโมที่จะเติบโตไปสู่การที่เป็นบุคลที่มี “ วุฒิภาวะ” คือ เป็นบุคคลที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเองมีความเป็นตัวของตนเอง ตระหนักในคุณค่าของตนเอง การอบรมอย่างถูกวิธีและเด็กมีโอกาสที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอันเหมาะสมจะสามารถป้องกันปัญหาได้
จุดมุ่งหมายของทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. ช่วยให้บุคลรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหา และมีทักษะในการคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง
2. ป้องกันไม่ให้บุคคลปล่อยชีวิตล่องลอย โดยสนับสนุนให้วางโครงการในอนาคตและมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการไปตามโครงการที่วางไว้
3. ส่งเสริมให้บุคคลมีวุฒิภาวะ คือเป็นตัวของตัวเองและสามารถช่วยตนเองได้
4. ช่วยให้บุคคลรู้จักตนเองว่าตนเป็นใครเขาต้องการอะไรในชีวิต
5. ช่วยให้บุคคลค้นพบวิธีการที่จะสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น
6. ให้บุคคลตระหนักในคุณค่าของตน โดยแนะแนวทางให้รู้จักวิธีสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความผู้พันทางสังคม
7. ช่วยให้บุคคลรู้จักประเมินค่านิยม รู้จักพิจารณาว่าอะไรถูกอะไรผิดสิ่งใดควรกระทำหรือพึงละเว้น
ลักษณะและบทบาทของผู้ให้การปรึกษาตามทฤษฎีให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. จะต้องสร้างสัมพันธภาพอันใกล้ชิดกับผู้รับบริการสนใจผู้รับบริการ
2. เป็นผู้มีคามเชื่อว่าการช่วยให้บุคคลเผชิญความจริงเป็นวิธีการช่วยให้บุคคลเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เป็นผู้ที่เต็มใจจะเปิดเผยและอภิปรายเรื่องต่าง ๆกับผู้รับบริการตลอดจนให้ความอบอุ่น เป็นมิตร มีความจริงใจ มองโลกในแง่ดี
4. จะต้องเป็นตัวอย่างของคนที่มีความรับผิดชอบในการสนองความต้องการของตนเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น
5. จะสอนวิธีที่ควรประพฤติปฏิบัติแก่ผู้รับบริการด้วยการสอนโดยตรงด้วยการเป็นต้นแบบให้
6. จะช่วยกันกับผู้รับริการวางโครงการเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้โดยไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆทั้งสิ้น
7. ผู้ให้การปรึกษานับถือศักยภาพและความเข้มแข็งของผู้รับบริการในการไปสู่เอกลักษณ์แห่งความสำเร็จ
8. ผู้ให้การปรึกษาจะต้องเป็นตัวอย่างของการนับถือตนเองและการรักตนเอง
กระบวนการของทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ขั้นตอนการให้บริการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. ขั้นตอนสร้างสัมพันธภาพหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการทั้งในความคิดและอารมณ์ผู้ให้การปรึกษาจะต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการจนผู้รับบริการตระหนักว่าผู้ให้บริการปรึกษายอมรับเข้าใจและสนใจ ให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการว่าเขาสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้
2. ขั้นการช่วยให้ผู้รับบริการได้สำรวจความต้องการของตน หลังจากที่ผู้ให้คำปรึกษาได้มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการแล้วผู้ให้การปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการไดสำรวจความต้องการของเขา ว่าจะไรคือสิ่งที่เขาอยากทำ
3.ขั้นการช่วยให้ผู้รับบริการอธิบายวิถีชีวิตของเขาในแต่ละวัน ผู้ให้การปรึกษาเน้นสภาวะปัจจุบันว่ามีเหตุการณ์หรือการกระทำในปัจจุบันอะไรบ้างในชีวิตของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการแบบเผชิญความจริงไม่เชื่อว่าวิเคราะห์อดีตจะช่วยแก้ปัญหาได้แต่ยิ่งกลับให้ผู้รับริการหาข้อแก้ตัวให้กับปัญหาในปัจจุบันของตน
4. ขั้นการช่วยผู้รับบริการได้ประเมินพฤติกรรมของตนเอง ผู้ให้บริการและผู้รับบริการจะร่วมกันอภิปรายร่วมกันว่าพฤติกรรมใดถูกต้องพฤติกรรมใดผิดควรทำหรือไม่ควรทำอย่างไร การใคร่ครวญหรือการประเมินพฤติกรรมของตนจะเป็นการนำผู้รับบริการเข้าสู่สภาพความเป็นจริงได้พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพ้อฝันหรือล่องลอย
5. การช่วยให้ผู้รับบริการได้วางโครงการเปลี่ยนพฤติกรรมของตน ขั้นนี้จะกินเวลามากจะเริ่มเมื่อผู้รับบริการได้มีการพิจารณาอย่างมีเหตุผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเขาแล้วมีการวางโครงการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น การวางโครงการควรเป็นโครงการที่เฉพาะเจาะจงไม่ใช่วางไว้กว้างเกินไป มีขั้นตอนและอยู่ในลักษณะที่มีแนวโน้มจะทำได้จริง
6. ขอข้อผูกพันหรือคำมั่นสัญญาว่าผู้รับบริการจะปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้ หลังจากมีการวางโครงการไว้ไม่ได้หมายความว่าผู้รับบริการจะปฏิบัติตามนั้นเสมอไป ดังนั้นผู้ให้บริการจึงควรขอข้อผูกพันหรือคำมั่นสัญญา ว่าผู้รับบริการจะปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้
7. ผู้รับบริการไม่ปฏิบัติตามสัญญาผู้ให้บริการไม่รับฟังข้อแก้ตัวใดๆทั้งสิ้น ผู้ให้บริการปรึกษาจะใช้คำถาม “ หนูคิดว่าโครงการที่วางไว้นั้นยังมีประโยชน์หรือไม่และจะเริ่มลงมือดำเนินการตามโครงการอีกเมื่อใด” แทนที่จะตั้งคำถามว่า “ทำไมหนูจึงไม่ทำ” ถ้าโครงการล้มเหลวก็จะช่วยกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งความล้มเหลวและวางโครงการมาใหม่
8. ไม่มีการลงโทษถ้าผู้รับบริการไม่ดำเนินการตามโครงการ การลงโทษนอกจากไม่ได้ให้ผลดีแล้วยังก่อให้เกิดผลเสียด้านอารมณ์แก่ผู้รับบริการด้วย

สรุปขั้นตอนของการปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ขั้นตอนของการปรึกษาแบบเผชิญความจริง มี 4 ขั้นตอน คือการใช้ระบบ ดับเบิลยู ดี อี พี ( W D E P System) สามารถช่วยให้ผู้รับบริการมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นเป็นบุคคลที่กล่าเผชิญความจริงและประพฤติตนได้อย่างเหมาะสม
W (Wants) คือ การที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการค้นพบความต้องการของเขา
D (Describe) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาอภิบายวิถีชีวิตของเขาว่าเขาทำอะไรในแต่ละวัน
E (Self Evaluation) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการประเมินพฤติกรรมของตนเอง
P ( Plan) คือการที่ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมของตน

เทคนิคการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพ ( Building Relationship Technique ) ในการสร้างสัมพันธภาพนั้นผู้ให้การปรึกษาจะทักทายแสดงความเป็นมิตรต่อผู้รับบริการ จะมีความจริงใจ มีเมตตา อยากที่จะช่วยผู้รับบริการพ้นทุกข์ยอมรับผู้รับบริการโดยปราศจากเลื่อนไขเสมือนผู้รับบริการเป็นลูกหลาน
2. เทคนิคการตั้งคำถาม (Questioning Technique) การใช้คำถมที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้ผู้รับบริการสำรวจความคิดและความรู้สึกของตนเอง ได้ประเมินพฤติกรรมของตน ประเภทของคำถามมีการตั้งคำถามให้ตอบสั้น ๆ เฉพาะเจาะจงและคำถามแบบเปิดเป็นการตั้งคำถามที่ให้ผู้รับบริการตอบโดยไม่จำกัดขอบเขต
3. เทคนิคการพูดแบบเผชิญหน้า(Confrontation Technique) ผู้ให้การปรึกษาจะพูดเผชิญหน้ากับผู้รับบริการการพูดเผชิญหน้าจะต้องรอให้สัมพันธภาพดีเสียก่อนมิฉะนั้นจะกลายเป็นการทำลายสัมพันธภาพ
4. เทคนิคการใช้อารมณ์ขัน ( Humor Technique) ผู้ให้การปรึกษาจะพูดเกี่ยวกับแง่มุมหนึ่งของชีวิตของผู้รับบริการหรือสิ่งอื่น ๆ ในลักษณะของอารมณ์ขันซึ่งคลายความตึงเครียดลงไป
5. เทคนิคการชี้ประเด็น (Point Out Technique) เป็นเทคนิคที่ผู้ให้ปรึกษาชี้ประเด็นให้ผู้รับบริการได้เห็นความไม่รับผิดชอบของตน
6. เทคนิคการให้ข้อเสนอแนะ( Advice Technique) เป็นเทคนิคที่ผู้ให้การปรึกษาให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้รับบริการว่าจะสนองความต้องการของตนได้อย่างไร
7. เทคนิคการเปิดเผย (Self Disclosure) เป็นเทคนิคที่ผู้ให้การปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการเปิดเผยประสบการณ์ ความคิดอุปสรรคของเขา
8. เทคนิคการตีความ( Interpretation) เป็นเทคนิคที่ผู้ให้การปรึกษาตีความพฤติกรรมของผู้รับบริการหรือตีความสีหน้า ท่าทาง คำพูดของผู้รับบริการเพื่อผู้รับบริการเข้าใจและมองสิ่งต่าง ๆกว้างขึ้น

ข้อดีของการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. ไม่เน้นอดีตและความรู้สึกมากเกินไป ช่วยให้ผู้รับบริการไม่ใช้ข้ออ้างว่าเหตุการณ์ในอดีตเป็นสาเหตุของปัญหาและช่วยให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดำเนินเร็วขึ้น
2. เน้นการวางโครงการและความมุ่งมั่น ในการดำเนินโครงการเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนพฤติกรรม
3. เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ประเมินพฤติกรรมของเขา ได้พิจารณาค่านิยมของตนและนำเรื่องนี้มาอภิปรายกับผู้ให้บริการปรึกษาเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการได้ตระหนักถึงพฤติกรรมของตนจะได้พิจารณาพฤติกรรมในขอบข่ายที่กว้างขึ้น
4. เน้นความรับผิดชอบในการหาที่สนองความต้องการของตน ควบคุมชี้วัดตนได้โดยไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลอื่น เป็นวิธีช่วยให้บุคคลรับผิดชอบที่จะช่วยตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
5. ช่วยให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองโดยการปฏิบัติจริง โดยไม่ใช่เฉพาะการวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้นแต่เป็นการปฏิบัติจริงด้วย
6. เป็นการช่วยให้ผู้รับบริการกล้าเผชิญปัญหาและฝึกควบคุมตนเอง ช่วยให้ผู้รับบริการได้พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองเกิดความภูมิใจ
7. สามารถนำไปใช้กับการปรึกษารายบุคคล รายกลุ่ม ใช้ได้ดีในสถาบันการศึกษา การพัฒนาชุมชน ในสถาบันแก้ไขปัญหา ในโรงพยาบาลโรคจิตโรคประสาท นำไปใช้ได้ทั้งกับเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ปัญหาการหย่าร้างของพ่อแม่ ช่วยคนพิการให้เพิ่มความรับผิดชอบในการช่วยตนเอง

ข้อกำกัดของการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
1. มุ่งเฉพาะแรงจูงใจในระดับจิตสำนึกไม่ได้กล่าวถึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึก ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในระดับจิตไร้สำนึก
2. เป็นการแก้ปัญหาแบบปัจจุบันทันด่วนไม่ได้สำรวจว่ามีอะไรที่ยังค้างคาใจอยู่หรือไม่ เป็นการตอบคำถามว่าจะทำให้วิถีชีวิตเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นไปได้ อะไรที่เป็นไปไม่ได้ อะไรคือพฤติกรรมที่ถูกต้องอะไรเป็นสิ่งที่ผิดไม่ควรทำ
3. ใช้การสื่อความหมายและเหตุผลมากจึงใช้ไม่ค่อยได้ผลกับผู้ขาดทักษะทางภาษาและผู้ที่ขาดทักษะทางการใช้วิจารณญาณ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ใช้การสื่อสารทางภาษามาก

ตัวอย่างการใช้เทคนิคการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ผู้รับบริการเป็นชายหนุ่มอายุ 18 ปีอยู่ระหว่างการหางานทำเขาขอรับบริการปรึกษาจากเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน ข้างล่างนี้เป็นการสนทนาตอนหนึ่งระหว่างผู้ให้การปรึกษาและผู้รับบริการ

ผู้ให้การปรึกษา : เรื่องราวของคุณไปถึงไหนแล้ว( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ผมไปหางานทำเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แต่แย่มาก ไม่มีใครรับผมเลย

ผู้ให้การปรึกษา : คุณไปหางานทำมาแล้วกี่แห่ง( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ไปหลายแห่งแต่ไม่มีใครให้โอกาสผม
ผู้ให้การปรึกษา : เล่าให้ฟังซิครับ ว่าไปไหนมาบ้าง( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ผมไปทำที่ปั้มน้ำมัน
ผู้ให้การปรึกษา : นอกนั้นไปไหนอีก( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ผมไปที่ปั้มน้ำมันอีก 2 แห่งแต่ไม่มีใครรับผม เขาไม่อยากพูดกับผม
ผู้ให้การปรึกษา : คุณยังไม่ได้ให้ความพยายามพอ เหมือนกับคุณรอให้มีคนมาเชื้อเชิญคุณคุณคิดว่าการไปหางานทำเพียงสองสามแห่งจะช่วยให้ได้งานทำหรือครับ ในภาวะที่มีการแข่งขันกันในตลาดแรงงานเช่นนี้คุณจะต้องช่วยตนเองมากขึ้น ( การตีความหมาย interpretation)
ผู้รับบริการ : แต่ไม่มีใครจ้างผมเลย
ผู้ให้การปรึกษา : ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดีใคร ๆ ก็ประสบปัญหาในการหางานทำผมรู้จักคนหนึ่ง
รุ่นราวคราวเดียวกับคุณ ได้ออกหางานทำ 20 กว่าแห่ง กว่าจะงานทำลองเทียบดู
กับการที่คุณออกหางานทำเพียง 3 แห่ง แล้วล้มเลิก ใครเป็นคนที่จะต้อง รับผิดชอบ เจ้าของน้ำมันที่คุณไปหางานทำ เศรษฐกิจหรือตัวคุณ
ผู้รับบริการ : ครับผมจะลอง
ผู้ให้การปรึกษา : ในช่วงอาทิตย์ที่แล้วดูเหมือนว่าคุณไม่ได้ตั้งใจหางานทำอย่างจริงจัง( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ครับผมยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง

ผู้ให้การปรึกษา : คุณคิดวางโครงการจะทำอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการหางานต่อไป( ใช้คำถามแบบเปิดกว้าง open question)
ผู้รับบริการ : ผมจะพยายามหางานทำอีก
หมายเหตุ : ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการเตรียมตัวล่วงหน้าในการหางานทำโดยเน้นว่าตัวเองจะต้องพยายามช่วยตนเอง มีการฝึกการทดลองสวมบทบาทรับผิดชอบโดยมักพูดว่า “ ผมคงทำไม่ได้” ซึ่งผู้ให้การปรึกษาจะไม่ยอมให้ผู้รับผิดชอบหาข้ออ้างและสนับสนุนให้ผู้รับบริการเกิดกำลังใจไม่ท้อถอย

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ (Transactional Analysis) หรือ TA(กลุ่มที่10)

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์
(Transactional Analysis) หรือ TA
ผู้นำคือ Eric BerneEric Berne กล่าวว่าพฤติกรรมของบุคคลจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเวลา เช่นเมื่อประสบความสำเร็จก็จะดีใจผิดหวังก็จะแสดงความเสียใจ มีเนื้อหาสำคัญดังนี้
1.โครงสร้างบุคลิกภาพ ในบุคคลหนึ่งจะมีภาวะต่างๆอยู่ในตน 3 ภาวะ คือ
1.1.พฤติกรรมแบบพ่อแม่(Parent Ego State) หรือ p เกิดจากการหล่อหลอมเลียนแบบเอาอย่างบิดามารดาหรือญาติพี่น้อง ที่อบรมเลี้ยงดู แบ่งย่อยเป็น 2 แบบ
1.)พ่อแม่ที่ชอบควบคุม วิพากษ์วิจารณ์ (Controlling/CriticalParent : CP) ชอบควบคุมความประพฤติ กำหนดขอบเขตวิถีชีวิตของตัวเองและผู้อื่น
2.) พ่อแม่ดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือปกป้อง (Nurturing Parent : NP) มีทัศนะต่อผู้อื่นว่า คนอื่นมีศักยภาพในตัวเอง แต่อาจต้องการผู้ช่วยเหลือมีนิสัยใจคอดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น1.2. บุคลิกภาพแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State) หรือ A เกิดจากการพัฒนาทางสมองประสบการณ์ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในภายหลัง ทำให้เกิดสติปัญญาความคิด หลักการ เหตุผลในการตัดสินใจชอบช่วยเหลือการประเมินทางเลือกจะพิจารณาจากข้อเท็จจริง ข้อมูลที่มีอยู่จริงเป็นคนที่ไม่มีอารมณ์เข้ามาแทรกแซงเป็นนักวิชาการ นักคิดคำนวณ และมุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับสถานการณ์ สนใจความคิดเห็นของผู้อื่น เปิดใจกว้างรับฟังผู้อื่น ไม่เครียดเกร็ง
1.3. บุคลิกภาพแบบเด็ก (Child Ego State) หรือ C เป็นส่วนที่เคยแสดงออกหรือรู้สึกตั้งแต่ยังเด็กเล็กอยู่ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติที่ติดตัวมา มี 2 ลักษณะคือ
1.) เด็กอิสระ (Free Child : FC) อยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกรักธรรมชาติ จริงใจ ไม่ปิดบังอารมณ์หัวเราะ/ร้องไห้เสียงดังโดยไม่อายรู้สึกอย่างไรจะแสดงออกอย่างนั้นไม่เสแสร้ง มีความเป็นตัวของตัวเองมองโลกในแง่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไว้ใจผู้อื่นเสมอ
2.) เด็กปรับตัว-จำยอม (Adapted Child : AC) จะชอบยอมทำตาม ไม่กล้าขัดใจคนอื่น ไม่รู้จักปฏิเสธ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง เป็นลูกแหง่อดทนเพื่อไม่ให้ผู้ใหญ่ตำหนิว่ากล่าว ชอบก้มหน้าไม่กล้าสบตาชอบพยักหน้าหลายครั้ง พูดเสียงเบา หรือบางครั้งอาจจะไม่ชอบทำตามผู้อื่น แต่ก็ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ มักแสดงอาการหงุดหงิดต่อต้าน ดื้อดึง พูดจาประชดประชันท้าทาย ประท้วง ชอบนินทา อิจฉาริษยา หวาดระแวง ไม่ไว้ใจใคร
2. การติดต่อสื่อสารของบุคคล หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 คน ในการสื่อสารจะมี 2 ระดับ คือระดับที่เปิดเผย เป็นการสื่อสารที่พูดออกมาตรงๆ แต่ข่าวสารที่สองจะถูกส่งออกมาในลักษณะที่ปกปิด
1.)การติดต่อสื่อสารที่สอดคล้อง(Complementary transaction)
2.)การติดต่อสื่อสารที่ขัดแย้ง(Crossed transaction)
3.)การติดต่อสื่อสารที่เคลือบแฝง(Ulterior transaction)
3. พฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อผู้อื่นมี 5 ลักษณะ
1.) พฤติกรรมที่ส่งผลทางบวกเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างจริงใจสุภาพ อ่อนโยน ยกย่องให้เกียรติเคารพ เห็นอกเห็นใจ เข้าใจ ให้อภัย
2.) พฤติกรรมที่ส่งผลทางลบเป็นพฤติกรรมที่ไม่สุภาพ กระด้างดุด่า ตำหนิติเตียน เย้ยหยัน ดูหมิ่นเหยียดหยาม ทำให้ผู้อื่นไม่พอใจอับอาย โกรธ หมดกำลังใจ
3.) พฤติกรรมที่มีเงื่อนไข เป็นพฤติกรรมทั้งทางบวกและทางลบ เป็นคำพูดที่มีเงื่อนไขเช่น ฉันจะให้โบนัสคุณ 2เดือนถ้าคุณทำยอดขายได้ 2เท่าของปีที่แล้ว
4.) พฤติกรรมหลอกลวง ไม่มีความจริงใจ แกล้งสรรเสริญเยินยอ
5.) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ เป็นการกระทำเพื่อมารยาทหรือทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม เช่นการไหว้ การจับมือ การทักทายปราศรัย การกล่าวต้อนรับ
4. ทัศนคติต่อตนเองและผู้อื่น ทัศนคติต่อตนเองและผู้อื่นจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์Harris Thomas กล่าวว่า บุคคลมีทัศนคติต่อตนเองและผู้อื่นแบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบ
1.) ฉันเลวแต่คุณดี (I’m not OK,You’re OK) ต้องการกำลังใจ ต้องการการเอาใจใส่จากผู้บังคับบัญชา
2.) ฉันดีแต่คุณเลว(I’m OK,You’re not OK) ตนเองดีมีคุณค่า มองคนอื่นว่าเลว ชอบตำหนิคนอื่น ชอบซัดโทษ ผู้อื่น ยกตนข่มท่าน
3.) ฉันเลวคุณก็เลวด้วย(I’m not OK,You’re not OK) ตนเองไม่มีคุณค่า คนอื่นก็ไม่มีคุณค่ามองโลกในแง่ร้าย หมดหวังในชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมายในชีวิตผู้ป่วยโรคจิตโรคประสาท
4.)ฉันดีเธอก็ดีด้วย(I’m OK,You’re OK) มีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มองตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมในแง่ดี ชีวิตมีความสุข

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ(กลุ่มที่5)

ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ


คุณลักษณะของผู้นำต่างๆจะมีไม่เท่ากัน

ในแต่ละสถานการณ์ และได้แบ่งคุณลักษณะผู้นำออกคุณลักษณะ 6 ประการของผู้นำ

จากผู้ตามได้ 6 ประการ คือ

1. มีแรงกระตุ้น
ผู้นำจะต้องมีแรงกระตุ้นที่จะทำงานให้สำเร็จ มีความยาก มากด้วยพลัง ผลักดัน ทำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยและแสดงความคิดริเริ่ม
2. อยากเป็นผู้นำ
ผู้นำต้องอยากนำคนอื่นและแสดงออกมาให้รู้ต้องมีความรับผิดชอบ
3. ซื่อสัตย์และมีคุณธรรม
ผู้นำจะต้องสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ ซื่อสัตย์ พูดคำไหนเป็นคำนั้น
4. มีความมั่นใจในตนเอง
ผู้นำต้องมีความมั่นใจตนเองและแสดงออกและชักจูงให้ผู้ตามไปในจุดมุ่งหมายและการตัดสินใจที่ถูกต้อง
5. ความเฉลียวฉลาด
ผู้นำจะต้องรับข่าวสารข้อมูลมากมาย ดังนั้น เขาจะต้องมีความสามารถในการสร้างวิสัยทัศน์ แก้ปัญหา และ ตัดสินใจให้ถูกต้อง
6. การรู้งาน
ผู้นำที่เก่งจะต้องมีความรู้ใน หน้าที่ตนเอง รอบรู้ รู้งาน เพื่อการ ตัดสินใจที่ถูกต้อง
ทฤษฎีไม้แข็ง x และทฤษฎีไม้นวม y
ทฤษฎี x เป็นด้านลบของคนที่ว่าคนเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยง ความรับผิดชอบ ถ้าอยากจะให้งานเสร็จต้องใช้ไม้แข็ง ทฤษฎี y เป็นด้านบวกที่คนไม่เกียจคร้าน รับผิดชอบ และพึงพอใจในการทำงาน ถ้าจะ ให้งานเสร็จก็เพียงแค่จูงใจให้ทำงานเท่านั้น
ทฤษฎีไม้แข็ง และทฤษฎีไม้นวม

ทฤษฎีไม้แข็ง x

1.คนงานโดยทั่วไปไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยง

2.คนงานจะต้องถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดไม่อย่างนั้นงานจะไม่เสร็จ
3.คนงานหาช่องที่จะเลี่ยงความรับผิด ชอบเท่าที่เป็นไปได้
4.คนงานไม่กระตือรือร้นที่จะทำงาน แต่ อยากมีความมั่นคงในชีวิต ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องถึงมือผู้บริหาร
ทฤษฎีไม้นวม y
1.คนงานมองงานแบบ สบาย

2.คนงานตัดสินใจทำงานเอง ควบคุมดูแลงานเองเพื่อให้เสร็จงาน

3.คนงานรับผิดชอบเอง

4.คนงานสามารถตัดสินปัญหาต่างๆได้เองโดยไม่จำเป็นต้องถึงมือผู้บริหาร

ทฤษฎีสองปัจจัย
1. ปัจจัยจูง เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติ เป็นตัวกระตุ้นให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล การได้รับการยอมรับนับถือ
2. 2.ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์
3. หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจ ในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น ปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล คือ เงินเดือน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา สถานะทางอาชีพ ฯ
4. จากทฤษฎีสองปัจจัย ทั้งสองด้านนี้ เป็นสิ่งที่คนต้องการ เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงานองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำให้คนเกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสำคัญกับแนวคิดที่ว่า เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้วยปัจจัยชนิดนี้จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ผลที่ตามมาก็คือ คนจะเกิดความพึงพอใจในงานและทำงานได้ประสิทธิภาพส่วนปัจจัยค้ำจุนหรือสุขศาสตร์ เป็นตัวป้องกันมิให้คนเกิดความไม่เป็นสุข หรือไม่พึงพอใจในงานสู่ความพร้อมที่จะทำงาน
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
1. ทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีวภาพของชาร์ลส์ ดาร์วิน การเปลี่ยนแปรงของสังคมมีการเปลี่ยนแปรงอย่างเป็นขั้นตอน โดยเปลี่ยนจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งที่มีการพัฒนา ก้าว หน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา เปลี่ยนแปรงจากสังคมที่มีรูปแบบเรียบง่ายสู่รูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญ ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสังคมที่มีความสมบูรณ์
2. ทฤษฎีความขัดแย้ง
ลิวอิส เอ. โคเซอร์ เป็นนักทฤษฎีความขัดแย้ง ที่มองว่า ความขัดแย้งก่อให้เกิดด้านบวกและด้านลบ ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมไม่มีสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีความสามัคคีอย่างสมบูรณ์เพราะความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ทั้งความเกลียดและความรักต่างมีความขัดแย้งทั้งสิ้น โคเซอร์มีความเห็นว่าความขัดแย้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปรงทางสังคม สามารถทำให้สังคมเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่จากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งได้
3. ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ เป็นผลจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่าโครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์
มาสโลว์ ได้ตั้งสมมติฐานว่ามนุษย์มีความต้องการ ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการ และความต้องการมีอยู่เสมอไม่สิ้นสุด
2. ความต้องการที่ได้รับการสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจสำหรับพฤติกรรมต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจพฤติกรรม
 3. ความต้องการของคนซ้ำซ้อนกัน บางทีความต้องการหนึ่งได้รับการตอบสนองยังไม่สิ้นสุดก็เกิดความต้องการด้านอื่นขึ้นอีก
4. ความต้องการของคนมีลำดับขั้นความสำคัญ กล่าวคือเมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนอง
ลำดับความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์ มี 5 ลำดับขั้น
1.ความต้องการด้านร่างกาย
2. ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ
4. ความต้องการยอมรับนับถือผู้อื่น
5. ความต้องการความเป็นตัวตนอันแท้จริงของตนเอง

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์(กลุ่มที่7)

      ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ความเป็นมาของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์
       ซิกมัน ฟรอย (Sigmund Freud 1856 – 1933) เป็นผู้ก่อตั้งจิตบำบัดแบบวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) ฟรอยเกิดในปี ค.ศ. 1856 เป็นลูกคนแรกของครอบครัวชาวเวียนนา ที่มีลูกชาย 3 คน และลูกสาว 5 คน บิดาของเขาเป็นคนที่เคร่งครัดมาก ครอบครัวของฟรอยค่อนข้างขัดสน อาศัยอยู่ในอาคารชุดที่แออัด แต่ถึงกระนั้นก็ตามพ่อแม่ก็ส่งเสียเขาได้เรียนจบแพทย์ เขาจบแพทย์ศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเวียนนา เมื่ออายุได้ 26 ปี และได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้
       ฟรอย ได้ใช้ชีวิตของเขาในการพัฒนาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เขาเป็นคนแรกที่กล่างถึงจิตไร้สำนึกว่ามีบทบาทในการกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ เขาด้คิดเทคนิคใหม่ๆเพื่อทำความเข้าใจในพฤติกรรมมนุษย์ เข้าใจบุคลิกภาพและพัฒนาวิธีการทางจิตบำบัดในบั้นปลายชีวิต ฟรอยป่วยเป็นโรคมะเร็งที่กรามและสิ้นชีวิตที่อังกฤษในปี ค.ศ. 1939.แนวคิดของฟรอย และวิธีการของเขาได้รับความยินยอมอย่างแพร่หลายและต่อมาได้มีนักจิตวิทยาบางท่านได้ปรับปรุงแนวคิดและวิธีการของฟรอยบางประการเสียใหม่ ซึ่งคือนักจิตวิทยากลุ่มฟรอยยุคใหม่ (Neo- Frudians) เป็นต้นว่าบุคคลต่อไปนี้


นักจิตวิทยากลุ่มฟรอยยุคใหม่

อัลเฟรด แอดเลอร์ ( Alfred Adler)
       แอดเลอร์ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของฟรอยที่ว่าเรื่องเพศเป็นปัญหาการปรับตัวของบุคคลเขามีแนวคิดว่าการที่บุคคลรู้สึกว่าตนมีปมด้อย (Feeting of inferiority) จึงด้ใช้ความพยายามในชีวิตให้เด่นขึ้น แต่วิธีไปสู่ความเด่นของแต่ละคนต่างกันจึงทำให้บุคลิกภาพต่างกัน เช่น บางคนใช้ความมานะพยายามไปสู่ความสำเร็จ แต่บางคนเมื่อเกิดความรู้สึกด้อยจะมีกลวิธีป้องกันจิตของตนเองต่างๆ เพื่อลบล้างความรู้สึกด้อย เช่น ฝันกลางวัน โทษผู้อื่น หนีความจริง อ้างเหตุผลเข้าข้างตัวเอง นอกจากนั้นแอดเลอร์เน้นกระบวนการแสวงหาความจริง (Ego) มากกว่ากระบวนการแสวงหาความสุขต่างๆของชีวิต แอดเลอร์เน้นการให้กำลังใจบุคคลให้เกิดความพยายามที่จะสู้ชีวิต ไม่ใช่รู้สึกเป็นศัตรูกับสังคม
       นอกจากนั้นแอดเลอร์ เป็นคนแรกที่เน้นเรื่องลำดับที่การเกิด ( Birth order) คือการเป็นลูกคนใดในครอบครัวนั้นมีอิทธิพลสำคัญในการกำหนดบุคลิกภาพ เช่น ลูกคนโตจะมีความรับผิดชอบสูง เพราะบทบาทของความเป็นพี่ ส่วนลูกคนรองจะเป็นคนมีนิสัยชอบแข่งขันกับผู้อื่น เพราะชีวิตต้องแข่งขันกับพี่น้อง และมักมองคนในแง่ร้าย เนื่องจากประสบการณ์ที่ตนต้องเป็นรองพี่และต้องยอมน้อง ส่วนลูกคนสุดท้องมักจะไม่เป็นตัวของตัวเองและไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตน เนื่องจากประสบการวัยเด็กที่ถูกตามใจและมีคนทำสิ่งต่างๆตลอดจนตัดสินใจให้แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากทั้งของไทยและต่างประเทศที่พบว่าลำดับที่ในการเกิดไม่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพเท่ากับการอบรมเลี้ยงดูและท่าทีของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก เช่น พ่อแม่เลี้ยงลูกเหมือนกันทั้งสามคน บุคลิกภาพของเด็กอาจไม่ต่างกันมากนัก


คาเรน ฮอร์นีย์ ( Karen Horney)
       ฮอร์นีย์ มีความเห็นตรงกับฟรอยที่ว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญของชีวิตครอบครัวมีอิทธิพลต่อชีวิตของเด็ก แต่ฮอร์นีย์เชื่อว่าโรงเรียนก็มีอิทธิพลต่อเด็กเช่นกัน บางคนเครียดและมีความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
       ฮอร์นีย์ มีความเห็นว่า คนแสวงหาความมั่นคงทางจิตใจ ( Need for security) ความวิตกกังวลเกิดจากการที่บุคลิกขาดความมั่นคงทางจิตใจ โดยที่เขาได้ประสบการณ์จากความสัมพันธ์อันไม่คงระหว่างเขากับครอบครัวหรือบุคคลแวดล้อมซึ่งทำให้เกิดความคิดว่าบุคคลในโลกเป็นศัตรูต่อเขาและคุกคามเขา นอกจากนั้นฮอร์นีย์ได้กล่าวไว้ว่าคนเราย่อมสร้าง “ตนในอุดมคติ” ( Ideal Seif) ไว้ซึ่งเมื่อ “ตนตามความเป็นจริง” ( real self) ไม่ตรงต่อ “ตนในอุดมคติ” คนจะเกิดความเครียด ซึ่งจะหันไปใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเอง เพื่อขจัดความขัดแย้งนั้นออกไป
       ดังนั้นผู้ให้บริการปรึกษาพึงช่วยเหลือผู้รับบริการ โดยพยายามให้ความเข้าใจและความอบอุ่นแก่ผู้รับบริการเพื่อให้เขาเกิดความมั่นคงด้านจิตใจ และช่วยให้เขาลบความขัดแย้งในจิตใจออกไป


แฮรี่ สแตค ซัลวิแวน ( Harry Stack Sullivan)
       ซัลวิแวน เชื่อว่าสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ( Interpersonal relation) มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ บุคคลจะพัฒนาความรู้สึกนึกคิดต่อตนเอง จาการที่ได้สังเกตปฏิกิริยาของบุคคลที่มีความสัมพันธภาพกับเขา ปัญหาเกิดจากการที่บุคคลพิจารณาตนเองผิดพลาดจากข้อเท็จจริงและขาดความอบอุ่นด้านจิตใจ


อีริค อีริคสัน ( Erick Erikson)
       อีริคสัน ได้อธิบายขั้นพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย โดยเน้นว่าประสบการณ์แต่ละวัยมีส่วนสำคัญต่อบุคลิกภาพ และพัฒนาการแต่ละวัยส่งผลกระทบถึงกัน จากความรู้เรื่องนี้นำไปสู่ความเข้าใจสาเหตุพฤติกรรมของบุคคลได้ละเอียดลออในทุกขั้นตอนของชีวิต
       สรุปได้ว่ากลุ่มฟรอยยุคใหม่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดบุคลิกภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการคิด การรับรู้ ตลอดจนการตอบสนอง


การพิจารณามนุษย์และหลักการของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์

ผู้ให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์พิจารณามนุษย์และมีหลักการดังนี้คือ
         1. ลักษณะบางอย่างของมนุษย์ได้รับการกำหนดทางชีวภาพ ซึ่งถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เช่น ขอบข่ายสติปัญญา ลักษณะทางร่างกาย
         2. บุคลิกภาพของมนุษย์ได้รับการวางรากฐานมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งช่วงที่บุคคลได้รับประสบการณ์ต่างๆเข้ามามากมายแล้วก่อตัวเป็นบุคลิกภาพ เช่น วิธีที่บุคคลโต้ตอบสิ่งแวดล้อม เป็นคนก้าวร้าว ขี้ขลาด หรือกล้า มีความมั่นคงทางด้านจิตใจหรือไม่ขึ้นกับประสบการณ์ในวัยเด็กเป็นสำคัญ
         3. จิตใจมนุษย์เหมือนก้อนน้ำแข็ง ส่วนที่โผล่ขึ้นเหนือระดับน้ำคือส่วนของจิตสำนึก ส่วนที่อยู่ใต้น้ำคือส่วนของจิตไร้สำนึก ซึ่งทั้งสองส่วนมีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของบุคคล ดังนั้นพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ไม่เพียงแต่จะกระทำโดยรู้ตัวเนื่องจากแรงจูงใจในระดับจิตใต้สำนึก ( Conscious motive) เท่านั้น เช่น เราเรียนหนังสือเรารู้ตัวว่าเกิดจากแรงจูงใจที่อยากจะประสบความสำเร็จในชีวิต แต่มีพฤติกรรมหรือการกระทำบางอย่างของเราที่เป็นไปโดยไม่รู้สึกตัว โดยเกิดจากแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึก (Unconcious motive) เช่น เด็กบางคนขโมย อาจไม่ใช่อยากได้ของนั้น แต่อาจเกิดจากความต้องการความสนใจจากพ่อแม่ คือเมื่อสืบสวนพบว่าเขาเป็นผู้ขโมย พ่อแม่ก็หันมาสนใจเขาซึ่งเขาเองก็ไม่รู้ตัวหรือไม่ตระหนักว่าการขโมยของเขานั้นเนื่องมาจากแรงผลักดันด้านความต้องการความสนใจผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องตระหนักว่าพฤติกรรมของบุคคลเกิดจากแรงจูงใจในระดับจิสำนึกและจิตใต้สำนึก
          4. บุคลิกภาพประกอบด้วยการทำงานของระบบ Id ระบบ Ego และระบบ Superego
           ระบบ Id ( Pleasure Principle) เป็นระบบที่มนุษย์แสวงหาความพอใจ เช่น ต้องการอาหาร ต้องการทรัพย์สิน ต้องการเกียรติ เมื่อเกิดความต้องการแต่ยังสนองความต้องการนั้นไม่ได้ มนุษย์จะพยายามลดความเครียดโดยใช้จิตนาการ เช่น ความหิวจะจินตนาการถึงอาหาร เป็นการพยายามสนองความปรารถนา ( Wish fulfillment ) ซึ่งฟรอยรียกว่าเป็นการพยายามสนองความปรารถนาอย่างไร้เหตุผล โดยไม่ได้นึกถึงสภาพความเป็นจริง
           ระบบ Ego (Reality Principle ) เป็นระบบแห่งความเป็นจริง เป็นระบบที่ติดต่อกับโลกภายนอก เป็นระบบที่หาวิธีสนอกความต้องการที่เป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ เมื่อการใช้จินตนาการไม่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่เป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติในสภาพเป็นจริง ระบบ Ego ก็จะแสดงบทบาทซึ่งเป็นเรื่องของการคิดอย่างมีเหตุผล เท่ากับเป็นระบบ “บริหาร” ของบุคลิกภาพ เพราะเป็นระบบที่ตัดสินว่าควรกระทำอย่างไรเพื่อให้สนองความต้องการ
         ระบบ Superego ( Conscience Principle) เป็นระบบมโนธรรม ซึ่งมนุษย์ได้รับการขัดเกลาจากสังคมให้รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว เป็นตัวประเมินว่าการกระทำใดถูกหรือผิด ให้ทำในสิ่งที่ดี และหักห้ามใจไม่ให้ทำชั่ว
จากการทำงานของระบบทั้งสามนี้จะก่อให้เกิดบุคลิกภาพของบุคคล เช่น ถ้าบุคคลใดมีมโนธรรมสูง    
          ระบบ Superego จะเป็นตัวหลักควบคุมการแสดงออกของบุคคลนั้น เขาจะระงับการกระทำที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น แม้จะมีช่องทางทุจริตเพื่อตอบสนองความต้องการด้านทรัพย์สินแต่บุคคลนั้นยังมุ่งมั่นทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นบุคลิกภาพที่เด่นชัดของเขา
ดังนั้นถ้าสามระบบทำงานประสานกันด้วยดีและมีความคงที่ ส่งผลให้บุคคลปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมของเขา บุคคลนั้นจะเป็นคนที่มีสุขภาพดี แต่ในทางตรงข้ามถ้าทั้งสามระบบเกิดความขัดแย้งกันจะทำให้บุคคลเกิดปัญญา เช่น บุคคลที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างความต้องการกับมโนธรรมแล้วใช้วิธีเก็บกดความต้องการ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปรับตัวไม่ได้ขึ้น
          5. ความวิตกกังวลเป็นต้นเหตุของการแก้ปัญหาอย่างไร้ประสิทธิภาพฟรอยได้แบ่งความวิตกกังวลเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
         ก. ความวิตกกังวลจากสิ่งแวดล้อม ( real or objective anxiety) สาเหตุของความกังวลมาจากสิ่งนอกตัว เช่น ตกงาน สูญเสียผู้ที่ตนรัก คาดหวังสิ่งใดแล้วกังวลว่าจะไม่ได้ตามที่คาด
         ข. ความวิตกจริต ( neurotic anxiety ) มี 3 รูปแบบดังนี้คือ
ความวิตกกังวลแบบเลื่อยลอย ( free floating from) ไม่รู้ว่าวิตกกังวลเรื่องอะไรกันแน่ มีลักษณะเลื่อนลอย สับสน เป็นความรู้สึกหวาดหลัวที่ไม่รู้แน่ชัด
ความวิตกกังวลในสิ่งที่ไม่น่าวิตก ( phobic form) เช่น กลัวที่แคบ กลัวมีดพับ วิตกกังวลกับการออกนอกบ้าน
ความวิตกกังวลอย่างรุนแรง (panic form) วิตกกังวลอย่างร้ายแรงจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย หรือประกอบอาชญากรรม
         ค. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา (moral anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่เนื่องจากการกระทำไม่สอดคล้องกับความรู้สึกผิดชอบ - ชั่วดี จึงเกิดความรู้สึกผิดขในจิตใจ ( guilty feeling)



          6. เมื่อเกิดความวิตกกังวลจะเป็นสาเหตุให้การคิดและแก้ปัญหาของบุคคลหย่อนสมรรถภาพ ระบบ Ego ( reality principle) จะทำงานอย่างไม่ได้ผลบุคคลจะไปใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเอง ( defense mechanism) ซึ่งเป็นการกระทำและการคิดโดยจิตไร้สำนึก เป็นการหลอกตนเอง เป็นการบิเบือนความจริง เป็นต้นว่าใช้กลวิธีดังต่อไปนี้
การอ้างเหตุผลเข้าข้างตนเอง (rationalization)
          เป็นการที่บุคคลอ้างเหตุผลขึ้นมา แต่ไม่ใช่เหตุผลที่ถูกต้อง เป็นเหตุผลที่หลอกตนเองและผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว เพื่อให้ตนเกิดความสบายใจ เช่น ใช้วิธีองุ่นเปรี้ยว(sour grape) อยากได้สิ่งใดแล้วไม่ได้ จะหลอกตนเองว่าสิ่งนั้นไม่ดี เช่น ใจจริงอยากดำรงตำแหน่งผู้บริหารแล้วไม่ได้ดี เพราะจะทำให้เป็นโรคประสาทได้ง่าย หรือวิธีมะนาวหวาน (sweet lemon) ปลอบใจตนเอง คือสิ่งมีเป็นสิ่งไม่ดี แต่จะหลอกตนเองว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดี เช่นเป็นคนขี้ลืมก็จะอ้างเหตุผลว่าดีแล้วที่ขี้ลืมจะได้ไม่มีเรื่องกังวลใจมาก
การปฎิเสธความจริง(denial of reality)
        เมื่อความจริงเป็นสิ่งที่ไม่น่าชื่นชมหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดใจก็จะปฎิเสธความจริงนั้นเช่น พ่อแม่ที่มีลูกปัญญาอ่อนแม้แพทย์จะยืนยัน พ่อก็จะยืนกรานว่าลูกไม่ใช่เด็กปัญญาอ่อน หรือตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าสามีนอกใจแต่ภรรยาแต่ภรรยาก็ปฎิเสธเพื่อปลอบใจตนเองว่าไม่เป็นจริง
การเพ้อฝัน(fantasy)
        เป็นการเพ้อฝันเพื่อให้ตนเองสบายใจ เช่น เพ้อฝันว่าตนเองเป็นผู้ชนะหรือประสบความสำเร็จ(conquering hero) หรือเพ้อฝันว่าตนเองเป็นวีรบุรุษหรือวีรสตรีที่ประสบความผิดหวัง(suffering hero)แต่ในที่สุดก็มีผู้เห็นใจ
การแยกตัวเองออกต่างหาก(withdrawal)
เมื่อไม่ประสบความสำเร็จจะแยกตัวออก เช่น บางคนไม่ประสบความสำเร็จในการเข้าสังคมจะแยกตัวออกห่าง ไม่พูดคุยสังสรรค์กับผู้ใด


การมีพฤติกรรมถดถ้อย(regression)
           เป็นการถดถ้อยไปมีพฤติกรรมเหมือนเด็ก เช่น ถูกแม่ดุ ทำงอน ปิด ประตูขังตัวเอง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ตนเคยทำเทื่อเป็นเด็กแล้วมีผู้ปลอบโยน
การระบายความรู้สึกกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง(displacement)
           เป็นวิธีการที่บุคคลสร้างสถานการณ์ที่ก็ไม่ให้เกิดความรู้สึกลำบากใจหรือตึงเครียดมาแทนสถานการณ์ที่ตึงเครียด เช่นโดนหัวหน้าดุ โต้ตอบไม่ได้ หันมาดุลูกน้องแทน ลูกน้องจะมีสภาพเหมือนแพะรับบาป
การโยนความผิด(projection)
         การโยนความผิด เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าตนไม่ได้รับการยอมรับหมดไป เช่น ได้คะแนนไม่ดี จึงโทษอาจารย์ว่าสอนไม่ดีหรือออกข้อสอบกำกวมเป็นเหตุให้เขาเสียคะแนน
การใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเองเป็นการลดความเครียดชั่วคราวแต่ไม่ใช้หนทางแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะไม่ได้แก้ที่สาเหตุของปัญหา การใช้กลวิธีป้องกันจิตใจของตนเองจะทำให้บุคคลบิดเบือนความจริง ซึ่งถ้าใช้บ่อยๆจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
          7. การให้บริการปรึกษาเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการแก้ปัญหาหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่ใช่การอบรมสั่งสอน
          8.การศึกษาประวัติของผู้รับบริการ จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมในปัจจุบันและคาดคะเนพฤติกรรมในอนาคตของเขาได้
จุดมุ่งหมายของการให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์
         1.การให้บริการปรึกษาแบบนี้จะเป็นการดึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกมาสู่ระดับจิตสำนึก เพื่อให้เข้าใจสาเหตุพฤติกรรมของตนอันจะทำให้ผู้รับบริการสามารถเปลี่ยนโครงสร้างบุคลิกภาพของเขาได้(restructuring personality)โดยมีหลักการว่าความขัดแย้งในจิตใจ ความวิตดกังวล และกลวิธีป้องกันจิตใจตนเอง จะเป็นอุปสรรคต่อความคิดอ่านของผู้รับบริการและทำให้ไม่สามารถเข้าใจตนเองและไม่สามารถติดต่อกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าใจความขัดแย้งในจิตใจ ความวิตกกังวล และกลวิธีป้องกันตนเองจะช่วยให้ผู้บริการมองสภาพการณ์ต่างๆในชีวิตด้วยสายตาใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมใหม่
          2.การลดความวิตกกังวลของผู้รับบริการเพื่อให้ระบบเหตุผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆตามข้อเท็จจริง(ego)เข้มแข็งขึ้นทำงานได้โดยมีประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล(rational process) ลดการใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเองลง
           ถ้าผู้รับบริการลดความรู้สึกถูกคุกคามด้านจิตใจลง พลังงานที่ใช้ในกลวิธีป้องกันจิตใจจะลดลง จะได้นำพลังงานไปใช้ในการคิดอย่างมีเหตุผล ตัวอย่างเช่น ถ้าการให้บริการปรึกษาได้ผล ผู้ให้บริการปรึกษาจะเข้าใจว่าวันนี้ที่เขาหงุดหงิดเพราะได้ต่อสู้กับปัญหาในการทำงานมามาก หรือที่เขาตีลูกโดยปราศจากเหตุผลเพราะเขาต้องต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าเขาอยู่
         3. ทำให้สุภาพจิตของผู้รับบริการดีขึ้น จุดประสงค์ของการให้บริการปรึกษาคือ การช่วยบุคคลในการแก้ปัญหา และเกิดการสบายใจขึ้นหลังจากนั้น ช่วยให้เขามีความสุข มีชีวิตชีวา ส่งผลต่อมนุษยสัมพันธ์ของเขาด้วย
        4. การให้บริการปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการตระหนักและพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างกว้างขว้างขึ้น
การนำจิตวิเคราะห์ไปใช้ในการให้บริการปรึกษา
          เนื่องจากฟรอยได้ใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในการบำบัดผู้ป่วยรักษาผู้ป่วยโรคจิตโรคประสาท และต่อมาผู้ให้บริการปรึกษาได้นำแนวความคิดและกลวิธีของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ไปใช้ในการให้บริการปรึกษาดังนี้คือ
        1. นำทฤษฎีไปใช้เพื่อทำการเข้าใจโครงสร้างของพฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น เด็กที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง อาจมีความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก การสืบประวัติจะทำให้ตีความหมายพฤติกรรมของเด็กผู้นั้นได้แม่นขึ้นซึ่งผู้ให้บริการปรึกษาควรอธิบายสิ่งเหล่านี้แก่ครูและผู้ปกครองของเด็ก
        2. นำกลวิธีของจิตวิเคราะห์ไปใช้ในให้บริการปรึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้รับบริการลดความวิตกกังวล ระบบเหตุผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆตามข้อเท็จจริงจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเอง กลวิธีต่างๆที่ใช้มีดังนี้
การแสดงมโนภาพโดยเสรี ( Free Imagery)
         ผู้ให้บริการปรึกษาจะให้ผู้รับบริการอยู่ในอิริยาบถที่ผ่อนคลาย และเล่าความนึกคิดออกมาอย่างเสรี ซึ่งจะช่วยให้เขาได้ระบายอารมณ์ ได้ผ่อนคลาย ให้เขาได้เล่าทุกอย่างที่อยู่ในความคิด ความรู้สึกของเขา ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวด ไร้สาระหรือไร้เหตุผลก็ตาม ซึ่งสัมธภาพระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการจะต้องดีอย่างยิ่ง จนทำให้ผู้รับบริการไว้วางใจที่จะเล่าสิ่งต่างๆที่อยู่ในจิตใจเขาออกมา ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในจิตใจหรือแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกต่างๆที่ซุกซ่อนไว้ เป็นการดึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกที่ถูกเก็บกดออกมาให้ปรากฏ
การตีความหมาย ( Interpretation)
          ผู้ให้ริการปรึกษาจะตีความหมายคำพูด การคิดคำนึง ความรู้สึก และเรื่องเราของผูรับบริการเป็นต้นว่า ในระหว่างการแสดงมโนภาพโดยเสรี ผู้ให้บริการปรึกษาจะพิจารณาว่าผู้รับบริการพูดอะไรซ้ำๆบ้าง หรือใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเองแบบใด เพื่อจะได้นำไปพิจารณาหาสาเหตุของปัญหา
           นอกจากนั้นการตีความหมายยังรวมถึงการที่ผู้ให้บริการปรึกษาชักชวนให้ผู้รับบริการได้รวบรวมความคิด ความรู้สึก เพื่อตีความหมายสภาพการต่างๆด้วยตนเอง
ตัวอย่าง
          ผู้ให้บริการปรึกษา “คุณพูดว่าผมเหมือนตำรวจที่เฝ้าแต่ตรวจสอบคุณเมื่อ 1 นาทีก่อนหน้านี้คุณเล่าว่าคุณพ่อโกรธคุณ พ่อจ้องหน้าคุณโดยไม่พูดอะไรสักคำ เมื่อคุณฉวยเอารถคุณพ่อไปขับโดยไม่ขออนุญาต คุณจะพูดถึงความรู้สึกของคุณที่มีต่อผมและคุณพ่อของคุณได้ไหมครับ”
การวิเคราะห์ความฝัน ( Dream Analysis)
         ผู้รับบริการอาจเล่าความฝันให้ผู้รับบริการปรึกษาฟัง แล้วผู้ให้บริการปรึกษาจะวิเคราะห์ความฝันของผู้รับบริการ โดยยึดว่าหลักของความฝันเป็นสัญลัษณ์ ( Symbols) ของแรงจงใจในระดับจิตไร้สำนึก อาจเป็นความปรารถนา ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เช่น ความกลัว ความกังวล แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตีความหมายสัญลักษณ์นั้นไปในลักษณะตายตัว เช่น งูอาจเป็นสัญลักษณ์ทางเพศ หรืออาจเป็นสัญลัษณ์ของกาเที่ยวป่าก็ได้
ตัวอย่างวิเคราะห์ความฝัน
         นิสิตหญิงปีที่ 1 หลังจากสอบกลางภาค เธอมีผลสอบต่ำมาก ซึ่งเธอเกรงว่าจะดึงเกรดสูงขึ้นไม่ได้ เธอเล่าว่าระยะนี้เธอฝันร้ายอยู่เรื่อย เช่น ฝันว่าเข้าไปในป่าพบสิงห์สาราสัตว์ที่น่ากลัว คอยขบกัดเธอ ตื่นขึ้นมาด้วยเนื้อตัวสั่นเทา มีเหงื่อออกทั่วตัว
          ผู้ให้บริการปรึกษาวิเคราะห์ความฝันของเธอว่า สัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลายที่คอยขบกัดเธอในความฝัน เปรียบเหมือนข้อสอบยากๆทำให้เธอกลัวมาก ซึ่งการฝันเช่น นั้นเพราะเธอกังวลว่าจะสอบไม่ผ่าน จะไม่สามารถดึงเกรดให้สูงขึ้นมา เธอกังวลว่าจะถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งยอมรับไม่ได้
การวิเคราะห์การถ่ายทอดอารมณ์ ( Analysis of transference)
         การที่เรารู้สึกไม่ถูกชะตากับใครในทันทีทันใดที่เรารู้จักเขา อาจเป็นการที่เราถ่ายทอดความรู้สึกไม่ชอบผู้ใดในอดีตมาสู่ผู้นั้น การวิเคราะห์การถ่ายทอดอารมณ์เป็นการดึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกออกมา
ตัวอย่างที่ 1
         “ตอนนี้เหมือนคุณรู้สึกไม่พอใจที่พูดคุยกับผม คุณอาจเกิดความรู้สึกที่ไม่อยากพูดกับผม เป็นเพราะผมไปพูดสะกิดถึงผู้หนึ่งผู้ใดในอดีตของคุณใช่ไหม”
ตัวอย่างที่ 2
          สมมติว่าผู้รับบริการมีปัญหาเกี่ยวกับสัมธภาพในครอบครัว เขาแค้นเคืองน้องของเขามาก ในระหว่างการสนทนา ผู้รับบริการอาจหันไปตวาดผู้ให้บริการปรึกษาว่า “อย่ามายุ่ง” เป็นการถ่ายทอดอารมณ์ที่ผู้รับบริการมีในอดีตกับน้อง ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการช่วยดึงแรงจูงใจในระดับจิตสำนึก ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดจากการเก็บกด
การใช้ไหวพริบจับประเด็นคำพูดและสิ่งที่พลั้งปาก (Use of paraphrases and Wit )
           ผู้ให้บริการปรึกษาจะสังเกตผู้ให้บริการพลั้งปากออกมา เป็นเครื่องมือที่จะทำความเข้าใจแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึก เช่น พลั้งปากออกมาว่า เกลียดแม่แล้วรีบแก้ว่าไม่ใช่
ผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องใช้ไหวพริบ สรุปคำพูด จับประเด็น แล้ววิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
         3. ในการดำเนินการให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ ครั้งแรกผู้ให้บริการจะช่วยให้ผู้บริการเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจว่า ผู้ให้บริการปรึกษาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ให้ความอบอุ่น และควรชี้แจงให้ผู้รับบริการว่าทราบว่าการแก้ปัญหาของผู้รับบริการไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นสิ่งที่ทั้งผู้ให้บริการปรึกษาและผู้รับบริการจะต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่
ผู้รับบริการมักจะรู้สึกว่าตนผิดปกติ และต้องการหลุดพ้นจากความวิตกกังวลที่รบกวนจิตใจอยู่ ซึ่งผู้ให้บริการปรึกษาควรแสดงให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าปัญหาของเขาไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด หรือเหลือความสามารถที่จะแก้ได้
ผู้ให้บริการปรึกษาจะสนับสนุนให้ผู้รับบริการเปิดเผยอย่างเต็มที่ จะเก็บความลับ จริงใจ และสนใจที่จะช่วยเหลือผู้รับบริการอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ทำไปตามหน้าที่เท่านั้น ผู้ให้บริการปรึกษาจะพยายามช่วยให้ผู้รับบริการมั่นใจว่าตนสามารถช่วยผู้รับบริการได้ ถ้าผู้รับบริการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
         4. การสิ้นสุดการให้บริการปรึกษา จะกระทำต่อเมื่อผู้ให้บริการปรึกษาสังเกตว่าผู้รับบริการเลิกบ่นพูดถึงประสบการณ์ในอดีต และมีสัมธภาพแบบปกติกับผู้ให้บริการปรึกษาได้แล้ว คือ พูดจามีเหตุผล ใช้สติปัญญาใคร่ครวญเหตุการณ์ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างการผู้ให้บริการปรึกษาจิตแบบวิเคราะห์
ผู้รับบริการเป็นนักศึกษาอายุ 19 ปี มาหาให้ผู้บริการปรึกษาเอง โดยเล่าให้ฟังว่าเขาไม่มีความสุขมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งคู่ แม่เป็นแม่บ้าน พ่อเป็นผู้จัดการบริษัท ผู้รับบริการมีน้องสาวคนหนึ่ง ซึ่งอายุอ่อนกว่าเขา 3 ปี ผู้รับบริการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ห่างจากภูมิลำเนาเดิม เขามีโอกาสกลับบ้านตอนปิดภาคเท่านั้น ผู้รับบริการบอกว่าเขารู้สึกห่างเหินจากพ่อ
        ที่ตัดตอนมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นระยะที่ผู้รับบริการไม่ค่อยพูดหรือแสดงความรู้สึก ดังนั้นผู้ให้บริการปรึกษาจึงใช้กลวิธีให้ผู้รับบริการแสดงมโนภาพเสรี ( free imagery) เพื่อดึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกออกมา แล้วนำมาอภิปรายกัน ซึ่งจะมีการตีความหมายด้วย จากการตีความหมายของผู้ให้บริการปรึกษาวินิจฉัยว่าผู้รับบริการต้องการความรักจากพ่อ และต้องการให้พ่อเป็นแบบอย่าง
ตัวอย่าง
ผู้ให้บริการปรึกษา : ให้นั่งพิงอย่างสบาย หลับตา แล้วเล่าว่านึกถึงหรือเห็นอะไรบ้าง ขอให้เล่าให้ ฟังให้หมด แม้ว่าจะเป็นเรื่องไร้สาระก็ตาม
ผู้รับบริการ : ผมกับแม่เดินจูงมือกันเข้าไปในป่า ซึ่งเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ มืดครึ้ม มีแสง อยู่นิดเดียว ผมอยากสำรวจทางอีกแต่ผมก็กลัว และรู้ว่าแม่ก็คงไม่ไปกับผม ในที่สุดผมหลุดมือไปจากแม่และท่องเทียวไปในป่าอย่างลำพัง เป็นทาง แคบๆและในที่สุดก็หลงทาง ผมรู้สึกกลัวและตกลงไปในโครนดูด รู้สึกก้าว เท้าไม่ออก (เงียบสักครู่)
ผู้ให้บริการปรึกษา : ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือจะมีคนมาช่วย(ผู้ให้บริการปรึกษาขัดจังหวะ เพื่อไม่ให้ผู้รับบริการเกิดความเครียดมากเกินไปและเพื่อให้การแสดงมโน ภาพได้ดำเนินต่อไป)
ผู้รับริการ : มีผู้ชายคนหนึ่งรูปร่างสูงใหญ่เดินมาที่ผมเงียบๆแล้วดึงผมขึ้นจากหลุม เมื่อ ผมขึ้นมาจากหลุมแล้วผมปีนขึ้นไปบนต้นไม้ แล้วปอกเปลือกไม้ตามกิ่งออก ชายคนนั้นนั่งรออยู่ข้างล่าง ในที่สุดผมก็ลงมาจากต้นไม้ มันเงียบมากไม่มี เสียงเลย ผมมีความรู้สึกเหมือนพูดไม่ออกรู้สึกแปลกๆ ผมกับชายคนนั้น ไม่ได้พูดอะไรกันเลย
ผู้ให้บริการปรึกษา : หลับตาให้สนิท และทำตัวทำใจให้สบายอาจารย์จะให้ดินสอกับปากกาคุณ (ผู้ให้บริการปรึกษาคิดว่าจะต้องค้นพบความรู้สึกต่อต้านของผู้รับบริการและ เข้าใจความรู้สึกของผู้รับบริการที่อยู่เบื้องหลังความไม่สามารถในการสื่อ ความหมายของเขา )
ผู้รับบริการ : ครับ ผมรับดินสอกับกระดาษแล้ว และยื่นส่งให้ชายคนนั้น เขาก้มลงเขียน ข้อความลงไปแล้วส่งให้ผมแต่กระดาษนั้นพับพับอยู่ทำให้ผมไม่เห็นข้อความ นั้น ผมอยากลืมตา ผมรู้สึกอยากวิ่งหนี
ผู้ให้บริการปรึกษา : อาจารย์เข้าใจ หลับตาลง คุณเห็นกระดาษนั้นหรือยัง
ผู้รับบริการ : ครับ แต่มันยังคงพับอยู่ มันอยู่ในมือผม กระดาษนั้นยังขาวสะอาด
ผู้ให้บริการปรึกษา : ลองเปิดอ่านดูซิ
ผู้รับบริการ : มีข้อความว่า “ฉันต้องการคุณ” (เงียบไปนาน) ผมรู้สึกอยากร้องตะโกน ออกมาอยากร้องไห้.....
ผู้ให้บริการปรึกษา : ผมเข้าใจว่าคุณรู้สึกโกรธและสะเทือนใจแค่ไหนต่อจากนั้นก็ดำเนินการให้ การปรึกษาในลักษณะการสนทนาตามปกติ
ผู้ให้บริการปรึกษา : เอาละ
ผู้รับบริการ : เรามาตรงประเด็นแล้วใช่ไหมครับ
ผู้ให้บริการปรึกษา : ใช่ครับ ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น
ผู้รับบริการ : อาจารย์คงรู้แล้วใช่ไหมว่ามันหมายความว่าอย่างไร
ผู้ให้บริการปรึกษา : ไม่ถึงขั้นนั้นหรอก อาจารย์คิดว่าคุณมีความรู้สึกเครียดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คุณมีความรู้สึกทั้งโกรธและสะเทือนใจ
ผู้รับบริการ : ผมคิดว่าถูกแล้ว แต่ความรู้สึกนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
ผู้ให้บริการปรึกษา : เป็นความรู้สึกที่คุณมีมานานแล้ว
ผู้รับบริการ : ครับ ( พยักหน้า)
ผู้ให้บริการปรึกษา : มีอะไรที่สำคัญกว่านั้นที่คุณยังไม่ได้บอกอาจารย์หรือเปล่า มันอาจจะยากสัก หน่อยที่จะบรรยายออกมา
ผู้รับบริการ : ครับ อาจารย์จำเรื่องที่ผมเล่าให้อาจารย์ฟังเกี่ยวชายคนหนึ่งที่นั่งรอผมอยู่ใต้ ต้นไม้ได้หรือเปล่า
ผู้ให้บริการปรึกษา : ครับ
ผู้รับบริการ : เขาเดินวนไปมารอบๆ
ผู้ให้บริการปรึกษา : เหมือนกับว่าเขาหงุดหงิด หรือทนอะไรไม่ได้ใช่ไหม
ผู้รับบริการ : ไม่ใช่ แต่เป็นกิริยาที่เขาทำเสมอ
ผู้ให้บริการปรึกษา : ผมเข้าใจละ เล่าต่อไป
ผู้รับบริการ : เขาเดินวนเหมือนที่พ่อขอบทำ แต่ไม่ใช่เพราะหงุดหงิดหรือขุ่นเคือง มันก็ เหมือนที่อาจารย์ชอบทำ
ผู้ให้บริการปรึกษา : ผมไม่รู้ตัวมาก่อนว่าผมชอบเดินวนไปมาจนกระทั่งคุณบอก ตอนนี้มีสาม ประเด็นคือ ชายคนนั้นในจินตนาการ คุณพ่อของคุณ และผมมีอะไรเกี่ยว โยงระหว่างบุคคลทั้งสามบ้าง
ผู้รับบริการ : อาจารย์มีบางอย่างคล้ายพ่อของผม ไม่ใช่แค่เรื่องเดินวนไปมา ตอนที่ผมจะ ออกจากประตูแล้วอาจารย์ตบไหล่ผมจำได้ไหม
ผู้ให้บริการปรึกษา : ครับ
ผู้รับบริการ : ผมรู้สึกอยากให้อาจารย์โอบไหล่ผม อยากให้อาจารย์กอดผม ฟังดูเหมือน คนบ้าไหมครับ
ผู้ให้บริการปรึกษา : ไม่ใช่หรอกครับ ไม่ใช่แน่ๆคุณจะรู้สึกพอใจถ้าอาจารย์ทำอย่างนั้นกับคุณใช่ ไหม เหมือนกับที่พ่อเคยทำกับคุณใช่ไหม
ผู้รับบริการ : ผมอยากให้พ่อทำบ่อยกว่านั้น ผมรู้สึกว่ายังมีอีกหลายอย่างที่ผมกับพ่อห่าง กัน หรือมีความรู้สึกที่บอกไม่ถูก
ผู้ให้บริการปรึกษา : มีความรู้สึกเหมือนในจินตนาการที่เล่าให้ฟังใช่ไหม
ผู้รับบริการ : ครับ ผมรู้สึกอยู่เรื่อยว่าถ้าพ่อจะอยู่ใกล้ชิดกับผมเหมือนที่ผมต้องการคงจะ ทำให้ผมมีความสุข แต่พ่อไม่เคยทำ หรือไม่มีท่าที่จะทำเช่นนั้น (ถอนหายใจ ลึกๆ)
ผู้ให้บริการปรึกษา : คุณต้องการได้รับความรักจากพ่อเหมือที่คุณรักพ่อ แต่ไม่ได้รับสิ่งนี้ นี่เป็น เหตุผลที่คุณเห็นข้อความในกระดาษจากจินคนาการว่า “ ผมต้องการคุณ”
ผู้รับริการ : ใช่ครับ ผมอยากให้พ่อแสดงความรักต่อผม
ผู้ให้บริการปรึกษา : อาจารย์เข้าใจ
หมายเหตุ จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการได้เข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และในขั้นตอนต่อไปผู้ให้บริการปรึกษาได้ส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีความเป็นตัวของตัวเอง มีค่านิยมของตนเอง ไม่ต้องอิงอยู่กับพ่อแม่เหมือนเด็กเล็กๆอีกต่อไป
คำวิจารย์การให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์
ได้มีผู้วิจารย์การให้บริการปรึกษาแบบวิเคราะห์ไว้ดังนี้คือ
ข้อดี
       1. จิตวิเคราะห์เป็นทฤษฎีแรกที่เสนอแนวคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์อาจได้รับการกระตุ้นจากแรงผลักดันในระดับจิตไร้สำนึกซึ่งเขาไม่รู้ตัว
       2. แนวคิดของจิตเคราะห์เรื่องประสบการณ์ในวัยเด็กนั้นมีผู้นำไปใช้มากและช่วยกระตุ้นให้มีผู้ทำวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป
       3. จิตวิเคราะห์ได้อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดความกังวลอย่างละเอียดและอธิบายถึงกระบวนการให้ความช่วยเหลือด้วยกลวิธีต่างๆ
       4. จิตวิเคราะห์เน้นว่า การบำบัดรักษาไม่ใช่การอบรมสั่งสอน
       5. จิตวิเคราะห์เป็นวิธีการที่มีการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับเทคนิคหรือกลวิธีเป็นอย่างมาก
       6. กลวิธีทางจิตวิเคราะห์เหมาะสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางอารมณ์ลึกซึ้ง จะต้องมีการปรับโครงสร้างของบุคลิกภาพใหม่
       7. การให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์เป็นทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการทางจิตอย่างละเอียดลออ ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายแขนง เช่น วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี มนุษยวิทยาและสังคมวิทยา
ข้อจำกัด
       1. จิตวิเคราะห์มองมนุษย์ในแง่ร้าย โดยคิดว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่น่าเกลียด มนุษย์เป็นทาสแห่งความต้องการของตนเอง
       2. จิตวิเคราะห์เน้นประสบการณ์ในวัยเด็กมากเกินไป ซึ่งทำให้ดูเหมือนดูถูกว่ามนุษย์ไม่มีความสามารถ ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง ไม่มีศักดิ์ศรี และไม่มีเสรีภาพ ต้องปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามประสบการณ์ที่ได้รับมา หรือสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลมากเกินกว่าที่จะควบคุมวิถีชีวิตของตนเองได้
       3. จิตวิเคราะห์ไม่ได้ให้เกียรติในความมีเหตุผล หรือการใช้วิจารณญาณของมนุษย์


สรุปความ
       ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ เน้นการช่วยบุคคลที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์อันเนื่องมาจากประสบการณ์ จุดประสงค์คือ การช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจพฤติกรรมของตนเองทั้งในระดับจิตสำนึกและไร้สำนึก เพื่อจะได้หาทางแก้ปัญหาหรือปรับปรุงตนเอง โดยยึดหลักว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องตกเป็นทาสของประสบการณ์ในอดีตต่อไป ผู้ให้บริการปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการได้ใช้ศักยภาพและแหล่งความช่วยเหลือจากสิ่งแวดล้อมในการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง
ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบนี้ได้ใช้หลักการของจิตวิเคราะห์ โดยเฉพาะหลักการที่ว่า โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์มีแรงผลักดันที่จะแสวงหาความพึงพอใจสู่ตนเอง ซึ่งมนุษย์จะต้องปรับตัวให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการกับสภาพความเป็นจริงและศีลธรรมจรรยาของสังคม ผู้ให้บริการปรึกษามีบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญในการช่วยให้บุคคลไปสู่ภาวะสมดุลย์และช่วยให้ชนะความอ่อนแอหรือความต้องการของตน ช่วยให้เขาคิดอย่างมีเหตุผล และสำรวจได้ว่า แจงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกของตนคืออะไร คือช่วยให้ผู้รับบริการทราบถึงสาเหตุแห่งการปรับตัวไม่ได้ของเขาซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจตนเอง และนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงความคิด ผู้ให้บริการปรึกษาจะเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกเก็บกดในวัยเด็กออกมา และแทนที่ด้วยความคิดอย่างมีเหตุผลตามระบบแห่งความเป็นจริง
       ผู้ให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ จะปรับกระบวนการให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละคน มีทั้งกลวิธีที่แสดงถึงการยอมรับ การเข้าใจความรู้สึกและเนื้อหาบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร ตลอดจนถึงกลวิธีดึงแรงจูงใจที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึกของผู้รับบริการออกมาให้ปรากฏ
       ข้าพเจ้ามีความคิดว่า ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการใช้กลวิธีของจิตวิเคราะห์อาจจะมีข้อจำกัดในการนำกลวิธีเหล่านั้นไปใช้ในการให้บริการปรึกษา แต่หลักการของทฤษฎีจิตวิเคราะห์มีประโยชน์มากในการช่วยให้เข้าใจโครงสร้างของพฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้รับบริการ ทฤษฎีนี้เป็นต้นฉบับในการอธิบายการใช้กลวิธีการป้องกันจิตใจตนเองของบุคคล และพฤติกรรมจิตไร้สำนึก นอกจากนั้นการทำความเข้าใจอดีตของผู้รับบริการจะช่วยให้เข้าวิถีชีวิตของเขา เพื่อจะได้หาทางช่วยผู้รับบริการให้พัฒนาขึ้นด้วยวิธีการอันเหมาะสมต่อไปนี้